หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา

ชื่อหลักสูตรและสาขา

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย      : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา

ภาษาอังกฤษ   : Master of Science Program in Science Education

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย      ชื่อเต็ม  : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา)

                 ชื่อย่อ   : วท.. (วิทยาศาสตร์ศึกษา)

ภาษาอังกฤษ   ชื่อเต็ม  : Master of Science (Science Education)

                 ชื่อย่อ   : M.S. (Science Education)

          ได้รับการรับรองคุณวุฒิ : ๒๕๕๖

 

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

วิทยาศาสตร์ศึกษาเป็นการบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคนิควิธีทางการศึกษาที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างกลมกลืน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตและพัฒนาผู้นำทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีความรู้ความสามารถด้านต่าง ๆ ดังนี้

๑. มีความรอบรู้และความตระหนักรู้จริยธรรม ในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์

๒. มีความชำนาญการและรู้ลึกในแขนงวิชาวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งแขนง

๓. มีความรู้ความสามารถในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในสาระวิทยาศาสตร์ในสถาบัน การศึกษา และแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔. มีความรู้ความสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการศึกษา วิชาเอกทางวิทยาศาสตร์ หรือปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

๒. คุณสมบัติ ตามข้อ ๑) และคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ

การจัดการศึกษา

          จัดเป็นระบบทวิภาค โดย ๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์ หากมีการศึกษาภาคฤดูร้อนต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตร โดยให้จัดเนื้อหาวิชาในสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๘ สัปดาห์ ต้องจัดเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของเวลาเรียนในภาคเรียนปกติ และจํานวนหน่วยกิตไม่เกิน ๙ หน่วยกิต

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา     

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.. ๒๕๕๐

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา               พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยนักศึกษาต้องเรียนและลงทะเบียนครบตามโครงสร้างที่หลักสูตรกำหนดจำนวนไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต และได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ ทำวิทยานิพนธ์มีบทความเผยแพร่และผ่านการสอบประมวลความรู้

 

จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างของหลักสูตร

         จำนวนหน่วยกิต  รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต

         โครงสร้างหลักสูตร

                 หมวดวิชาสัมพันธ์           ๑๒   หน่วยกิต

                 หมวดวิชาเฉพาะด้าน       ๑๕   หน่วยกิต

                     บังคับ                     ๙   หน่วยกิต

                     เลือก                     ๖   หน่วยกิต

                 วิทยานิพนธ์                 ๑๒   หน่วยกิต

การจัดการเรียนการสอน  รายวิชาในหมวดต่าง ๆ

         หมวดวิชาสัมพันธ์ ทุกแขนงวิชาให้เรียนวิชาต่อไปนี้ ไม่น้อยกว่า ๑๒  หน่วยกิต

MSC๑๐๐๑

ปรัชญาและประวัติวิทยาศาสตร์   

()

 

Philosophy  and  History  of  Science

 

MSC๑๐๐๒

วิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา                

()

 

Research  Methodologies  for  Science Education

 

MSC๑๐๐๓

สถิติเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

๓(๒-๒-๕)

 

Statistics for Researchin Science Education

 

MSC๑๐๐๔

การสัมมนาทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา

()

 

Seminar  in Science  and Science Education

 

         หมวดวิชาเฉพาะด้าน เรียนเฉพาะแขนงวิชาใดวิชาหนึ่งไม่น้อยกว่า  ๑๕ หน่วยกิต

         แขนงวิชาเคมี

         วิชาบังคับ ๙ หน่วยกิต จากรายวิชา ดังต่อไปนี้

MSC๒๑๐๑

เคมีอินทรีย์ขั้นสูง                                        

(๕)

 

Advanced  Organic  Chemistry

 

MSC๒๑๐๒

เคมีวิเคราะห์ขั้นสูง                                              

()

 

Advanced  Analytical Chemistry

 

MSC๒๑๐๓

เคมีอนินทรีย์ขั้นสูง                                               

()

 

Advanced  Inorganic  Chemistry

 

 

         วิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้

MSC๓๑๐๑

เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูง                                      

()

 

Advanced  Physical  Chemistry

 

MSC๓๑๐๒

ชีวเคมีขั้นสูง      

()

 

Advanced  Biochemistry

 

MSC๓๑๐๓

เคมีของสารมลพิษในสิ่งแวดล้อม

()

 

 

Chemistry of Environmental Pollutants

 

MSC๓๑๐๔

เคมีของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

()

 

Chemistry  of  Natural  Products

 

MSC๓๑๐๕

เคมีทางทะเล                                                                                                

()

 

Marine Chemistry

 

MSC๓๑๐๖

สารเคมีอันตรายและการจัดการ                                                                   

()

 

Hazardous Chemicals and Management

 

MSC๓๑๐๗

เคมีโภชนศาสตร์ 

()

 

Nutritional Chemistry

 

MSC๓๑๐๘

พอลิเมอร์และปิโตรเคมี

()

 

Polymers and Petrochemistry

 

MSC๓๑๐๙

การสอนเคมี      

๓(๒-๒-๕)

 

Teaching of Chemistry

 

 

 

 

         ข้อกำหนดเฉพาะแขนง สำหรับผู้ไม่เคยผ่านการเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ในระดับปริญญาตรี  ให้เรียนเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต

SCH๐๒๐๕

เคมีอินทรีย์ ๑             

()

 

Organic Chemistry

 

SCH๐๒๐๙

เคมีเชิงฟิสิกส์ ๑

()

 

Physical Chemistry

 

SCH๐๒๑๓

เคมีวิเคราะห์ ๑

()

 

Analytical Chemistry

 

