หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา

 

ชื่อหลักสูตรและสาขา 

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย        วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา

                   ภาษาอังกฤษ     Master of Science (Environmental Education)

ชื่อปริญญา

                   ชื่อเต็ม           วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สิ่งแวดล้อมศึกษา)

Master of Science (Environmental Education)

                   ชื่อย่อ             วท.ม. (สิ่งแวดล้อมศึกษา) M.Sc. (Environmental Education)

          ได้รับการรับรองคุณวุฒิ  เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

 

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

          ปรัชญาของหลักสูตร

          หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรของท้องถิ่นและสังคมให้เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมผสมผสานกับความสามารถในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประชากรเป้าหมายมีความสามารถในการวิจัยเป็นผู้นำทางวิชาการเป็นนักบริหารที่มีการจัดการอย่างมีวิสัยทัศน์ มีคุณธรรมจริยธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถพัฒนาตนพัฒนาท้องถิ่นและพัฒนาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตวิทยาศาตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา ดังนี้

ให้มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมผสมผสานกับความสามารถในการสอนและเผยแพร่สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม

. เป็นนักวิจัยค้นคว้าและสามารถเป็นผู้นำทางวิชาการอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นและสังคมได้

. เป็นนักบริหารที่มีการจัดการอย่างมีวิสัยทัศน์มีคุณธรรมจริยธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาสังคมและชุมชนท้องถิ่นที่ยั่งยืนต่อไป

 


 

คุณสมบัติและการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

     ๑. สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีทุกสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสาขาอื่นๆที่เทียบเท่า

     ๒. มีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ และมีประสบการณ์การทำงานหลังจบปริญญาตรีไม่น้อยกว่า ๒ ปี

     ๓. หากไม่อยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขา

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

          การรับนักศึกษาเข้าศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีในแต่ละปีการศึกษา

 

การจัดการศึกษา 

ระบบการเปิดสอน

     ๑. ระบบการศึกษาเป็นแบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ภาคการศึกษาหนึ่งภาคการศึกษามีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๖ สัปดาห์

     ๒. ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรนักศึกษาต้องใช้เวลา ๒ ปี การศึกษาโดยประมาณ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาประจำสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีว่าด้วยการจัดการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

การลงทะเบียน  ให้เป็นไปตามระเบียบของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี

          ระยะเวลาในการศึกษาใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปีการศึกษาและไม่เกิน ๕ ปีการศึกษา

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

     ๑. การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ว่าด้วยการประเมินผลการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

     ๒. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

                   ๑) สอบได้จำนวนหน่วยกิตครบตามข้อกำหนดของหลักสูตร

                   ๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมของรายวิชาต่างๆ ที่เรียนไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐

                   ๓) ผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)

                   ๔) ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์

 

จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

          หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรต้องศึกษาไม่น้อยว่า ๔๖ หน่วยกิต โดยแยกเป็นวิชาสัมพันธ์ไม่น้อยกว่า ๘ หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะด้านไม่น้อยกว่า ๑๖ หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต

 

          โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก (๒) มีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตแยกเป็นหมวดวิชาดังนี้

                    หมวดวิชาสัมพันธ์          ๐๘      หน่วยกิต

                   หมวดวิชาเฉพาะด้าน      ๒๖      หน่วยกิต

                    วิทยานิพนธ์                ๑๒      หน่วยกิต

                                       รวม     ๔๖      หน่วยกิต

การจัดการเรียนการสอน

          หมวดวิชาสัมพันธ์ ๘ หน่วยกิต

                   ๑๐๔๕๔๐๑ ระเบียบวิธีการวิจัย                                                     ๓(๓-๐)

                   ๔๔๑๕๒๐๑ สถิติเพื่อการวิจัย                                                       ๒(๒-๐)

                   ๔๐๖๕๖๐๒ ปรัชญาสิ่งแวดล้อมศึกษาและจริยธรรม                     ๓(๓-๐)

          หมวดวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า ๒๖ หน่วยกิต

วิชาบังคับ เรียนไม่น้อยกว่า ๒๐ หน่วยกิต

                   ๔๐๖๕๑๐๑ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม                                               ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๕๔๐๑ พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม                                                    ๓(๓-๐)

                   ๔๐๖๕๕๐๑ ทรัพยากรศาสตร์                                                      ๓(๓-๐)

                   ๔๐๖๕๖๐๑ สิ่งแวดล้อมศึกษา                                                      ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๕๖๐๓ การออกแบบและการสร้างโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา               ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๕๘๐๑ สัมมนาสิ่งแวดล้อมศึกษา                                               ๑(๐-๓)

