หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย   : ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
ภาษาอังกฤษ : Graduate Diploma Program in Teaching Profession

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย    ชื่อเต็ม : ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
           ชื่อย่อ  : ป.บัณฑิต (วิชาชีพครู)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม  : Graduate Diploma in Teaching Profession
           ชื่อย่อ  : Grad. Dip. in Teaching Profession

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
   การบูรณาการทางปัญญา สร้างคุณค่าในวิชาชีพครู ให้มีมาตรฐานสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

ความสำคัญของหลักสูตร
   หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเป็นหลักสูตรพัฒนาครูที่ไม่จบสายครูให้สามารถประกอบวิชาชีพครูด้วยทักษะที่หลากหลายอย่าง
บูรณาการทันกับการเปลี่ยนแปลง มีความรู้อย่างลึกซึ้ง กระจ่างชัดในเนื้อหาวิชาความเป็นครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู มีทักษะและจิต
ที่มุ่งมั่นในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ที่กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้และมีความสุขในการเรียน โดยอาศัยสื่อ นวัตกรรม และแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายทันสมัยสามารถเชื่อมโยง
สภาพท้องถิ่นเข้ากับมาตรฐานสากลในลักษณะสหวิทยาการมีความสนใจเสาะแสวงหาความรู้ กระตือรือร้นที่อยากเรียนรู้ และเป็นบุคคล
แห่งการเรียนรู้ที่เน้นการใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ตลอดชีวิต

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเนื้อหาวิชาความเป็นครู ที่มีความสมดุลทั้งเนื้อหาสาระ กิจกรรม และการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนให้
   เป็นครูมืออาชีพ
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน การเข้าถึง แหล่งเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพตามความแตกต่าง
   ระหว่างบุคคล
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตที่มุ่งมั่นในการเป็นครูมืออาชีพ มีความรัก ศรัทธา มีจรรยาบรรณ ในการประกอบวิชาชีพครูอย่างแท้จริง

ระบบการจัดการศึกษา

ระบบการศึกษา
    จัดการศึกษาระบบทวิภาคตามเกณฑ์มาตรฐานระดับอุดมศึกษา โดยหนึ่งภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ทั้งนี้ ให้เป็นไป
ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550
    การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการและข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 
ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550
    การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ไม่มีภาคฤดูร้อน

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรเรียนไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร
   โครงสร้างหลักสูตรมีเนื้อหาวิชาชีพครูตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา พ.ศ. 2556 ว่าด้วยสาระความรู้และสมรรถนะข้อบังคับ
มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 ดังนี้
     1) หมวดวิชาชีพครูเรียนไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต
     2) หมวดวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

รายวิชาชีพครูบังคับ

EDU0101   ความเป็นครูและคุณธรรมจริยธรรม                             3(3-0-6)
          Professional Teacher and Morality
EDU0102   ปรัชญาการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร                        3(3-0-6)
          Educational Philosophy and Curriculum Development
EDU0103   ภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครู                                3(3-0-6)
          Language and Culture for Teachers
EDU0104   จิตวิทยาสำหรับครู                                        3(2-2-5)
          Psychology of Teachers
EDU0105   การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน                         3(2-2-5)
          Learning Management and Classroom Management
EDU0106   การวัดและประเมินผลการเรียนรู้                               3(2-2-5)
          Learning Measurement and Evaluation
EDU0107   นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา                 3(2-2-5)
          Innovation and Information Technology in Education
EDU0108   การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้                                 3(2-2-5)
          Research for Learning Development
EDU0109   การประกันคุณภาพการศึกษา                                 3(2-2-5)
          Quality Assurance in Education
EDU0110   การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน                              2(0-4-2)
          Teaching Profession Practicum

รายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

EDU0201   การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1                            3(300)
          Internship in Education 1
EDU0202   การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2                            3(300)
          Internship in Education 2

คำอธิบายรายวิชา

EDU0101   ความเป็นครูและคุณธรรมจริยธรรม                          3(3-0-6)
          Professional Teacher and Morality

ความหมาย ความสำคัญ สภาพงานครูพัฒนาการของวิชาชีพครู และคุณลักษณะมาตรฐานวิชาชีพครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูและวิชาชีพครู การปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และภาระงานของครู คุณลักษณะของครูในยุคการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครูทั้งในด้านเนื้อหาวิชาที่สอน กลยุทธ์การสอนเพื่อให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ โดยการแสวงหาและเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารความรู้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม หลักธรรมาภิบาลและความซื่อสัตย์ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพครู สามารถปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่คุรุสภากำหนด การสร้างความก้าวหน้าและพัฒนาวิชาชีพครู อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างเป็นกัลยาณมิตรด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู

The meaning, significance and working condition of teaching profession and attributes of teacher standards, laws related to teachers and teaching profession. Good practice based on role and duty as teachers, teacher attributes in an era of change, knowledge management associated with teaching profession including contents, teaching strategies so that students will be able to analyze, synthesize, and creating innovations by exploring and selecting up-to-date information morally and ethically. Good governance and honesty as teachers who are able to practice following the ethics set by the Teachers’ Council. Ongoing professional advancement and development to develop learners’ potential mercifully with teachers’ spirituality.

