ชื่อหลักสูตร
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ปรัชญา
- ความรู้ทางด้านการเมืองการปกครองเป็นรากฐานของการพัฒนาสังคม ทฤษฎีทางการเมืองการปกครองควรเชื่อมโยงความคิดทางการเมืองตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกันเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและสากล
- ความสำคัญ
- หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มีความมุ่งมั่นในการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการเมืองการปกครองที่มุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาที่มีความคิดสร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับการพัฒนาภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และพัฒนาประชาธิปไตยจากฐานราก พัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาและปรัชญาของหลักสูตร
- วัตถุประสงค์
- มีความรู้ความสามารถทางรัฐศาสตร์ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ มีสมรรถนะในการคิดวิเคราะห์ด้านการเมืองการปกครองเพื่อต่อยอดและแสวงหาความรู้ใหม่ ตลอดถึงบูรณาการกับศาสตร์อื่นได้
- สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ต่อการแก้ไขปัญหาการเมืองการปกครอง ในปัจจุบันได้
- มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
คุณสมบัติผู้สมัคร
- สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ที่สภามหาวิทยาลัยให้การรับรอง และ มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์การทำงานในศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
- มีคุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร
ระบบการจัดการศึกษา
- การจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และให้มีภาคฤดูร้อนโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า8 สัปดาห์ และจัดเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาเรียนปกติ ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558
- จัดให้มีการศึกษาภาคฤดูร้อน
- การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค(ในกรณีที่มิใช่ระบบทวิภาค- ระบุรายละเอียด) เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
จัดหลักสูตรเป็น 2 แผน คือ แผน ก แบบ ก 2 ที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และ แผน ข สำหรับผู้ที่มีความสนใจการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรือการศึกษาอิสระ (Independent Study) เพื่อต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการทำงานในหน้าที่ หรือผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษตามความสนใจของตนเอง โดยมีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรแต่ละแผนการเรียนไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต โดยมีโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
- แผน ก แบบ ก 2(ทำวิทยานิพนธ์)
- หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
- 1) หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
- 2) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเสริมไม่นับหน่วยกิต 2 รายวิชา
- แผน ข(การค้นคว้าอิสระ)
- หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
- 1) หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
- 2) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเสริมไม่นับหน่วยกิต 2 รายวิชา
รายวิชาในหมวดต่างๆ
- หมวดวิชาเสริมทักษะ
- วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต
- ENG1001 ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา English for Graduate Students 3(2-2-5)
- COM1001 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา Information Technology for Graduate Students 3(2-2-5)
- วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต
- หมวดวิชาสัมพันธ์ 9 หน่วยกิต
- MPS0101 ระเบียบวิธีและเทคนิคในการวิจัยทางรัฐศาสตร์ Research Methodology in Political Science 3(2-2-5)
- MPS0102 การค้นคว้าและวิธีการศึกษารัฐศาสตร์ Approaches to Political Science 3(3-0-6)
- MPS0103 แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ International Relations 3(3-0-6)
- หมวดวิชาเฉพาะด้าน
- วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
- MPS0201 สัมมนาความคิดทางการเมืองการปกครองไทยแนววิพากษ์ Seminar in Thai Politics 3(3-0-6)
- MPS0202 พลวัตเชิงอำนาจรัฐธรรมนูญกับสถาบันทางการเมือง Constitutional and Political Institutions 3(3-0-6)
- MPS0203 การเมืองการปกครองไทยร่วมสมัย Thai Politicsand Government 3(3-0-6)
- MPS0204 ความคิดทางการเมืองไทยและตะวันออก Thai and Eastern Political Thought 3(3-0-6)
- วิชาเลือก แผน ก แบบ ก 2 6 หน่วยกิต และแผน ข 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้
- MPS0301 แนวคิดและนวัตกรรมการเมืองการปกครองท้องถิ่น Politics and Local Government 3(3-0-6)
- MPS0302 แนวคิดเศรษฐกิจการเมืองไทย Concept of Thai Political Economics 3(3-0-6)
- MPS0303 ปรัชญาและทฤษฎีการเมือง Political Philosophy and Theory 3(3-0-6)
- MPS0304 สังคมวิทยาการเมือง Political Sociology 3(3-0-6)
- MPS0305 การบริหารกิจการบ้านเมืองและเครือข่าย Governanceand Network 3(2-2-5)
- MPS0306 การเมืองของพลเมืองและการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม Politics and Civil Society 3(3-0-6)
- MPS0307 วัฒนธรรมการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง Politics Culture and Elections 3(3-0-6)
- MPS0308 การเมืองและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและการพัฒนาประเทศ Public Policy and Development 3(3-0-6)
- MPS0309 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดิจิทัลทางรัฐศาสตร์ Information of Political Science 3(3-0-6)
- MPS0310 ความปรองดองและกระบวนการยุติธรรม Reconciliation and JusticeProcess 3(3-0-6)
- MPS0311 ภูมิรัฐศาสตร์ Political Geography 3(3-0-6)
- MPS0312 แนวคิดและทฤษฎีการเมืองและการปกครองเปรียบเทียบ Comparative Politics and Government 3(3-0-6)
- วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ
- แผน ก แบบ ก 2 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
- แผน ข การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
- MPS0401 วิทยานิพนธ์ Thesis 12
- MPS0402 การค้นคว้าอิสระ Independent Study 6
คณะกรรมการประจำหลักสูตร
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง
ประธานกรรมการประจำหลักสูตรฯPh.D (Political Science)
อาจารย์ ดร.อมร หวังอัครางกูร
กรรมการประจำหลักสูตรฯปร.ด. (การบริหารกระบวนการยุติธรรม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธุวพล ทองอินทราช
กรรมการประจำหลักสูตรฯร.ด. (เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ) มหาวิทยาลัยบูรพา