                   ๔๐๖๖๕๐๑ ทรัพยากรมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม                                        ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๖๘๐๒ สัมมนาการวิจัยสิ่งแวดล้อมศึกษา                                      ๑(๐-๓)

วิชาเลือก ให้เลือกเรียนแขนงวิชาใดแขนงวิชาหนึ่งต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า๖ หน่วยกิต

          แขนงวิชาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม

          บังคับ เรียนไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต

                   ๔๐๖๕๖๐๔ กระบวนการทางสิ่งแวดล้อมศึกษา                                     ๓(๒-๓)

          เลือก เรียนไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต

                   ๑๐๓๕๗๐๑ การพัฒนาสื่อเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีทางสิ่งแวดล้อม                 ๓(๒-๓)

                   ๒๕๔๕๔๐๑ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์                                       ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๕๖๐๕ สารสนเทศและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา                            ๓(๓-๐)

                   ๔๐๖๖๖๐๑ การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางสิ่งแวดล้อมศึกษา                         ๓(๒-๓)

                   ๔๑๑๕๓๐๑ โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป                                                ๒(๑-๒)

 

 

          แขนงวิชามนุษย์-สังคมกับสิ่งแวดล้อม

          บังคับ เรียนไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต

                   ๔๐๖๕๖๐๖ จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม                                                    ๓(๓-๐)

          เลือก เรียนไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต

                   ๔๐๖๕๑๐๔ นิเวศวิทยามนุษย์ชั้นสูง                                                ๓(๒-๒)

                   ๒๕๓๕๒๐๑ มวลชนศึกษา                                                           ๒(๒-๐)

                   ๒๕๕๕๑๐๑ สิ่งแวดล้อมกับการเมืองการปกครองของไทย                          ๓(๓-๐)

                   ๒๕๗๖๒๐๑ เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมชั้นสูง                               ๓(๓-๐)

                   ๓๐๑๕๒๐๑ การสื่อสารกับสิ่งแวดล้อม                                              ๒(๒-๐)

                   ๓๐๓๖๓๐๑ สิ่งแวดล้อมนิเทศ                                                       ๓(๓-๐)

                   ๔๐๖๕๓๐๑ ปัญหาและผลกระทบสิ่งแวดล้อม                                      ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๖๔๐๔ การตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม                                           ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๖๕๐๒ การบริหารงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม                                     ๓(๓-๐)

                   ๔๐๖๖๒๐๑ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม                                     ๓(๒-๓)

          แขนงวิชามลพิษสิ่งแวดล้อม เลือก เรียนไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต

                   ๔๐๐๖๒๐๑ เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม                                    ๓(๒-๓)

                   ๔๐๑๕๕๐๑ ฟิสิกส์ของสภาวะแวดล้อม                                             ๓(๒-๓)

                   ๔๐๒๕๓๐๑ สารเจือปนในอาหาร                                                   ๓(๒-๓)

                   ๔๐๒๕๗๐๑ สารเคมีที่เป็นพิษในสิ่งแวดล้อม                                        ๓(๒-๓)

                   ๔๐๒๖๗๐๑ เคมีอุตสาหกรรม                                                       ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๕๒๐๑ ภาวะมลพิษของน้ำและการควบคุม                                    ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๕๒๐๒ ภาวะมลพิษของดินและการควบคุม                                    ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๕๒๐๓ ภาวะมลพิษของอากาศและการควบคุม                     ๓(๒-๓)

          แขนงวิชาทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อม เลือก ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต

                   ๔๐๐๖๒๐๒ พลังงานทดแทน                                                        ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๕๑๐๒ ความหลากหลายทางชีวภาพ                                          ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๕๑๐๓ กระบวนการทางนิเวศวิทยา                                           ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๖๔๐๑ การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน                                     ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๖๔๐๒ การอนุรักษ์ดินและน้ำ                                                 ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๖๔๐๓ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม                                           ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๖๕๐๓ หลักการจัดการสัตว์ป่า                                                ๓(๒-๓)

                   ๔๐๖๖๕๐๔ หลักวนเกษตร                                                          ๒(๒-๐)

 

          แขนงวิชาการศึกษา เลือก เรียนไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต

                   ๑๐๑๕๕๐๑ การศึกษานอกระบบกับสิ่งแวดล้อมศึกษา                             ๒(๒-๐)

                   ๑๐๒๕๓๐๑ ทฤษฎีและวิธีการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา                     ๒(๒-๐)

