หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น
  • ภาษาอังกฤษ : Master of Art Program in Local Community Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ภาษาไทย
    • ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการชุมชนท้องถิ่น)
    • ชื่อย่อ : ศศ.ม. (การจัดการชุมชนท้องถิ่น)
  • ภาษาอังกฤษ
    • ชื่อเต็ม : Master of Art Programs in Local Community Management)
    • ชื่อย่อ : M.A.(Local Community Management))

ปรัชญา

จัดการชุมชนท้องถิ่นให้เป็นสังคมธรรมาภิบาล บนฐานของวิถีความพอเพียง

ความสำคัญ

สังคมไทยในปัจจุบันปรับเปลี่ยนตัวเองจากสังคมอยู่แบบพอเพียง มาเป็นสังคมที่มุ่งมั่น อยากอยู่แบบมั่งคั่งและร่ำรวย มีการสะสมส่วนเกินในการผลิตเพื่อขาย มุ่งแสวงหากำไรมากที่สุด และส่งเสริมการบริโภคในนามของ “การพัฒนา” รวมถึงการทำให้ทันสมัย (Modernization) ซึ่งในความเป็นจริงคุณภาพชีวิตของคนไทยมิได้ดีขึ้นจริงตามดัชนีการบริโภคและกำไรหรือตามวัตถุสิ่งของเครื่องอำนวยความสะดวกที่ล้นเหลือแต่อย่างใด การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจะดีขึ้นได้นั้น ชุมชนท้องถิ่นเองจะต้องมีแนวคิดโดยเฉพาะความเชื่อพื้นฐานในปรัชญาการพัฒนาชุมชนว่า มนุษย์ มีความสามารถ และมีพลังอันซ่อนเร้น (Potential Ability) แฝงอยู่ทั้งพลังความคิด ทักษะ แรงงาน ที่มีความสามารถพัฒนาตนเองได้ตามขีดความสามารถทางคุณภาพและคุณธรรม หากโอกาสอำนวยและผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งการอยู่กันในชุมชนสังคมมนุษย์ต้องการอยู่ด้วยความสุขกาย สบายใจและ มีความเป็นธรรม โดยชุมชนมีความสมดุลในการพัฒนา ดังนั้น การที่ชุมชนท้องถิ่นจะสามารถจัดการตนเองได้นั้น ชุมชนต้องมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของคน และชุมชนว่าสามารถจัดการตนเองได้ ด้วยการยึดหลักการพึ่งตนเองโดยให้ความสำคัญแก่สุขภาพ สวัสดิการชุมชน วัฒนธรรมพื้นเมือง การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างเมืองที่มีสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิต ให้ปลอดภัย และประชาชนสามารถอาศัยอยู่ได้อย่างสงบสุข จากสภาพและความต้องการดังกล่าวหลักสูตรการศึกษาก็มีความจำเป็นจะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาโดยปรับเปลี่ยนหลักสูตรยุทธศาสตร์การพัฒนามาเป็นหลักสูตรการจัดการชุมชนท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่เริ่มต้นจากทุนของชุมชนที่ชุมชนร่วมกันพัฒนาขึ้น โดยกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เข้าใจศักยภาพที่เป็น “ทุน” ที่แท้จริงและพบแนวทางการจัดการชุมชนท้องถิ่นบนฐานทุนทางสังคมของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ให้คนมีความสุข โดยต้องคำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อ เชื้อชาติ วัฒนธรรม ภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีภารกิจให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาตนเองและสังคมมีความพร้อมที่จะสร้างมหาบัณฑิตให้เป็นนักพัฒนาการจัดการชุมชนท้องถิ่นภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นฐานรองรับการปฏิรูปประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองต่อไป

วัตถุประสงค์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

  1. เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ มีวิสัยทัศน์ ระบบคิดและกระบวนทัศน์ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ สร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่นบนวิถีความพอเพียง
  2. มีเจตคติที่ถูกต้องต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสามารถ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ สร้างยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการจัดการชุมชนท้องถิ่นให้เป็นประชาสังคมที่เป็นรากฐานบรรลุความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนในระดับประเทศได้
  3. มีทักษะวิชาชีพที่มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกสาธารณะและธรรมาภิบาล รับใช้ชุมชนท้องถิ่นอย่างองค์รวมและบูรณาการ