SCH๐๒๑๗

เคมีอนินทรีย์ ๑                      

()

 

Inorganic Chemistry

 

SCH๐๒๒๑

ชีวเคมี ๑

()

 

Biochemistry

 

 

         แขนงวิชาชีววิทยา

         วิชาบังคับ ๙ หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้

MSC๒๒๐๑

หลักชีววิทยา                                           

()

 

Principles  of  Biology

 

MSC๒๒๐๒

ชีววิทยาของเซลล์

()

 

Cell  Biology

 

MSC๒๒๐๓ 

สรีรวิทยาของสัตว์

()

 

Animal  Physiology

 

                                                                  

         วิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า ๖  หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้

MSC๓๒๐๑

เทคนิคทางชีววิทยา                                              

()

 

Biotechniques

 

MSC๓๒๐๒

ชีววิทยาสภาวะแวดล้อม            

()

 

Biological  Aspects of  Environment

 

MSC๓๒๐๓

ความหลากหลายทางชีวภาพ

()

 

Biodiversity     

 

MSC๓๒๐๔

ชีววิทยาโมเลกุล                                        

()

 

Molecular  Biology

 

MSC๓๒๐๕

พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล 

()

 

Molecular  Genetics

 

MSC๓๒๐๖

การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์                                

()

 

Animal  Cell  Culture 

 

MSC๓๒๐๗

จุลินทรีย์อาหารทางอุตสาหกรรมและการเกษตร               

()

 

Food  Microbiology for Industrial  and  Agriculture 

 

MSC๓๒๐๘

ชีววิทยาของการเจริญ                                           

()

 

Development  Biology

 

MSC๓๒๐๙

การเก็บรวบรวมตัวอย่างและการจัดแสดง                       

()

 

Museum  Collection

 

MSC๓๒๑๐

สรีรวิทยาของพืชและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช       

()

 

Plant Physiologyand Plant Tissue Culture

 

MSC๓๒๑๑

การศึกษาค้นคว้าชีววิทยาด้วยตนเอง                            

()

 

Selected  Topic  in  Biology

 

 

         ข้อกำหนดเฉพาะแขนง สำหรับผู้ไม่เคยผ่านการเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ในระดับปริญญาตรีให้เรียนเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต

SBI๐๑๐๕

จุลชีววิทยา       

()

 

Microbiology

 

SBI๑๓๐๑

พฤกษศาสตร์

()

 

Botany

 

SBI๑๓๐๒

สัตววิทยา

()

 

Zoology

 

SBI๕๑๐๑

นิเวศวิทยา

()

 

Ecology

 

SBI๖๑๐๑

พันธุศาสตร์

()

 

Genetics

 

                                                         

         แขนงวิชาฟิสิกส์

         วิชาบังคับ ๙  หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้

MSC๒๓๐๑

คณิตศาสตร์สำหรับฟิสิกส์                     

()

 

Mathematics  for  Physics 

 

MSC๒๓๐๒

กลศาสตร์คลาสสิก

()

 

Classical  Mechanics   

 

 

MSC๒๓๐๓

แม่เหล็กไฟฟ้า                                           

()

 

Electromagnetism

 

 

         วิชาเลือก  ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้

MSC๓๓๐๑

กลศาสตร์ควอนตัม        

()

 

Quantum  Mechanics

 

MSC๓๓๐๒

ทัศนศาสตร์

()

 

Optics

 

MSC๓๓๐๓

เทอร์โมไดนามิกส์

()

 

Thermodynamics

 

MSC๓๓๐๔

กลศาสตร์เชิงสถิติ                             

()

 

Statistical Mechanics

 

MSC๓๓๐๕

ชีวฟิสิกส์

()

 

Biophysics

 

MSC๓๓๐๖

ฟิสิกส์นิวเคลียร์

()

 

Nuclear  Physics

 

MSC๓๓๐๗

อิเล็กทรอนิกส์                       

()

 

Electronics 

 

MSC๓๓๐๘

การสร้างและการใช้สื่อการสอนฟิสิกส์

()

 

Creation  and  Use of Physics  Teaching  Material    

 

 

         ข้อกำหนดเฉพาะแขนง สำหรับผู้ไม่เคยผ่านการเรียนในรายวิชาดังต่อไปนี้ ในระดับปริญญาตรี ให้เรียนเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต

SPH๐๒๐๖

การสั่นและคลื่น 

()        

 

Vibrations and Waves

 

SPH๐๒๐๗

ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า       

()        

 

Electromagnetic Theory

 

SPH๐๒๑๑

กลศาสตร์ ๑     

()        

 

Mechanics

 

SPH๐๒๑๓

ฟิสิกส์ยุคใหม่                                  

(

 

Modern Physics

 

 

 

         แขนงวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

         ให้เรียนไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต จากรายวิชาในแขนงเคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยา

         วิทยานิพนธ์      

MSC๔๐๐๑

วิทยานิพนธ์                

๑๒ หน่วยกิต

 

Thesis

 

 

         รายวิชาเสริม

         นักศึกษาจะต้องสอบผ่านความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษและการใช้คอมพิวเตอร์ อยู่ในเกณฑ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชากำหนด กรณีความรู้ความสามารถต่ำกว่าที่สถาบันกำหนดจะต้องเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยไม่นับหน่วยกิตเพื่อจบการศึกษา

ENG๑๐๐๑

ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา                             

()

 

English for Graduate Students 

 

COM๑๐๐๑

คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา                      

()

 

Computer for Graduate Students

 

 

คำอธิบายรายวิชา

 