                   ๑๐๔๖๑๐๙ การประเมินโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา                               ๒(๒-๐)

                   ๑๐๓๖๗๐๑ แนวความคิดใหม่ทางสิ่งแวดล้อมศึกษา                      ๒(๒-๐)

                   ๑๐๒๖๒๐๑ การออกแบบหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา  ๒(๒-๐)

                   ๑๐๖๕๒๐๓ การบริหารอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม                            ๒(๒-๐)

วิทยานิพนธ์

๔๐๖๖๙๐๑ วิทยานิพนธ์                                                           ๑๒ หน่วยกิต

          นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนได้ครั้งละไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิตจนครบจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้

วิชาเสริม

          นักศึกษาจะต้องผ่านความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษากำหนด กรณีความรู้ ความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถาบันกำหนดจะต้องเรียนรายวิชานี้โดยไม่นับหน่วยกิต

                   ๑๕๕๕๖๐๑ ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา                            ๒(๑-๒)

 

คำอธิบายรายวิชา

 

หมวดสัมพันธ์

๔๐๖๕๖๐๒     ปรัชญาสิ่งแวดล้อมศึกษาและจริยธรรม                                            ()

                   Philosophy of Environmental Education and Ethics                      

ศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมและเจตคติของคนที่มีต่อธรรมชาติจากปรัชญา ศาสนา จริยธรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ประวัติศาสตร์การเมืองที่นำไปสู่การเกิดของปรัชญาสิ่งแวดล้อมศึกษา ค่านิยม มาตรฐานทางจริยธรรม ตลอดจนสภาพสังคม และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ศึกษากรณีตัวอย่าง

 

๑๐๔๕๔๐๑      ระเบียบวิธีการวิจัย                                                                 ()

                   Research Methodology                                                        

แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวิจัย ประเภทของการวิจัย ลักษณะและขั้นตอนของการวิจัย การกำหนดประเด็นปัญหา สมมติฐาน เทคนิคและเครื่องมือการสุ่มตัวอย่างประชากร การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และการแปรผล การวางแผนและการกำหนดเค้าโครงเพื่อการวิจัย

 

๔๔๑๕๒๐๑      สถิติเพื่อการวิจัย                                                                    ๒ (๒-๐)

                   Statistics for Research                                                          

ความจำเป็นของสถิติต่อการวิจัย ทบทวนสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบน-มาตรฐานและอื่น ๆ ตลอดจนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ความแปรปรวน สหสัมพันธ์การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น  F-test, Chi-Square, ANOVA เป็นต้น

 

หมวดวิชาเฉพาะด้าน

วิชาบังคับ

๔๐๖๕๑๐๑      วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม                                                            ()

                   Environmental  Science                                                        

ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหา สาเหตุ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ อากาศ ดิน การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศของโลก ทั้งในเชิงเคมีและฟิสิกส์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยศึกษาจากสภาพที่เป็นจริงของท้องถิ่น

 

๔๐๖๕๕๐๑     พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม                                                               ()

                   Environmental Toxicology                                           

ศึกษาความหมาย ประเภทและลักษณะของสารพิษ แหล่งกำเนิดของสารพิษปัญหาและผลกระทบของสารพิษและสิ่งเป็นพิษในสิ่งแวดล้อม ดัชนีชี้ปัญหามลพิษ วิธีการวิเคราะห์ การวางแผนป้องกันและการแก้ไขปัญหามลพิษ

 

๔๐๖๕๕๐๑     ทรัพยากรศาสตร์                                                          ()

                   Resources  Science                                                             

ศึกษาทฤษฎี แนวความคิด และกระบวนการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรประเภทต่างๆ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์สร้างขึ้น ทฤษฎีการใช้ทรัพยากร ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ กับการบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน

 

๔๐๖๕๖๐๑     สิ่งแวดล้อมศึกษา                                                                   ()

                   Environmental Education                                                      

ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในฐานะที่เป็นศาสตร์ ความตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อมนุษย์และชีวิต ความสำคัญและความสอดคล้องระหว่างจุดมุ่งหมายของสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบโดยให้เหมาะสมกับเป้าหมายมีการศึกษานอกสถานที่

 

 

๔๐๖๕๖๐๓     การออกแบบและการสร้างโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา                            ()

                   Designing and Developing Environmental Education Programs        

ศึกษาและปฏิบัติการจริงเพื่อออกแบบและสร้างโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับศูนย์ปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริการแก่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนในชุมชน โดยมุ่งมั่นในการที่จะปฏิบัติจริงเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นร่วมกัน โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving) รวมทั้งให้เข้าใจและสามารถออกแบบการประเมินผลได้