EDU0102   ปรัชญาการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร                     3(3-0-6)
          Educational Philosophy and Curriculum Development

ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีการศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม ทฤษฎีหลักสูตร หลักการและแนวคิดในการจัดทำหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตรและนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนและกลยุทธ์การสอน การจัดทำแผนการเรียนรู้และการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง การจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน

Philosophy, concepts and educational theory, religion, economy, culture and society, curriculum theory, principles and concepts in curriculum management, curriculum development, curriculum implementation, curriculum evaluation, curriculum analysis and employing assessment to develop curriculum, Knowledgeable in contents and teaching strategies, lesson planning management and effective practice, learning management and learning environment, and enhancing lifelong development.

EDU0103   ภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครู                               3(3-0-6)
          Language and Culture for Teachers

ความสำคัญของภาษาทั้งไทยและต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมไทย การใช้ภาษา การเรียนรู้วัฒนธรรมทางภาษา การพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติงานในวิชาชีพครูได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะ และวัฒนธรรม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

Significance of both Thai and foreign languages, relationship between language and Thai culture, language usage, language culture learning, development of listening, speaking, reading, and writing skills in both Thai and foreign languages in order to use in teaching profession practice suitable for a person, situation and culture, and be able to apply in daily life peacefully.

EDU0104   จิตวิทยาสำหรับครู                                        3(2-2-5)
          Psychology of Teachers

จิตวิทยาพื้นฐาน จิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาเด็กพิเศษ จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา การใช้หลักการทางจิตวิทยามาวิเคราะห์ผู้เรียนและบริบทของผู้เรียนเพื่อวางแผน และนำไปบูรณาการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือผู้เรียน และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายใต้บริบทและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

Fundamental psychology, development psychology of human, psychology of learning, educational psychology, psychology for children with special needs, and guidance and counseling psychology. using psychological principles to analyze learners and their context in order to plan and integrate environment for learning and development, give guidance to help learners, support learners potential and quality of life under appropriate context and environment.

EDU0105   การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน                      3(2-2-5)
          Learning Management and Classroom Management

หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบูรณาการเรียนรู้แบบเรียนรวม เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และคิดแก้ปัญหา ทักษะการสอนและปฏิบัติการสอนระดับจุลภาคในสถานการณ์จำลอง การจัดการชั้นเรียน แหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ปฏิบัติการออกแบบ จัดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

Principles, concepts and learning management model, development of learner-centered management model, integration of inclusive learning, learning techniques and methods, learning management design and lesson planning management towards good practice so that learners can analyze, synthesize, solve problems. Teaching skills and micro teaching, classroom management, learning resources and learning environment, practice to design learning environment, and development of learning center within schools to support learners’ continuous learning.

EDU0106   การวัดและประเมินผลการเรียนรู้                            3(2-2-5)
          Learning Measurement and Evaluation

หลักการ แนวคิด ความสำคัญ และบทบาทของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จรรยาบรรณนักวัดและประเมินผล วิธีการและเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย การวัดและประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดและจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม สถิติและโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ คะแนนและการตีความหมาย การตัดสินระดับผลการเรียน การวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือวัด การบริหารการสอบ ระเบียบและ แนวปฏิบัติในการประเมินผลการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รวมทั้งการนำผลไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

Principles, concepts, significance and roles of assessment and evaluation of learning. Ethics of evaluators, methods and tools used to measure cognitive, affective and psychomotor domains. assessment and evaluation based on learning standards, indicators and behavioral goals. statistics and software used to assess and evaluate learning. Scores and interpretation, judgment of grade levels, analysis of measurement tool quality, exam administration, rules and guidelines for evaluating learning in basic education level. Designing and developing measurement and evaluation tools of learning including the use of the results in learner development.

