ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
ภาษาอังกฤษ : Master of Political Science Program in Politics and Government 2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ร.ม. (การเมืองการปกครอง)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Political Science (Politics and Government)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Pol.Sc. (Politics and Government)

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • ปรัชญา
    • ความรู้ทางด้านการเมืองการปกครองเป็นรากฐานของการพัฒนาสังคม ทฤษฎีทางการเมืองการปกครองควรเชื่อมโยงความคิดทางการเมืองตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกันเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและสากล
  • ความสำคัญ
    • หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มีความมุ่งมั่นในการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการเมืองการปกครองที่มุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาที่มีความคิดสร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับการพัฒนาภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และพัฒนาประชาธิปไตยจากฐานราก พัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาและปรัชญาของหลักสูตร
  • วัตถุประสงค์
    • มีความรู้ความสามารถทางรัฐศาสตร์ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ มีสมรรถนะในการคิดวิเคราะห์ด้านการเมืองการปกครองเพื่อต่อยอดและแสวงหาความรู้ใหม่ ตลอดถึงบูรณาการกับศาสตร์อื่นได้
    • สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ต่อการแก้ไขปัญหาการเมืองการปกครอง ในปัจจุบันได้
    • มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ที่สภามหาวิทยาลัยให้การรับรอง และ มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์การทำงานในศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
  3. มีคุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร

ระบบการจัดการศึกษา

  • การจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และให้มีภาคฤดูร้อนโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า8 สัปดาห์ และจัดเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาเรียนปกติ ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558
  • จัดให้มีการศึกษาภาคฤดูร้อน
  • การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค(ในกรณีที่มิใช่ระบบทวิภาค- ระบุรายละเอียด) เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

จัดหลักสูตรเป็น 2 แผน คือ แผน ก แบบ ก 2 ที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และ แผน ข สำหรับผู้ที่มีความสนใจการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรือการศึกษาอิสระ (Independent Study) เพื่อต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการทำงานในหน้าที่ หรือผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษตามความสนใจของตนเอง โดยมีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรแต่ละแผนการเรียนไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต โดยมีโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

  • แผน ก แบบ ก 2(ทำวิทยานิพนธ์)
    • หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
    • หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
      • 1) หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
      • 2) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
    • หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
    • หมวดวิชาเสริมไม่นับหน่วยกิต 2 รายวิชา
  • แผน ข(การค้นคว้าอิสระ)
    • หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
    • หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
      • 1) หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
      • 2) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
    • หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
    • หมวดวิชาเสริมไม่นับหน่วยกิต 2 รายวิชา

รายวิชาในหมวดต่างๆ

  • หมวดวิชาเสริมทักษะ
    • วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต
      • ENG1001 ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา English for Graduate Students 3(2-2-5)
      • COM1001 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา Information Technology for Graduate Students 3(2-2-5)
  • หมวดวิชาสัมพันธ์ 9 หน่วยกิต
    • MPS0101 ระเบียบวิธีและเทคนิคในการวิจัยทางรัฐศาสตร์ Research Methodology in Political Science 3(2-2-5)
    • MPS0102 การค้นคว้าและวิธีการศึกษารัฐศาสตร์ Approaches to Political Science 3(3-0-6)
    • MPS0103 แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ International Relations 3(3-0-6)
  • หมวดวิชาเฉพาะด้าน
    • วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
      • MPS0201 สัมมนาความคิดทางการเมืองการปกครองไทยแนววิพากษ์ Seminar in Thai Politics 3(3-0-6)
      • MPS0202 พลวัตเชิงอำนาจรัฐธรรมนูญกับสถาบันทางการเมือง Constitutional and Political Institutions 3(3-0-6)
      • MPS0203 การเมืองการปกครองไทยร่วมสมัย Thai Politicsand Government 3(3-0-6)
      • MPS0204 ความคิดทางการเมืองไทยและตะวันออก  Thai and Eastern Political Thought 3(3-0-6)
    • วิชาเลือก แผน ก แบบ ก 2 6 หน่วยกิต และแผน ข 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้
      • MPS0301 แนวคิดและนวัตกรรมการเมืองการปกครองท้องถิ่น Politics and Local Government 3(3-0-6)
      • MPS0302 แนวคิดเศรษฐกิจการเมืองไทย Concept of Thai Political Economics 3(3-0-6)
      • MPS0303 ปรัชญาและทฤษฎีการเมือง Political Philosophy and Theory 3(3-0-6)
      • MPS0304 สังคมวิทยาการเมือง Political Sociology 3(3-0-6)
      • MPS0305 การบริหารกิจการบ้านเมืองและเครือข่าย Governanceand Network 3(2-2-5)
      • MPS0306 การเมืองของพลเมืองและการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม Politics and Civil Society 3(3-0-6)
      • MPS0307 วัฒนธรรมการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง Politics Culture and Elections 3(3-0-6)
      • MPS0308 การเมืองและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและการพัฒนาประเทศ Public Policy and Development 3(3-0-6)
      • MPS0309 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดิจิทัลทางรัฐศาสตร์ Information of Political Science 3(3-0-6)
      • MPS0310 ความปรองดองและกระบวนการยุติธรรม Reconciliation and JusticeProcess 3(3-0-6)
      • MPS0311 ภูมิรัฐศาสตร์ Political Geography 3(3-0-6)
      • MPS0312 แนวคิดและทฤษฎีการเมืองและการปกครองเปรียบเทียบ Comparative Politics and Government 3(3-0-6)
  • วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ
    • แผน ก แบบ ก 2 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
    • แผน ข การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
      • MPS0401 วิทยานิพนธ์ Thesis 12
      • MPS0402 การค้นคว้าอิสระ Independent Study 6

คณะกรรมการประจำหลักสูตร

รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง

รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ เผือกคง

ประธานกรรมการประจำหลักสูตรฯ

Ph.D (Political Science)

อาจารย์ ดร.อมร หวังอัครางกูร

อาจารย์ ดร.อมร หวังอัครางกูร

กรรมการประจำหลักสูตรฯ

ปร.ด. (การบริหารกระบวนการยุติธรรม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธุวพล ทองอินทราช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธุวพล ทองอินทราช

กรรมการประจำหลักสูตรฯ

ร.ด. (เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ) มหาวิทยาลัยบูรพา