 

๔๐๖๕๘๐๑     สัมมนาสิ่งแวดล้อมศึกษา                                                           ๑()

                   Environmental Education Seminar                                           

ศึกษาค้นคว้าและอภิปรายงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

 

๔๐๖๖๕๐๑     ทรัพยากรมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม                                                     ()

                   Human  Resources and Environment                                       

ศึกษาวิเคราะห์กลุ่มประชากรการจำแนกประชากรและความแตกต่างของกลุ่มประชากร พฤติกรรมและปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มประชากรการพัฒนากลุ่มประชากรในฐานะเป็นทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับโครงสร้างของสังคมวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม โดยเน้นกระบวนการพัฒนาแบบยั่งยืน ศึกษากรณีตัวอย่างจากผลกระทบของโครงการพัฒนาต่างๆ ที่มีต่อประชากรต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมแนวทางการแก้ไขของแต่ละกลุ่มประชากรในแต่ละท้องถิ่น มีการศึกษานอกสถานที่

 

๔๐๖๖๘๐๒     สัมมนาการวิจัยสิ่งแวดล้อมศึกษา                                                   ()

                   Seminar in Environmental Education Research                           

ศึกษาข้อมูลของประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม

 

วิชาเลือก

ก. แขนงวิชาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม

๔๐๖๕๖๐๔     กระบวนการทางสิ่งแวดล้อมศึกษา                                       ()

                   Environmental Education Process                                           

ศึกษาแนวทางการใช้สิ่งแวดล้อมศึกษามาป้องกันและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการศึกษาในการเปลี่ยนแปลงความรู้ เจตคติและพฤติกรรมทางสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยเน้นการเรียนจากประสบการณ์ตรง (first hand experience) และการใช้กระบวนการ Co-operative Learning การใช้สื่อและการประเมินผลการสอนสิ่งแวดล้อมทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน มีการศึกษานอกสถานที่

 

๑๐๓๕๗๐๑      การพัฒนาสื่อเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีทางสิ่งแวดล้อม                             ()

                   Media Development for Transtechnology in Environment             

ศึกษาหลักการและเทคนิคการพัฒนาสื่อประเภทต่าง ๆ การนำสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งวิทยาการที่ทันสมัย เช่น งานคอมพิวเตอร์ กราฟฟิค ฯลฯ ไปใช้ในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย ฝึกปฏิบัติการพัฒนาสื่อเพื่อใช้ในการนิเทศสิ่งแวดล้อม

๒๕๔๕๔๐๑     ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์                                                     ๓()

                   Geographic Information  System:GIS                                        

ศึกษาระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไว้ในฐานข้อมูล การนำข้อมูลออกมาใช้ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่ โดยศึกษาส่วนประกอบหลักของระบบ GIS การวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Remote Sensing) กับระบบ GIS การสร้างฐานข้อมูลสำหรับระบบ GIS รูปแบบของข้อมูลในระบบ GIS การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับโปรแกรม SPANS (Spatial Analysis System)

 

๔๐๖๕๖๐๕     สารสนเทศและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา                                         ()

                   Information Science and Networks in Environmental Education      

ศึกษาการสร้างและการพัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการบริหารและการพัฒนาการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศ การใช้ประโยชน์จากระบบเครือข่ายที่มีอยู่ หลักการสร้างและพัฒนาระบบเครือข่ายสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับสังคมภายนอก

 

๔๐๖๖๖๐๑     การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางสิ่งแวดล้อมศึกษา                                     ()

                   Dissemination of Environmental Education Technology                 

(ต้องเรียนรายวิชา  ๑๐๑๔๕๔๐๑  ระเบียบวิธีการวิจัยมาก่อน)

ศึกษาการใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปสำหรับงานทางสังคมศาสตร์ (SPSS) การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ การเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปให้เหมาะสมกับปัญหาการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

 

 

 

๔๑๑๕๓๐๑      โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป                                                              ๒(๑-๒)

                   Statistical Packages                                                             

                   (ต้องเรียนรายวิชา ๑๐๔๕๐๑ ระเบียบวิธีการวิจัยมาก่อน)

ศึกษาการใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปสำหรับงานทางสังคมศาสตร์ (SPSS) การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ การเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปให้เหมาะสมกับปัญหาการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

 

