ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • ภาษาอังกฤษ : Master of Education Program in Educational Administration

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
  • ชื่อย่อ : ค.ม. (การบริหารการศึกษา)
  • ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Education (Educational Administration)
  • ชื่อย่อ : M.Ed. (Educational Administration)

ปรัชญาของหลักสูตร

การบริหารการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาสถานศึกษาและองค์กรทางการศึกษาอื่น อันจะนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ ตอบสนองแนวทางในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้

  • มีความรู้และเข้าใจอย่างลุ่มลึก ในหลักการ ทฤษฎี และกระบวนการบริหาร สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ไปใช้ในการพัฒนางานและสังคมได้อย่างต่อเนื่อง
  • มีทักษะ ในการนำแนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารพร้อมด้วยหลักการและระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบททางด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
  • มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาทางการศึกษาหรือสาขาอื่น ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  2. มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังจากสำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรีนับถึงวันเปิดเรียน โดยเป็นผู้บริหารการศึกษาหรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับการ บริหารการศึกษาหรือการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษา หรือการฝึกอบรมบุคลากรทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน ทั้งนี้จะต้องมีหนังสือรับรองประสบการณ์จากผู้บังคับบัญชามาแสดงในวันสมัคร
  3. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  4. นักศึกษาเทียบโอนจากหลักสูตรอื่น ให้เป็นไปตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเรื่อง แนวปฏิบัติในการขอโอนผลการเรียนและยกเว้นการเรียนรายวิชา
  5. กรณีไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 2 และ 4 ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ระบบการจัดการศึกษา

  • จัดเป็นระบบทวิภาค โดยปีการศึกษาหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ ภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 มีระยะเวลาเรียนแต่ละภาคเรียนไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการศึกษาภาคฤดูร้อนต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยให้จัดเนื้อหาวิชา ในสัดส่วนที่สัมพันธ์กันและมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องจัดเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาเรียนในภาคเรียนปกติ และจํานวนหน่วยกิตไม่เกิน 9 หน่วยกิต
  • มีภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และคณะกรรมการบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

  • จํานวนหน่วยกิต จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรรวมไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต
  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาจัดหลักสูตรเป็น 2 แผน คือ แผน ก แบบ ก 2 และแผน ข มีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรแต่ละแผนการเรียนไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต โดยมีโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
    • แผน ก แบบ ก 2
      • 1. หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
      • 2. หมวดเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
        • 1) วิชาบังคับ 18 หน่วยกิต (รวมวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการศึกษา)
        • 2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
      • 3. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
      • 4. วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต และเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตร
    • แผน ข
      • 1. หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
      • 2. หมวดเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
        • 1) วิชาบังคับ 18 หน่วยกิต (รวมวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการศึกษา)
        • 2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
      • 3. การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
      • 4. วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต และเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตร

รายวิชาในหมวดต่าง ๆ

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต

  • รายวิชาเสริม
    • 1) นักศึกษาทั้ง แผน ก แบบ ก 2 และแผน ข จะต้องสอบผ่านความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ และการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในเกณฑ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยกําหนด กรณีความรู้ความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกําหนด จะต้องเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยไม่นับหน่วยกิต
      • ENG0101 ภาษาอังกฤษสําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา English for Graduate Students 3(2-2-5)
      • COM0102 คอมพิวเตอร์สําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา Computers for Graduate Students 3(2-2-5)
    • 2) นักศึกษาทั้งแผน ก แบบ ก 2 และแผน ข ที่ไม่เคยเรียนวิชาการศึกษามาก่อน จะต้องสอบผ่านความรู้พื้นฐานทางการศึกษาให้ได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษากําหนด กรณีสอบไม่ผ่านเกณฑ์ จะต้องเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยไม่นับหน่วยกิต
      • EDP0103 ปรัชญาการศึกษาและหลักการจัดการเรียนรู้ Educational Philosophy and Principles of Learning Management 3(3-0-6)
      • EDP0104 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา Innovation and Information Technology in Education 3(3-0-6)

หมวดวิชาสัมพันธ์ สําหรับแผน ก แบบ ก 2 และแผน ข ให้เรียน 6 หน่วยกิต ตามรายวิชาต่อไปนี้

  • ADM0201 วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา Educational Research Methodology 3(2-2-5)
  • ADM0202 บริบทและแนวโน้มทางการศึกษา Contexts and Trends in Education 3(2-2-5)

หมวดวิชาเฉพาะด้าน

  • 1) วิชาบังคับ ให้แผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข เรียน 18 หน่วยกิต ตามรายวิชาต่อไปนี้
    • ADM0301 ภาวะผู้นำและความเป็นมืออาชีพในการบริหารการศึกษา Leadership and Professionalism in Education Management 3(3-0-6)
    • ADM0302 การบริหารจัดการการศึกษาไทยในปัจจุบัน Contemporary Educational Administration in Thailand 3(3-0-6)
    • ADM0303 หลักและเทคนิคการบริหารจัดการศึกษา Primeiple and Techniques for Educational Administration and Management 3(2-2-5)
    • ADM0304 การบริหารจัดการสถานศึกษา School Management 3(2-2-5)
    • ADM0305 สัมมนาเพื่อการวิจัยทางการบริหารการศึกษา Seminar for Educational Administration Research 3(2-2-5)
    • ADM0306 การฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา Practicum in Educational Administration 3(150)
  • 2) วิชาเลือก ให้แผน ก แบบ ก 2 เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ส่วนแผน ข เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้
    • ADM0401 การจัดการและพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษา Educational Resources Management and Development 3 (2-2-5)
    • ADM0402 การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Education for National Development Based on Principle of Sufficient Economy 3(2-2-5)
    • ADM0403 การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น Education for Local Development 3(2-2-5)
    • ADM0404 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา Change and Risk Management in Education 3(2-2-5)
    • ADM0405 นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษา Educational Policy and Planning for Development 3(2-2-5)
    • ADM0406 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา Information Technology Management for Educational Administration 3(2-2-5)
    • ADM0407 การพัฒนาองค์กรทางการศึกษาแนวใหม่ The New ApproachIn Educational Organization Development 3(2-2-5)
    • ADM0408 การวิจัยและพัฒนาเพื่อการบริหารการศึกษา Research and Development for Educational Administration 3(2-2-5)
    • ADM0409 สัมมนาการบริหารการศึกษา Seminar in Educational Administration 3(2-2-5)
    • ADM0410 หลักและเทคนิคการบริหารงานวิชาการ Principle and Techniques for Academic Affairs Administration 3(2-2-5)

หมวดวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ

  • แผน ก แบบ ก 2 หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
  • ADM0501 วิทยานิพนธ์ Thesis 12

คณะกรรมการประจำหลักสูตร

ดร.ญาณิศา บุญจิตร์

ดร.ญาณิศา บุญจิตร์

ประธานกรรมการประจำหลักสูตรฯ

ค.ด. การบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.นันทพงศ์ หมิแหละหมัน

ดร.นันทพงศ์ หมิแหละหมัน

กรรมการประจำหลักสูตร

ปร.ด. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ดร.มัทนียา พงศ์สุวรรณ

ดร.มัทนียา พงศ์สุวรรณ

กรรมการประจำหลักสูตร

ปริญญาเอก