ระบบการจัดการศึกษา

ระบบ

  • การจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีภาคฤดูร้อนโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์และจัดเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาเรียนปกติ

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

  • มีภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

  • เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสังคมและการพัฒนา จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สภามหาวิทยาลัยให้การรับรอง และมีคุณสมบัติ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์การทำงานในศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
  3. มีคุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการ จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 2

  1. หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
  2. หมวดเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
    • วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
  3. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
  4. วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต และเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตร

แผน ข

  1. หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
  2. หมวดเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
    • วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  3. การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
  4. วิชาเสริมทักษะ ไม่นับหน่วยกิต และเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตร

รายวิชาในหลักสูตร

หมวดวิชาเสริมทักษะ วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต

  • ENG1001 ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา 3(2-2-5) English for Graduate Students
  • COM1001 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา 3(2-2-5) Information Technology for Graduate Students

หมวดวิชาสัมพันธ์ 9 หน่วยกิต

  • MCM0101 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 3(2-2-5) Social Sciences Research Methodology for Development
  • MCM0102 แนวคิดและทฤษฎีการจัดการชุมชนท้องถิ่น 3(2-2-5) Concepts and Theories of Local Community Management
  • MCM0103 การวิเคราะห์เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง 3(3-0-6) Analysis of Economies, Society and Politics

หมวดวิชาเฉพาะด้าน

1) วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต

  • MCM0201 การวิจัยการจัดการชุมชนท้องถิ่น 3(2-2-5) Local Community Management Research
  • MCM0202 เศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา 3(3-0-6) Sufficiency Economy and The King’s Philosophy
  • MCM0203 ทฤษฎีองค์การเพื่อการจัดการทางสังคม 3(3-0-6) Organization Theories for Social Management
  • MCM0204 สัมมนาวางแผนการจัดการชุมชนท้องถิ่น 3(2-2-5) Seminar on Local Community Management Planning

2) วิชาเลือก

แผน ก แบบ ก 2 6 หน่วยกิต และ แผน ข 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้

  • MCM0301 กระบวนทัศน์เพื่อบูรณาการทางสังคม 3(3-0-6) Social Integration Paradigm
  • MCM0302 ความอยู่ดีมีสุขและความสุขมวลรวมประชาชาติ 3(3-0-6) Well-being and Gross National Happiness
  • MCM0303 การพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น 3(3-0-6) Self-Reliance of Local Communities
  • MCM0304 การบริหารจัดการสังคมตามกลุ่มช่วงอายุ 3(3-0-6) Aging Society Management
  • MCM0305 ยุทธศาสตร์และกระบวนการจัดการชุมชนท้องถิ่น 3(2-2-5) Strategy and Local Community Management Process
  • MCM0306 ประชาสังคมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น 3(3-0-6) Civil Society and Local Good Governance
  • MCM0307 ทุนทางสังคมและพหุวัฒนธรรมกับการพัฒนา 3(3-0-6) Social Capital and Multicultural Development
  • MCM0308 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6) Natural Resource and Environment Management
  • MCM0309 ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนาแบบยั่งยืน 3(3-0-6) Local Wisdom and Sustainable Development

วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ

  1. แผน ก แบบ ก 2 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
  2. แผน ข การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
    • MCM0401 วิทยานิพนธ์ 12 Thesis
    • MCM0501 การค้นคว้าอิสระ 6 Independent Study

คณะกรรมการประจำหลักสูตร

ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช

ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช

ประธานกรรมการประจำหลักสูตรฯ

Doctor of Philosophy (Ph. D.) Urban-Rural Planning National Pingtung and Landscape University of Science and Architecture Technology, Taiwan

ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด

ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด

กรรมการประจำหลักสูตรฯ

ปร.ด. (การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น)

อาจารย์ ดร.ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ

อาจารย์ ดร.ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ

กรรมการประจำหลักสูตรฯ

ศศ.ด. (พัฒนศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

You May Also Like