. แขนงวิชามนุษย์สังคมกับสิ่งแวดล้อม

๔๐๖๕๖๐๖     จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม                                                                ๓(๓-๐)

                   Environmental Psychology                                                    

ศึกษาผลงานค้นคว้าและผลงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ จิตวิทยา สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมของอินทรีย์และผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อสิ่งแวดล้อมถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไปหลักและทฤษฎีทางพฤติกรรมที่สามารถทำให้มนุษย์ชีวิตอยู่รอด

 

๔๐๖๕๑๐๔     นิเวศวิทยามนุษย์ขั้นสูง                                                             ๓(๒-๓)

                   Advanced Human Ecology                                                  

                   (ต้องเรียนรายวิชา ๔๐๓๔๑๐๓  นิเวศวิทยามนุษย์ มาก่อน)

ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมและศึกษาสำรวจเกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นในบริเวณที่ประชาชนอาศัยอยู่ แนวการศึกษานี้ประกอบด้วย ผังเมือง มรดกของเมือง มรดกพื้นบ้าน ชนกลุ่มน้อยในชุมชนและโครงสร้างของเมืองต่างๆ โดยเน้นการศึกษาประเด็นปัญหาของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเจริญเติบโตของเมือง การวางแผนขนส่งมวลชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดกไทย การเปลี่ยนแปลงสาธารณูปโภคตามความจำเป็น

 

๒๕๓๕๒๐๑     มวลชนศึกษา                                                                       ()

                   Mass Studies                                                                     

ศึกษาความหมายของมวลชน ความสำคัญของมวลชนต่อสังคม ธรรมชาติและการรวมกลุ่มของมวลชน การเข้าถึงมวลชน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับมวลชน พลังของมวลชนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม การใช้พลังของมวลชนในการรณรงค์ด้านต่างๆ ความสัมพันธ์ของมวลชนกับท้องถิ่นและทรัพยากร ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างมวลชนกับสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลต่อการตระหนัก ในคุณค่าและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

 

 

๒๕๕๕๑๐๑      สิ่งแวดล้อมกับการเมืองการปกครองของไทย                                     ()

                   Environment and Thai Polities                                                

ศึกษาระบบบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคม โดยทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เกี่ยวกับนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรการต่างๆ ที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการส่งเสริม บำรุงรักษาและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน การแก้ไขปัญหาสภาวะความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและสาธารณสมบัติในเขตชุมชนเมืองและเขตชนบท ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรเอกชนต่อการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นไทย

 

๒๕๗๖๒๐๑     เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมขั้นสูง                                                     ๓(๓-๐)

                   Advanced Environmental Economies                                              

                   (ต้องเรียนวิชา  ๔๐๖๒๓๐๑  เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม มาก่อน)

ศึกษาหลักและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้อธิบายเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่อง มาจากการพัฒนา และการขยายตัวของประชากร บทบาทของรัฐในการป้องกันและแก้ไขสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาของการจัดการสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การตัดสินใจระหว่างการสงวนทรัพยากรกับการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

 

๓๐๑๕๒๐๑      การสื่อสารกับสิ่งแวดล้อม                                                 ()

                   Communications and  Environment                               

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารประเภทของการสื่อสาร ความสำคัญทางการศึกษาตลอดจนศึกษาบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนประเภทต่างๆ อิทธิพลและผลกระทบของการสื่อสารและสื่อมวลชนที่มีต่อการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบของการสื่อสารและสื่อมวลชนที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

 

๓๐๓๖๓๐๑     สิ่งแวดล้อมนิเทศ                                                          ๓()

                   Environmental Supervision                                                    

(ต้องเรียนรายวิชา ๔๐๖๕๗๐๕ ปัญหาและผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรายวิชา ๔๐๖๖๗๐๔ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาก่อน)

หลักการและทฤษฎีการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ จิตวิทยามวลชนการสื่อข่าว การเขียนข่าวและการเสนอข่าวรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ โดยเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร การวางแผนและการบริการประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม

 

 

๔๐๖๕๓๐๑     ปัญหาและผลกระทบสิ่งแวดล้อม                                                    ()

                   Environmental Problems and Their Effeets                                

ศึกษาแนวความคิดต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์และผลกระทบของการพัฒนาต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างและรูปแบบทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การตั้งถิ่นฐานและการจัดระบบชุมชนวิธีการป้องกันและควบคุมปัญหาที่เกิดและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการศึกษานอกสถานที่เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

 

๔๐๖๖๔๐๔     การตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม                                                       ()