หมวดวิชาสัมพันธ์

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

MSC๑๐๐๑   ปรัชญาและประวัติวิทยาศาสตร์                                                      ๓()

                 Philosophy  and  History  of  Science                                  

                 ประวัติวิทยาศาสตร์ โดยเน้นวิวัฒนาการของความคิดทางวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่ความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการสร้างข้อสรุปที่เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาวิทยาศาสตร์และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ความสัมพันธ์ของความรู้ และหลักการทางวิทยาศาสตร์กับความเป็นสากลของวิทยาศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ลักษณะและจรรยาบรรณของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมโดยเน้นเกี่ยวกับความรับผิดชอบค่านิยมและคุณธรรม

                                                                                                                          

MSC๑๐๐๒   วิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา                                                        ๓()

                 Research  Methodologies  for  Science Education                  

                 ความหมายและประเภทของการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย การวางแผนและการเสนอผลการวิจัย โดยมุ่งเน้นให้สามารถทำการวิจัยวิทยาศาสตร์ศึกษา เพื่อการแก้ปัญหาและสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาตลอดจนข้อวิพากษ์ วิจารณ์ทางวิทยาศาสตร์

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

MSC๑๐๐๓   สถิติเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา                                             ๓()

                 Statistics for Researchin Science Education                                 

                 ทฤษฎีความน่าจะเป็น ประชากร ตัวอย่าง เทคนิคการสุ่มตัวอย่างการทดสอบสมมติฐานทั้งอิงพารามิเตอร์และไม่อิงพารามิเตอร์ วิเคราะห์ความแปรปรวน วิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์  แปลผลค่าสถิติจากการประมวลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

 

MSC๑๐๐๔   การสัมมนาทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา                                ()

                 Seminar in Science  and Science Education                          

                 วิเคราะห์ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาโดยเน้นการจัดทำเป็นโครงการหลักสูตร เทคนิควิธีสอนสื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อเผยแพร่ รวมทั้งติดตามผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา

 

หมวดวิชาเฉพาะด้าน :  แขนงวิชาเคมี                                                      

MSC๒๑๐๑   เคมีอินทรีย์ขั้นสูง                                                                      ()

                 Advanced  Organic  Chemistry                                          

                 โครงสร้าง ปฏิกิริยาและกลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบต่าง ๆ ของสารอินทรีย์ บทบาทหลักของสารมัธยันตร์ในปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเพริไซคลิก เคมีสเตอริโอและสารประกอบเฮเทอโรแอโร-แมติกไซคลิก

 

MSC๒๑๐๒   เคมีวิเคราะห์ขั้นสูง                                                                    ()

                 Advanced  Analytical Chemistry                                         

                 การวิเคราะห์โดยวิธีแยกและการสกัดด้วยตัวทำละลาย โครมาโทกราฟีแบบต่าง ๆ  การวิเคราะห์เชิงไฟฟ้า การวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ เช่น อัลตราไวโอเลต วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมตรีอินฟราเรดสเปกโทรโฟโตเมตรี อะตอมมิกแอบซอบชันสเปกโทรโฟโตเมตรี และเฟลมโฟโต- เมตรี เป็นต้น

 

MSC๒๑๐๓   เคมีอนินทรีย์ขั้นสูง                                                                    ()

                 Advanced  Inorganic  Chemistry                                        

                 โครงสร้าง ทฤษฎีการเกิดพันธะปฏิกิริยากลไกการเกิดปฏิกิริยาของสารเชิงซ้อนและเคมีของสารออร์แกโนเมทัลลิก 

 

MSC๓๑๐๑   เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูง                                                            ()

                 Advanced  Physical  Chemistry                                          

                 แก๊ส ของแข็ง ของเหลว สารละลาย วัฏภาคกึ่งสภาวะ เคมีเทอร์โมไดนามิกส์ เคมีเทอร์-                 โมไดนามิกส์เชิงสถิติ ควอนตัมเมกกานิกส์ เคมีไฟฟ้า จลนพลศาสตร์โครงสร้างอะตอม  โครงสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์ของโมเลกุล โมเลกุลขนาดใหญ่และเคมีพื้นผิว

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

MSC๓๑๐๒   ชีวเคมีขั้นสูง                                                                          ()    

                 Advanced  Biochemistry                                                  

                 รายละเอียดของชีวโมเลกุล  โดยเน้นด้านโครงสร้าง และการทำงานของจีนตลอดถึง   เมแทบอลิซึมเฉพาะ เช่น การสังเคราะห์โปรตีน กรดนิวคลิอิก และเกลือแร่ที่สำคัญในร่างกาย รวมทั้งกลวิธีต่าง ๆ ในระบบควบคุมเมแทบอลิซึม และความสำคัญด้านชีวเคมีของฮอร์โมน

 

MSC๓๑๐๓   เคมีของสารมลพิษในสิ่งแวดล้อม                                                    ()

                 Chemistry of Environmental Pollutants                                

                 สารเคมีและผลกระทบของสารเคมีต่อสภาวะแวดล้อม พร้อมทั้งสาเหตุและวิธีแก้ไขและปฏิบัติการเก็บข้อมูลในท้องถิ่น

 

MSC๓๑๐๔   เคมีของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ                                                          ()

                 Chemistry  of  Natural  Products                                       

                 กระบวนการชีวสังเคราะห์ วิธีสกัด โครงสร้าง การสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่น่าสนใจ

 

MSC๓๑๐๕   เคมีทางทะเล                                                                          ()