EDU0107    นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา              3(2-2-5)
           Innovation and Information Technology in Education

หลักการ แนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา รูปแบบและกลยุทธ์ ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การศึกษาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ การออกแบบ การประยุกต์ใช้ การประเมิน และการปรับปรุงสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับบริบทของการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา

Principles, concepts, theory, innovations and information technology in education, analysis of the problems using innovations and information technology in education, models and strategies that promote the development of learning quality, a study of learning resources and learning networks, practicing to design, implementation, evaluation, and improvement of innovative media, information technology for communication and learning to be consistent with the context of learning management in educational institutions

EDU0108    การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้                               3(2-2-5)
           Research for Learning Development

หลักการ แนวคิด ความสำคัญ และบทบาทของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ จรรยาบรรณนักวิจัย ประเภทการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ขั้นตอนและการฝึกปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษา ได้แก่ การเลือกปัญหาการวิจัย การกำหนดจุดมุ่งหมายการวิจัย ตัวแปรและการตั้งสมมติฐาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเลือกรูปแบบการวิจัย การสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัยการนำเสนอและ การประเมินการวิจัย การประเมินงานวิจัย และการประยุกต์ใช้ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียน

Principles, concepts, significance, and role of research for learning development. code of researcher’s ethics, research categories, educational research methodology and its step and practice in educational research namely, research question, research objective, variables and hypothesis, population and sampling group, research design, research innovation development, tools and methods of data collection, research data analysis, research reports, presentations and research evaluations, research assessment and application of research results to improve teaching and learning.

EDU0109    การประกันคุณภาพการศึกษา                              3(2-2-5)
           Quality Assurance in Education

หลักการ แนวคิด ความสำคัญ และความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพการศึกษา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้บริหาร ครูและผู้เกี่ยวข้องในการประกันคุณภาพการศึกษา แนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การฝึกปฏิบัติการจัดกิจกรรมประเมินคุณภาพการศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

Principles, concepts, significance, importance and meaning of quality assurance in education principles, concepts and practices related to quality management, laws related to quality assurance in education, the quality assurance process of educational institutions, the role of teachers and administrators, the concepts and ideas for creating and developing long life learning activities and practicing how to arrange activities for quality assurance in education and learning

EDU0110    การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน                           2(0-4-2)
           Teaching Profession Practicum

การศึกษาหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาสังเกตการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อจุดประสงค์การสอนที่หลากหลาย ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การทดลองสอนในสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง การวิจัยแก้ปัญหาผู้เรียน การศึกษาแนวทางการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การออกแบบทดสอบ วัดและประเมินผลผู้เรียน การสอบภาคปฏิบัติและการให้คะแนน การวิเคราะห์ผลการการสอนเพื่อการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ โดยการกำกับดูแลของสถานศึกษา และนำเสนอผลการศึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

Study of core curriculum and school curriculum. Observation of learning management and classroom management. Lesson plans for the purposes of diverse teaching for child-centeredness. learning environment organization. Teaching experiment in simulated and real situations. research to solve students’ problems. Study of ways to construct tools of assessment and evaluation. test design, learning assessment and evaluation, practical examination and scoring. Analysis of teaching results for teaching professional development by educational institutions. Study result presentation and experience exchange.

รายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

EDU0201   การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1                           3(300)
          Internship in Education 1

การฝึกปฏิบัติการสอนและการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกในสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภา การใช้หลักสูตรและการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเอกโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบูรณาการวิธีการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อ นวัตกรรม การวัด การประเมินผลในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน การบันทึกและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การปฏิบัติงานครูด้านอื่นที่ได้รับมอบหมาย และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือแบ่งปันความรู้ในการสัมมนาการศึกษา

Practice in school following the standard of the Teacher’s Council, implementation and learning management, knowledge integration of teachers, lesson plan management in each program based on learner-centered approach, learning integration, local wisdom, teaching materials, innovations, learning measurement and evaluation in learning process, collaboration with schools, enhancing learning management, applying evaluation results to develop learning process and study research to enhance learners, record and report of learning management, developing learner activities, teachers’ duties, and exchange of knowledge between related persons of university and school

EDU0202   การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2                           3(300)
          Internship in Education 2

การฝึกปฏิบัติการสอนและการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกในสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภา การใช้หลักสูตรและการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเอกโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบูรณาการวิธีการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อ นวัตกรรม การวัด การประเมินผลในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การสัมมนาผลการเรียนรู้การปฏิบัติงานในหน้าที่ครูเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ การนำเสนอผลงานและผลการวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานศึกษา

Practice in school following the standard of the Teacher’s Council, implementation and learning management, knowledge integration of teachers, lesson plan management in each program based on learner-centered approach, learning integration, local wisdom, teaching materials, innovations, learning measurement and evaluation in learning process, collaboration with schools, enhancing learning management, applying evaluation results to develop learning process and study research to enhance learners, record and report of learning management, seminar about learning outcomes of teachers to promote teaching profession, presentation and research results under collaboration between university and schools