                   Environmental Decision making                                            

ศึกษาทฤษฎีและหลักการเบื้องต้นในการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์พฤติกรรมการตัดสินใจของบุคคล กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมศึกษา ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อมศึกษากรณีตัวอย่าง แล้วฝึกตัดสินใจ บนพื้นฐานของทฤษฎีและหลักการที่ได้ศึกษามาแล้ว

 

๔๐๖๖๕๐๒     การบริหารงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม                                       ๓(๓ – ๐)

                   Admministration of Environmental Conservation                         

(ต้องเรียนวิชา  ๔๐๖๖๗๐๔  การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาก่อน)

หลักการและวิธีการบริหารทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อการวางแผนงานบริหารสิ่งแวดล้อม

 

๔๐๖๖๒๐๑     การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม                                        (๒ – ๓)

                   Admministration of Environmental Impacts                      

(ต้องเรียนรายวิชา ๔๐๖๕๑๐๑  วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมมาก่อน)

ศึกษาวิธีการวิเคราะห์ระบบต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมวิธีการประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาและวิธีการป้องกันและควบคุม โดยให้ออกปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง

 

แขนงวิชามลพิษสิ่งแวดล้อม

๔๐๐๖๒๐๑     เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม                                                ()

                   Power and Environmental Technology                                     

ศึกษาความสำคัญของพลังงาน แหล่งพลังงานและการถ่ายทอดพลังงานเพื่อพัฒนางานอุตสาหกรรม มลภาวะทางอุตสาหกรรม ผลกระทบของมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ อากาศ ของเสีย การแผ่รังสี แสง เสียง ฯลฯ การวัดและควบคุมมลภาวะต่างๆ

 

๔๐๑๕๕๐๑      ฟิสิกส์ของสภาวะแวดล้อม                                                         ๓(๒-๓)

                   Environmental Physics                                                         

สภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการแผ่รังสี การส่งผ่านความร้อน มวลและโมเมนตัม สมดุลของพลังงานของระบบพื้นดินและบรรยากาศ ความชื้นในสภาวะแวดล้อมความแตกต่าง ระหว่างอุณหภูมิในชนบทและในเมือง เสียงและการสั่นสะเทือน สิ่งมีชีวิตและบรรยากาศ

 

๔๐๒๕๓๐๑     สารเจือปนในอาหาร                                                               ()

                   Food Additives                                                                   

ศึกษาชนิดและวิเคราะห์สารเจือปนในอาหาร การใช้สารเจือปนในอาหารผลของสารเจือปนที่มีต่อคุณภาพและการเก็บรักษาอาหาร มีการศึกษานอกสถานที่

 

๔๐๒๕๗๐๑     สารเคมีที่เป็นพิษในสิ่งแวดล้อม                                                     ()

                   Environmental Toxic Chemicals                                              

ศึกษาและวิเคราะห์สารเคมีที่เป็นพิษในอากาศ น้ำและดิน การเกิดปฏิกิริยาและผลต่อสิ่งแวดล้อมการทดสอบสารเคมีที่เป็นพิษในสภาพแวดล้อมด้วยวิธีทางเคมีและวิธีใช้เครื่องมือวิเคราะห์ความเป็นพิษของสิ่งแวดล้อม

 

๔๐๒๖๗๐๑     เคมีอุตสาหกรรม                                                                     ()

                   Industrial Chemistry                                                            

ศึกษากระบวนการและการนำความรู้ทางเคมีสาขาต่าง ๆ ไปใช้ในกิจการอุตสาหกรรมโดยเฉพาะทางเคมีอุตสาหกรรม หน่วยปฏิบัติการในทางอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเฉพาะทางมาตรฐานสากล (ISO) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติภัย ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากอุบัติภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกิจการอุตสาหกรรม

 

๔๐๖๕๒๐๑     ภาวะมลพิษของน้ำและการควบคุม                                               ๓()

                   Water Pllution and Control                                                   

ศึกษาสาเหตุและปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการทำให้น้ำเสีย เทคนิคและแนวทางการศึกษาสิ่งเป็นพิษในน้ำและการตรวจสอบ อิทธิพลของสิ่งเป็นพิษที่มีต่อน้ำและสิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งสัณฐานและสรีรวิทยา ตลอดจนระบบนิเวศและการควบคุมป้องกันกำจัด มีการศึกษานอกสถานที่

 

 

 

 

๔๐๖๕๒๐๓     ภาวะมลพิษของดินและการควบคุม                                                ()