                 Marine  Chemistry                                                         

                 ความรู้พื้นฐานทางสมุทรศาสตร์ สิ่งแวดล้อมทางทะเล สมบัติทางเคมีของน้ำทะเลน้ำทะเลและเกลือบางชนิด เคมีของน้ำทะเล บทบาทของเกลือแร่ต่อสมบัติของน้ำทะเล ธาตุ องค์ประกอบหลัก ธาตุองค์ประกอบรอง และธาตุสารอาหารของชีวิตในทะเล แก๊สและสารอินทรีย์ในทะเล ตะกอนในทะเล ติดตามงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวของกับเคมีทางทะเล

 

MSC๓๑๐๖   สารเคมีอันตรายและการจัดการ                                                      ๓()

                 Hazardous  Chemicals  and  Management                           

                 อันตรายจากสารเคมีแต่ละประเภท ได้แก่ สารไวไฟ สารไวต่อปฏิกิริยา สารระเบิดง่ายสารกัมมันตรังสี และสารกัดกร่อน ศึกษาการจัดการกับสารเคมีอันตรายให้มีความปลอดภัย เช่น การเก็บ การใช้ การขนส่ง การป้องกันอันตราย การจัดการกับอุบัติเหตุและโรคจากสารเคมีอันตราย

 

MSC๓๑๐๗   เคมีโภชนศาสตร์                                                                      ๓()

                 Nutritional  Chemistry                                                     

                 เคมีของสารอาหาร การย่อย การดูดซึม เมแทบอลิซึมและพลังงานที่เกี่ยวข้อง แหล่งของสารอาหาร แนวคิดในการจัดสูตรอาหาร ติดตามผลงานวิจัยทางด้านเคมีของสารอาหาร

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

MSC๓๑๐๘   พอลิเมอร์และปิโตรเคมี                                                               ๓()

                 Polymers  and  Petrochemistry                                         

                 เคมีของพอลิเมอร์ประเภทต่าง ๆ ทั้งในธรรมชาติและสังเคราะห์ เช่น ยาง พลาสติกการสกัดน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ การกลั่น การนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ ตลอดจนงานวิจัยใหม่ที่เกี่ยวข้อง

 

MSC๓๑๐๙   การสอนเคมี                                                                           ๓()

                 Teaching  of  Chemistry                                                  

                 ทฤษฎีการเรียนรู้บางกลุ่ม กระบวนการสอน เทคนิคและวิธีสอนตลอดจนกิจกรรม   การเรียนการสอนเคมี การพัฒนาสื่อกระบวนการเรียนการสอน การประเมินในชั้นเรียน การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อและการเรียนการสอนเคมี

 

SCH๐๒๐๕   เคมีอินทรีย์ ๑                                                                         ()

                 Organic  Chemistry 1                                                      

                 การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ สมบัติทางกายภาพ สเตอริโอเคมี การเกิดพันธะในสารประกอบอินทรีย์ ชนิดและกลไกของปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ การเตรียมและปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน สารประกอบอะโรเมติกและสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันชนิดต่าง ๆ

 

SCH๐๒๐๙   เคมีเชิงฟิสิกส์ ๑                                                                       ()

                 Physical  Chemistry 1                                                     

                 ศึกษาสมบัติของแก๊สอุดมคติ แก๊สจริง กฎของอุณหพลศาสตร์ สมดุลเคมี การเปลี่ยนแปลง วัฏภาค กฎของวัฏภาค สมบัติคอลลิเกทีฟ เคมีไฟฟ้า

 

SCH๐๒๑๓   เคมีวิเคราะห์ ๑                                                                        ()

                 Analytical  Chemistry 1                                                   

                 บทนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเคมี หน่วยความเข้มข้นและการคำนวณ สถิติในงานวิเคราะห์ทางเคมี การวิเคราะห์ปริมาณสารโดยการชั่งน้ำหนักของสาร การวิเคราะห์โดยการวัดปริมาตรของสาร ได้แก่ การไทเทรตแบบปฏิกิริยากรด-เบส การไทเทรตแบบตกตะกอน การไทเทรตแบบเกิดสารประกอบเชิงซ้อนและการไทเทรตแบบปฏิกิริยารีดอกซ์

 

SCH๐๒๑๗   เคมีอนินทรีย์ ๑                                                                        ()

                 Inorganic  Chemistry 1                                                    

                 โครงสร้างอะตอม ทฤษฎีพันธะเคมีเบื้องต้น สมมาตรและทฤษฎีกลุ่ม ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล กรดและเบส สถานะของแข็ง สารประกอบของธาตุหมู่หลัก

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

SCH๐๒๒๑   ชีวเคมี ๑                                                                              ()

                 Biochemistry 1                                                                     

                 ความสำคัญของบัฟเฟอร์ในสิ่งมีชีวิต การทำสารชีวโมเลกุลให้บริสุทธิ์โดยวิธีต่าง ๆ องค์ประกอบของเซลล์ โครงสร้างโมเลกุล สมบัติทางกายภาพและทางเคมี หน้าที่ทางชีวภาพของคาร์โบไฮเดรต ลิพิด โปรตีน เอนไซม์ ฮอร์โมน กรดนิวคลิอิก วิตามิน เกลือแร่และเมแทบอลิซึมเบื้องต้น

 

หมวดวิชาเฉพาะด้าน :  แขนงวิชาชีววิทยา

MSC๒๒๐๑   หลักชีววิทยา                                                                          ()

                 Principles  of  Biology                                                     

                 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้สืบสวนสอบสวนเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต กำเนิดสิ่งมีชีวิต หลักเกณฑ์ทางชีววิทยาเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและหน้าที่ของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบต่าง ๆ ของพืชและสัตว์ การเจริญ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พันธุศาสตร์ วิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ

 

MSC๒๒๐๒   ชีววิทยาของเซลล์                                                                    ()

