ในฐานะเป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ “บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้มาตรฐาน ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ” เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการบริหารเพื่อสนองความเลิศ โดยพัฒนาปัจจัยนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ นักศึกษา คณาจารย์ ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ที่ส่งผลผลิตซึ่งได้แก่ งานการค้นคว้าอิสระ งานวิทยานิพนธ์ และงานดุษฎีนิพนธ์ที่ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ต่อการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น สังคม และประเทศ โดยสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ประวัติความเป็นมาของบัณฑิตวิทยาลัย โดยสังเขปมีดังนี้
พ.ศ. 2519 | ก่อตั้งวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี |
พ.ศ. 2535 | เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “ราชภัฏ” |
พ.ศ. 2540 | จัดตั้งโครงการบัณฑิตศึกษาโดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน เป็นประธานโครงการและต่อมาได้จัดตั้งเป็นบัณฑิตวิทยาลัย โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล เป็นคณบดีคนแรก |
พ.ศ. 2545 | รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดีจนถึงปัจจุบัน |
พ.ศ. 2547 | โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏและทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้บัณฑิตวิทยาลัยเป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย |
พ.ศ. 2555 | ดร.พวงเพ็ญ ชูรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดี |
พ.ศ. 2559 | ดร.กฤษณี สงสวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดี |
พ.ศ. 2560 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดี และมีหลักสูตรทีเปิดใหม่ คือ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต |
พ.ศ. 2563 | มีหลักสูตรทีเปิดใหม่ คือ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง |
โดยมีหลักสูตรที่เปิดสอน ดังนี้
- ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
- ระดับปริญญาโท
- – หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- – หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน
- – หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ
- – หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
- – หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น
- – หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
- – หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
- ระดับปริญญาเอก