                   Soil  Pollution and Control                                                    

ศึกษาองค์ประกอบของดิน การเกิดดิน สิ่งเป็นพิษในดินที่มาจากวัตถุต้นกำเนิดและมาจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ สิ่งเป็นพิษที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและชีววิทยาบนดินและบทบาทของสิ่งเป็นพิษในดินต่อระบบนิเวศ

 

๔๐๖๕๒๐๓     ภาวะมลพิษของอากาศและการควบคุม                                            (

                   Air  Pollution  and control                                                    

ศึกษาธรรมชาติและการแพร่กระจายขององค์ประกอบของบรรยากาศ แหล่งที่มาของอากาศเสีย การวัด การทดสอบ การควบคุม ความสัมพันธ์และผลของภาวะมลพิษของอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิต มาตรฐานและเกณฑ์คุณภาพอากาศ

 

แขนงวิชาทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อม

๔๐๐๖๒๐๒     พลังงานทดแทน                                                                     ()

                   Renewable Energy                                                              

ศึกษาพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานคลื่นทะเล ความร้อนจากใต้พิภพ ความร้อนจากมหาสมุทร พลังงานนิวเคลียร์ เซลล์เคมี เชื้อเพลิงจากฟอสซิล เชื้อเพลิงจากชีวมวล เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจน การใช้และการประหยัดพลังงาน มีการศึกษานอกสถานที่

 

๔๐๖๕๑๐๒     ความหลากหลายทางชีวภาพ                                                      ()

                   Biodiversity                                                                       

ศึกษากำเนิดของสิ่งมีชีวิต การจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตระบบนิเวศชนิดต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ สารพันธุกรรมที่มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพความสำคัญและผลกระทบของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการนำความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพไปแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการศึกษานอกสถานที่

 

๔๐๖๕๑๐๓     กระบวนการทางนิเวศวิทยา                                                        ()

                   Ecological  Process                                                    

ศึกษาหลักการเกี่ยวกับนิเวศวิทยา ระบบนิเวศ ปัจจัยจำกัด พลังงาน วัฏจักรของสาร ประชากร ชุมชน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ การแพร่กระจาย มลพิษ และกระบวนการทางธรรมชาติที่ทำให้สิ่งมีชีวิตคงอยู่ได้แบบยังยืน ตลอดจนการกระทำของมนุษย์ที่ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล การใช้ความรู้ทางนิเวศวิทยา เพื่อการจัดทรัพยากรธรรมชาติประเทศไทยและทรัพยากรอื่น ๆ ทั่วโลกอย่างเหมาะสม

 

๔๐๖๖๔๐๑     การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดี                                                     ()

                   Land Use Planning                                                              

ศึกษาความหมายของการวางแผน กระบวนการวางแผน หลักการและการใช้ประโยชน์ที่ดินการปฏิรูปที่ดิน การประยุกต์ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ดิน แผนที่ธรณี และข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในการวางแผนการใช้ที่ดิน การประเมินผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อสิ่งแวดล้อม แนวโน้มของการวางแผนใช้ประโยชน์ที่ดินในยุคปัจจุบันและอนาคต

 

๔๐๖๖๔๐๒     การอนุรักษ์ดินและน้ำ                                                               ()

                    Soils and Water Conservation                                       

ศึกษาสาเหตุและการควบคุมการสึกกร่อนพังทลายของดิน ความสัมพันธ์ของการสึกกร่อนพังทลายของดินกับสมบัติต่างๆ ของดินลักษณะพื้นที่และปัจจัยอื่นๆ แหล่งการกระจายวัฏจักรของทรัพยากรนี้และหลักการอนุรักษ์ดินและน้ำ มีการศึกษานอกสถานที่

 

๔๐๖๖๔๐๓     ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม                                                       ()

                   Environmental Management Systems                                      

ศึกษาหลักสำคัญในการทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม การวางแผนการจัดการแบบผสมผสานการประยุกต์ปฏิบัติและดำเนินการ การตรวจและการแก้ไข การพิจารณาทบทวนโดยผู้บริหารมาตรฐานการจัดการ สิ่งแวดล้อมตามองค์การมาตรฐานสากล ISO๙๐๐๐ และ ISO๑๔๐๐๐

 

๔๐๖๖๕๐๓     หลักการจัดการสัตว์ป่า                                                              ()

          Principles of Wildlife Management                                          

ศึกษาความหมายสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าสงวน วัตถุประสงค์ของการจัดการสัตว์ป่าความสำคัญและประโยชน์ของการจัดการสัตว์ป่า ปัญหาและวิธีปฏิบัติต่อความเป็นอยู่ของสัตว์ป่านโยบายของรัฐเกี่ยวกับสัตว์ป่าเพื่อบริการสังคม