                 Cell  Biology                                                                 

                 โครงสร้าง หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ โพรคารีโอต ยูคารีโอต การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสและไมโอซิส กลไกทางสรีระและกระบวนการระดับเซลล์ การขนส่ง การส่งสัญญาณ ทางเคมี การค้ำจุนและการเคลื่อนที่ การเปลี่ยนแปลงพลังงาน การควบคุมการแสดงออกของสารพันธุกรรมใน โพรคารีโอต และยูคารีโอต ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญและการผิดปกติของเซลล์

 

MSC๒๒๐๓   สรีรวิทยาของสัตว์                                                                    ()

                 Animal  Physiology                                                         

                 โครงสร้างกระบวนการเมแทบอลิซึม และสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ระบบประสาทและอวัยวะรับรู้ความรู้สึก ระบบย่อยอาหาร  ระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ระบบต่อมไร้ท่อ  ระบบกล้ามเนื้อ ระบบเครื่องห่อหุ้มร่างกาย และระบบโครงกระดูก

 

MSC๓๒๐๑   เทคนิคทางชีววิทยา                                                                   ()

                 Biotechniques                                                                      

                 เทคนิค และวิธีการปฏิบัติทางชีววิทยา การใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดต่าง ๆ การเก็บ ตัวอย่างพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต การเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเพื่อใช้ศึกษาในห้องปฏิบัติการ การผ่าตัด การดอง การอัดแห้ง การสต๊าฟ การทำสไลด์สด สไลด์ถาวร การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ   ที่เกี่ยวกับงานด้านชีววิทยา เทคนิคผลิตภาพถ่ายเพื่องานวิจัยทางชีววิทยาและการถ่ายภาพผ่านกล้องจุลทรรศน์

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

MSC๓๒๐๒   ชีววิทยาสภาวะแวดล้อม                                                             ()        

                 Biological  Aspects of  Environment                                    

                 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ ประชากร ทรัพยากรผลผลิตทางการเกษตร ชนิดแหล่งกำเนิด ลักษณะปัญหา แนวทางแก้ปัญหา ผลกระทบของมลพิษต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ กฎหมายสิ่งแวดล้อม

 

MSC๓๒๐๓   ความหลากหลายทางชีวภาพ                                                        ๓()        

                 Biodiversity                                                                         

                 ศึกษากำเนิดของสิ่งมีชีวิต การจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศชนิดต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ สารพันธุกรรมที่มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพความสำคัญและผลกระทบของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการนำความรู้ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพไปแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ มีการศึกษานอกสถานที่

 

MSC๓๒๐๔   ชีววิทยาโมเลกุล                                                                      ๓()        

                 Molecular Biology                                                          

                 บทบาทและหน้าที่ของดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ รหัสทางพันธุกรรม การสังเคราะห์โปรตีน  เอนไซม์และการควบคุมโปรทิโอมิคส์ วิวัฒนาการระบบโมเลกุลพื้นฐาน ระดับโมเลกุล และกลไก     การควบคุมกระบวนการทางชีววิทยา เช่น กระบวนการข้อมูล ภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุล กระบวนการพลังงาน การรวมโมเลกุลขนาดใหญ่เข้าเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่

 

MSC๓๒๐๕   พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล                                                             ๓()        

                 Molecular  Genetics                                                       

                 โครงสร้างหน้าที่พฤติกรรม และความสำคัญของสารพันธุกรรม รหัสทางพันธุกรรม การแบ่งเซลล์โครงสร้าง หน้าที่และการควบคุมจีน การแยกจีน การสังเคราะห์โปรตีน การจำลองตัวของดีเอ็นเอ เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษาจีน การโคลนจีนและพันธุวิศวกรรม เอ็นไซม์ที่ใช้โคลนจีน

 

MSC๓๒๐๖   การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์                                                               ๓()        

                 Animal Cell Culture                                                        

                 หลักการและเทคนิคในการเพาะเลี้ยงเซลล์ ผลของสารต่าง ๆ ต่อการมีชีวิตของเซลล์ การประยุกต์ใช้กับสาขาอื่น ๆ เช่น ไวรัส และการแพทย์ การทดลองสารเคมีเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของเซลล์

 

 

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

MSC๓๒๐๗   จุลินทรีย์อาหารทางอุตสาหกรรมและการเกษตร                                    ()

                 Food  Microbiology for Industrial  and  Agriculture                 

                 บทบาทของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวกับอาหารในแง่การเน่าเสีย การถนอมอาหารการแปรรูป การเป็นพิษ การนำจุลินทรีย์ไปใช้ในงานอุตสาหกรรมและด้านอื่น กระบวนการหมัก ปัจจัยการผลิต การควบคุมการผลิต การเพาะเลี้ยง และคัดเลือกสายพันธุ์ ชนิด และบทบาทของจุลินทรีย์เกี่ยวข้องกับการเกษตร

 

MSC๓๒๐๘   ชีววิทยาของการเจริญ                                                                ()

                 Development  Biology                                                    

                 กลไกของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญ สารพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม การเจริญ            การพัฒนาด้วยชีวภาพ ชีวเคมี สรีรวิทยาของเซลล์สืบพันธุ์ การปฏิสนธิ การเปลี่ยนแปลงของเซลล์สืบพันธุ์หลังการปฏิสนธิ การเจริญของอวัยวะและระบบต่าง ๆ

 

MSC๓๒๐๙   การเก็บรวบรวมตัวอย่างและการจัดแสดง                                           ()        

                 Museum  Collection                                                       

                 หลักการเก็บรวบรวม เพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตใช้ในห้องปฏิบัติการ การเก็บรักษาตัวอย่าง เพื่อการศึกษา เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ การจัดแสดง และการประยุกต์ใช้งานด้านอื่น ๆ

 

MSC๓๒๑๐   สรีรวิทยาของพืชและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช                                     ()

                 Plant Physiologyand Plant Tissue Culture                            

                 สมบัติของส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ ความสำคัญของน้ำแร่ธาตุและดินต่อพืชความสัมพันธ์ระหว่างรากดิน พลังงานจากแสงแดดและคลอโรพลาสต์ กลไกและกระบวนการทางชีวเคมีของการสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ และเมแทบอลิซึมของพืช การเติบโตแบบไดนามิก ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพของเซลล์ หลักการและเทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากส่วนต่าง ๆ ของพืช การประยุกต์ใช้กับสาขาอื่น ๆ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืช โรคพืช และการแพทย์

 

MSC๓๒๑๑   การศึกษาค้นคว้าทางชีววิทยาด้วยตนเอง                                           ()

                 Selected  Topic  in  Biology                                              

                 การวิจัย รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางชีววิทยาที่สนใจของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย

 

 

 

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

SBI๐๑๐๕     จุลชีววิทยา                                                                            ()

                 Microbiology                                                                 

                 พื้นฐานของจุลชีววิทยา  โครงสร้างเซลล์โพรคาริโอตและยูคาริโอต การจำแนกประเภทสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา การเจริญเติบโต พันธุกรรม การสืบพันธุ์ การควบคุมจุลินทรีย์ บทบาทของจุลินทรีย์ในน้ำ ดิน อากาศ อาหารและอุตสาหกรรม ประโยชน์และโทษของจุลินทรีย์

 

SBI๑๓๐๑     พฤกษศาสตร์                                                                          ()

                 Botany                                                                        

                 โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์และเนื้อเยื่อของพืช สัณฐานวิทยาของพืช ความสัมพันธ์ของน้ำกับพืช ธาตุอาหารพืช เมแทบอลิซึม การเจริญเติบโตและพัฒนาของพืช อนุกรมวิธานของพืช นิเวศวิทยาของพืช

                

SBI๑๓๐๒     สัตววิทยา                                                                             ()

                 Zoology                                                                      

                 ชีววิทยาด้านสัตว์ หลักในการจัดจำแนกประเภทสัตว์และวิวัฒนาการของสัตว์เบื้องต้นโครงสร้างและหน้าที่ของเนื้อเยื่อสัตว์ ระบบอวัยวะ การทำงานและการควบคุม

 

SBI๕๑๐๑     นิเวศวิทยา                                                                            ()

                 Ecology                                                                       

                 ความรู้พื้นฐานทางนิเวศวิทยาระดับสิ่งมีชีวิต นิเวศวิทยาระดับประชากร นิเวศวิทยา ระดับชุมชน ระบบนิเวศแบบต่าง ๆ การถ่ายทอดพลังงานและการหมุนเวียนสาร การเปลี่ยนแปลง แทนที่ มลพิษสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

SBI๖๑๐๑     พันธุศาสตร์                                                                            ()

                 Genetics                                                                      

                 หลักพันธุศาสตร์ของเมนเดล การวิเคราะห์เพดิกรี การแยกโครโมโซม วัฏจักรเซลล์ การแบ่งเซลล์ไมโทซิสและไมโอซิส วัฏจักรชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โครงสร้างจีโนม พันธุกรรมระดับโมเลกุล การถอดรหัส การแปลรหัส มิวเทชัน การควบคุมการทำงานของยีน พันธุวิศวกรรม โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนและโครโมโซม

 

 

 

 

หมวดวิชาเฉพาะด้าน :  แขนงวิชาฟิสิกส์

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

MSC๒๓๐๑   คณิตศาสตร์สำหรับฟิสิกส์                                                             ()

                 Mathematics  for  Physics                                                       

                 ผลเฉลยอนุกรมกำลัง วิธีการแปรผันของตัวแปร ฟังก์ชันพิเศษ อนุกรมฟูเรียร์ ผลเฉลยเชิงเส้นกำกับ ฟังก์ชันของตัวแปรเชิงซ้อน การอินทิเกรตเชิงซ้อน การวิเคราะห์เวกเตอร์และเทนเซอร์ สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย ฟังก์ชันของกรีน

 

MSC๒๓๐๒   กลศาสตร์คลาสสิก                                                                    ()

                 Classical  Mechanics                                                              

                 กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน การเคลื่อนที่ใน ๑-๒ และ ๓ มิติ การเคลื่อนที่ภายใต้แรง   ในแนวศูนย์กลาง วัตถุแข็งเกร็ง สมการลากรางจ์ หลักของแฮมิลตัน สมการแฮมิลตันจาโคบี เชือกและแรงโน้มถ่วง

 

MSC๒๓๐๓   แม่เหล็กไฟฟ้า                                                                         ๓()

                 Electromagnetism                                                                 

                 สมการแมกซ์เวลล์  การส่งผ่านคลื่นในสุญญากาศและตัวกลาง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในท่อนำคลื่น การแผ่รังสีของประจุไฟฟ้าที่กำลังเคลื่อนที่ ฮาร์มอนิกส์แบบทรงกลม ภาพและการเขียนภาพจำลองสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

 

MSC๓๓๐๑   กลศาสตร์ควอนตัม                                                                    ()

                 Quantum  Mechanics

                 ฟังก์ชันคลื่น สมการชเรอดิงเงอร์ที่ไม่ขึ้นกับเวลา สมการชเรอดิงเงอร์ ๓ มิติพิกัดฉากสมการชเรอดิงเงอร์ ๓ มิติพิกัดทรงกลม อะตอมไฮโดรเจน โมเมนตัมเชิงมุมและสปิน อนุภาคที่เหมือนกัน วิธีการประมาณ ทฤษฎีการกระเจิง

 

MSC๓๓๐๒   ทัศนศาสตร์                                                                            ()

                 Optics                                                                         

                 ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับฟิสิกส์ของแสง ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต ความคลาดทัศน์ศาสตร์ของดวงตามนุษย์ เลเซอร์ การแทรกสอดของแสงและการประยุกต์ การเลี้ยวเบน เฟรสเนลและเฟราน์โฮเฟอร์  สเปกโทรมิเตอร์ การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์  โพลาไรเซชัน ใยแก้วนำแสง

 

 

 

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

MSC๓๓๐๓   เทอร์โมไดนามิกส์                                                                     ()

                 Thermodynamics                                                           

                 กฎเทอร์โมไดนามิกส์และทฤษฎีจลน์  เอนโทรปี การประยุกต์ของเทอร์โมไดนามิกส์  คุณสมบัติมหัพภาคของสารตามกฎเทอร์โมไดนามิกส์ เครื่องกลความร้อน (heat engines) สภาพสมดุลของแก๊สเจือจาง

 

MSC๓๓๐๔   กลศาสตร์เชิงสถิติ                                                                     ๓()

                 Statistical Mechanics                                                       

                 กลศาสตร์สถิติแบบคลาสสิก และแบบควอนตัม สถิติแบบแมกซ์เวลล์- โบลท์ซมานน์ สถิติแบบโบสไอน์สไตน์ สถิติแบบเฟอร์มิ-ดิแรก อุณหภูมิและเอนโทรปี เทอร์โมไดนามิกส์ของแก๊ส การประยุกต์ใช้เทอร์โมไดนามิกส์เชิงสถิติ

 

MSC๓๓๐๕   ชีวฟิสิกส์                                                                              ๓(๒-๒-๕)

                 Biophysics                                                                    

                 พลศาสตร์ของระบบทางชีวภาพ กลศาสตร์ทางไฟฟ้าของวัสดุชีวภาพ สมบัติเชิงกลของวัสดุชีวภาพ ผลทางชีวภาพของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ผลของรังสีที่ก่อให้เกิดไอออนต่อระบบสิ่งมีชีวิต

 

MSC๓๓๐๖   ฟิสิกส์นิวเคลียร์                                                                       ๓()        

                 Nuclear  Physics                                                            

                 สมบัติของนิวเคลียส แรงนิวเคลียร์ แบบจำลองนิวเคลียร์ สมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของนิวเคลียส การแผ่รังสีของนิวเคลียส และปฏิกิริยานิวเคลียร์

 

MSC๓๓๐๗   อิเล็กทรอนิกส์                                                                         ()

                 Electronics                                                                   

                 อนาลอกอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการทดลองและออกแบบสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม เพื่อใช้ประกอบในงานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ฟิสิกส์ เช่น วงจร interface เป็นต้น โดยนักศึกษาจะต้องออกแบบและทดลอง เพื่อสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไม่น้อยกว่า ๓ ชุด พร้อมเขียนคู่มือประกอบอุปกรณ์ที่สมบูรณ์

 

MSC๓๓๐๘   การสร้างและการใช้สื่อการสอนฟิสิกส์                                                ()

                 Creation  and  Use of Physics  Teaching  Material                         

                 สร้างสื่อสารการสอนวิชาฟิสิกส์ที่ครอบคลุมเนื้อหาที่เรียน (บังคับ) และเลือกเรียนทุกรายวิชาโดยประกอบด้วยรายละเอียดของสื่อ วิธีสร้าง ขั้นตอนการนำเสนอในการใช้ประกอบการสอน

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

SPH๐๒๑๓    ฟิสิกส์ยุคใหม่                                                                           ๓()        

                 Modern  Physics                                                            

                 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ การแผ่รังสีของวัตถุดำ ทฤษฎีทวิภาพของคลื่น และอนุภาคความยาวคลื่นของเดอบรอย หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบอร์ก โครงสร้างอะตอม แบบจำลองอะตอมของบอห์ร อะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนกฎการคัดเลือกหลักการกีดกันของเพาลีทฤษฎีควอนตัม ฟิสิกส์นิวเคลียร์และอนุภาคมูลฐาน

 

วิทยานิพนธ์

รหัสวิชา       คำอธิบายรายวิชา                                                                     น(ท-ป-ศ)

MSC๔๐๐๑   วิทยานิพนธ์                                                                            ๑๒ หน่วยกิต

                 Thesis                                                                                

                 ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา เน้นความริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการ การนำเอาทฤษฎี และหลักการมาใช้ในการแก้ปัญหา โดยอาศัยเทคนิควิธีการวิจัย และการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนางานทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา นำข้อมูลจากการวิจัยมาวิเคราะห์ สังเคราะห์และเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์

 

วิชาเสริม

ENG๑๐๐๑   ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา                                           ()

                 English for Graduate  Students                                                 

                  ฝึกทักษะ พื้นฐานในการพูด การฟัง การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ เน้นการอ่าน และสรุปใจความสำคัญของบทคัดย่อ และเอกสารทางวิชาการจากการฝึกการเขียนบทคัดย่อภาษา อังกฤษโดยสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

COM๑๐๐๑   คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา                                           ()

                 Computing for Graduate Students                                      

                 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์เน้นทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศการใช้และการสืบค้นข้อมูลอินเตอร์เน็ท ความรู้เบื้องต้นในการใช้โปรแกรมประยุกต์ในการบริหารงาน การออกแบบการใช้สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัย

 


 

แผนการเรียนการสอนหลักสูตรแผน ก (๒) เรียนไม่น้อยกว่า  ๓๙ หน่วยกิต

แผน ก(): แขนงวิชาเคมี

 

ชั้นปี ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๑

ปรัชญาและประวัติวิทยาศาสตร์

()

วิชาเฉพาะด้าน (บังคับ)

MSC๒๑๐๑

เคมีอินทรีย์ขั้นสูง                            

()

วิชาเสริม

ENG๑๐๐๑

ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

()

COM๑๐๐๑

คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

()

รวม

๑๒

หมายเหตุ :  *เรียนไม่นับหน่วยกิต

 

ชั้นปี ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๒

วิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา   

()

MSC๑๐๐๓

สถิติเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

()

วิชาเฉพาะด้าน (บังคับ)

MSC๒๑๐๒

เคมีวิเคราะห์ขั้นสูง            

()

MSC๒๑๐๓

เคมีอินทรีย์ขั้นสูง                            

()

รวม

๑๒

 

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๔

การสัมมนาทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา

()

วิชาเฉพาะด้าน (เลือก)

MSC๓๑XX

XXXX

๓(XXX)

MSC๓๑XX

XXXX

๓(XXX)

วิทยานิพนธ์              

MSC๔๐๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

๑๒

 

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์         

MSC๔๐๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

รวมตลอดหลักสูตร

๔๕*

หมายเหตุ  :  * หมายความรวมถึงวิชาไม่นับหน่วยกิต ๖ หน่วยกิต

 

แผน  ก(): แขนงวิชาชีววิทยา

 

ชั้นปี ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๑

ปรัชญาและประวัติวิทยาศาสตร์

()

วิชาเฉพาะด้าน (บังคับ)

MSC๒๒๐๑

หลักชีววิทยา                      

()

วิชาเสริม

ENG๑๐๐๑

ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

()

COM๑๐๐๑

คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

()

รวม

๑๒

หมายเหตุ : * เรียนไม่นับหน่วยกิต

 

ชั้นปี ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๒

วิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา   

()

MSC๑๐๐๓

สถิติเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

()

วิชาเฉพาะด้าน (บังคับ)

MSC๒๒๐๒

ชีววิทยาของเซลล์

()

MSC๒๒๐๓

สรีรวิทยาของสัตว์

()

รวม

๑๒

 

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๔

การสัมมนาทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา

()

วิชาเฉพาะด้าน (เลือก)

MSC๓๒XX

XXXX

๓(XXX)

MSC๓๒XX

XXXX

๓(XXX)

วิทยานิพนธ์              

MSC๔๐๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

๑๒

 

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์         

MSC๔๐๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

รวมตลอดหลักสูตร

๔๕*

หมายเหตุ  :  * หมายความรวมถึงวิชาไม่นับหน่วยกิต ๖ หน่วยกิต

 

 

แผน  ก(): แขนงวิชาฟิสิกส์

 

ชั้นปี ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๑

ปรัชญาและประวัติวิทยาศาสตร์

()

วิชาเฉพาะด้าน (บังคับ)

MSC๒๓๐๑

คณิตศาสตร์สำหรับการสอนฟิสิกส์ 

()

วิชาเสริม

ENG๑๐๐๑

ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

()

COM๑๐๐๑

คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

()

รวม

๑๒

หมายเหตุ : * เรียนไม่นับหน่วยกิต

 

ชั้นปี ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๒

วิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา   

()

MSC๑๐๐๓

สถิติเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

()

วิชาเฉพาะด้าน (บังคับ)

MSC๒๓๐๒

กลศาสตร์แบบคลาสสิก

()

MSC๒๓๐๑

แม่เหล็กไฟฟ้า

()

รวม

๑๒

 

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๔

การสัมมนาทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา

()

วิชาเฉพาะด้าน (เลือก)

MSC๓๓XX

XXXX

๓(XXX)

MSC๓๓XX

XXXX

๓(XXX)

วิทยานิพนธ์              

MSC๔๐๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

๑๒

 

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์         

MSC๔๐๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

รวมตลอดหลักสูตร

๔๕*

หมายเหตุ  :  * หมายความรวมถึงวิชาไม่นับหน่วยกิต ๖ หน่วยกิต

 

แผน  ก (): แขนงวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

 

ชั้นปี ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๑

ปรัชญาและประวัติวิทยาศาสตร์

()

วิชาเฉพาะด้าน

MSC๒๑XX

XXXX

๓(XXX)

วิชาเสริม

ENG๑๐๐๑

ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

()

COM๑๐๐๑

คอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

()

รวม

๑๒

หมายเหตุ  :  * เรียนไม่นับหน่วยกิต

 

ชั้นปี ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๒

วิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา   

()

MSC๑๐๐๓

สถิติเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

()

วิชาเฉพาะด้าน

 

MSC๒๒XX

XXXX

๓(XXX)

MSC๒๓XX

XXXX

๓(XXX)

รวม

๑๒

 

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาสัมพันธ์

MSC๑๐๐๔

การสัมมนาทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา

()

วิชาเฉพาะด้าน

 

MSCXXX

XXXX

๓(XXX)

MSCXXX

XXXX

๓(XXX)

วิทยานิพนธ์              

MSC๔๐๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

๑๒

 

ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์         

MSC๔๐๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

รวมตลอดหลักสูตร

๔๕*

 

หมายเหตุ  :  * หมายความรวมถึงวิชาไม่นับหน่วยกิต ๖ หน่วยกิต