 

๔๐๖๖๕๐๔     หลักวนเกษตร                                                                       ()

                   Principles of Agroforestry                                                      

ศึกษาระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ร่วมกับการเกษตรกรรม วิวัฒนาการของพืชเกษตร สัตว์และต้นไม้ ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบอเนกประสงค์

 

 

 

. แขนงวิชาการศึกษา  

๑๐๑๕๕๐๑      การศึกษานอกระบบกับสิ่งแวดล้อมศึกษา                                           ()

                   Non-Formal Dducation and Environmental Education                   

ศึกษากระบวนการของสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยมีเป้าหมายเน้นการสร้างจิตสำนึก

 

๑๐๒๕๓๐๑      ทฤษฎีและวิธีการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา                                            ()

                   Theories  and Methods of Teaching Environmental Education        

ศึกษาหลักการและทฤษฎีการเรียนการสอน ตลอดจนจิตวิทยาพัฒนาการ การกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการสอน สื่อการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา การนำหลักการและทฤษฎีมาฝึกปฏิบัติจริง ตลอดจนการจัดแผนการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับต่าง ๆ

 

๑๐๓๖๗๐๑      แนวความคิดใหม่ทางสิ่งแวดล้อมศึกษา                                            ()

                   Innovations in Environmental Education                                    

ศึกษาแนวความคิดการจัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม และการศึกษาโครงการสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในชุมชน

 

๑๐๔๖๑๐๙      การประเมินโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา                                             ()

                   Mesurement and Evaluation For Environmental Education Projects 

ศึกษาทฤษฎี รูปแบบและวิธีการประเมินโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา การพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ การพัฒนาเครื่องมือ ฝึกประเมินโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาในชุมชน

 

๑๐๒๖๒๐๑      การออกแบบหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา             ()

                        Curriculum Designs and  Teaching-Learning Environmental Education Systems

ศึกษาแนวความคิด การจัดหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา การออกแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งระบบในโรงเรียน นอกโรงเรียนและทางไกล

 

๑๐๖๕๒๓๐     การบริหารอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม                                           ()

                   School Plant and Environmental Administration                          

ศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี ความสำคัญของอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการจัดการศึกษา หลักการวางแผนพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม การศึกษาปัญหาและการจัดทำ โครงการเพื่อพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา

๔๐๖๖๙๐๑     วิทยานิพนธ์                                                                          ๑๒ หน่วยกิต

                   Thesis                                                                              

          ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมศึกษา

 

รายวิชาเสริม

๑๕๕๕๖๐๑      ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิต                                               ๒()

                   English  for Graduate Students                                               

ฝึกทักษะด้านการฟัง พูด อ่านและเขียนบทความ รายงานการวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งศัพท์วิชาการจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

แผนการเรียน

เรียนไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต

 

ปีที่ 1

ปีที่ 2

ภาคเรียนที่ 1

ภาคเรียนที่ 1

*1555601 ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา

                บัณฑิตศึกษา                       2(1-2)

1045401  ระเบียบวิธีการวิจัย               3(3-0)

4415201  สถิติเพื่อการวิจัย                  2(2-0)

4065101  วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม       3(2-3)

4065602  ปรัชญาแวดล้อมศึกษา

                และจริยธรรม                       3(3-0)

                รวม                    11  หน่วยกิต

4066501  ทรัพยากรมนุษย์กับ 

                สิ่งแวดล้อม                         3(2-3)

4065501  ทรัพยากรศาสตร์                 3(3-0)

4066802  สัมมนาการวิจัย

                สิ่งแวดล้อมศึกษา                1(0-3)

———–   เลือก                             3 หน่วยกิต

4066901  วิทยานิพนธ์                   3 หน่วยกิต

             รวม                     13 หน่วยกิต

ภาคเรียนที่ 2

ภาคเรียนที่ 2

4065601  สิ่งแวดล้อมศึกษา                 3(2-3)

4065603  การออกแบบและการสร้าง

                โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา    3(2-3)

4065401  พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม             3(3-0)

4065801  สัมมนาสิ่งแวดล้อมศึกษา      1(0-3)

———–   เลือก                            3 หน่วยกิต

                 รวม                     13 หน่วยกิต

4066901  วิทยานิพนธ์                   9 หน่วยกิต

 

 

 

 

 

              รวม                      9 หน่วยกิต

* เป็นวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต