การจัดสรรทุนวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา

การจัดสรรทุนวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กำหนดการจัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยให้กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประจำประปีงบประมาณ 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรให้กับนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อให้การจัดสรรและพิจารณาทุนเป็นไปอย่างทั่วถึง โดยบัณฑิตวิทยาลัย จึงกำหนดรายละเอียด ดังนี้

  1. เกณฑ์การจัดสรร
    • เป็นโครงการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
    • ผู้ขอรับทุนต้องเรียนครบในรายวิชาและผ่านการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ โดยได้รับความเห็นชอบจากประธานควบคุมวิทยานิพนธ์
    • เนื้อหาสาระของงานวิจัย เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในสาขาต่าง ๆ หรือองค์ความรู้ใหม่
    • บัณฑิตวิทยาลัยจะจัดสรรทุนให้แก่ผู้ขอรับทุน โครงการละไม่เกิน 10,000.- บาท
    • ผู้ได้รับทุนจะต้องส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และเสนอบทความจากผลการวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือนำเสนอในที่ประชุมเสนอผลงานวิจัย ตามที่ ส.ก.อ. กำหนด
  2. กำหนดการจัดสรร
    • นักศึกษาที่ประสงค์จะขอรับทุน เสนอขอรับทุนพร้อมเค้าโครงวิจัย จำนวน 3 ชุด ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563
    • คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง พิจารณาจัดสรรทุน ดำเนินการพิจารณาทุนในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563
    • บัณฑิตวิทยาลัย ประกาศผู้รับจัดสรรทุน ภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563
    • ผู้สนใจติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ ณ สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  3. หัวข้อที่เสนอขอรับทุนวิจัย
    • หัวข้อที่เสนอขอรับทุนจะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้กรอบหัวข้อการวิจัยนี้

กรอบการวิจัยทุนวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา 

  1. การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาของชุมชน
  2. การพัฒนาชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  3. การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตในชุมชน พัฒนาวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
  4. การพัฒนาคนและสังคมอย่างมีคุณภาพ เช่น การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา และระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และในรูปแบบที่หลากหลาย
  5. การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนพัฒนาองค์ความรู้ปฏิรูปการเรียนรู้ และเสริมสร้างทรัพย์สินทางปัญญา
  6. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้ง การส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรโดยการพัฒนาระบบมาตรฐานทางด้านการตรวจสอบ
  7. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  8. การพัฒนาความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์เพื่อการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ
  9. การวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมด้านการอาหาร แฟชั่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟแวร์ การท่องเที่ยว สุขภาพและพลังงานทดแทน
  10. การพัฒนาศักยภาพของ SMEs และผู้ประกอบการรายใหม่ ผู้ประกอบการ SMEs ด้านการท่องเที่ยว
  11. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยาน หมู่เกาะ ภายใต้ขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ
  12. การพัฒนาระบบคุณภาพมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
  13. การวางมาตรการป้องกันปราบปรามการทุจริต และคอรัปชั่น
  14. การบริหารจัดการที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
  15. การเผยแพร่และส่งเสริมให้มีการนำศีลธรรมและคุณธรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต
  16. การส่งเสริมและพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น การคุ้มครองผู้บริโภค การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สิทธิความเป็นมนุษย์
  17. การแก้ปัญหาความยากจน/ภัยแล้ง
  18. การวิจัยเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  19. การดูแลสุขภาพ ชีวเวชศาสตร์ อนามัยเจริญพันธุ์ และผู้สูงอายุ
  20. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ภัยพิบัติ และสิ่งแวดล้อม
  21. การขนส่งและระบบโลจิสติกส์
  22. การศึกษา การพัฒนาทักษะอาชีพ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และคุณภาพชีวิต
  23. การบริหารจัดการพลังงานและสร้างพลังงานทดแทน
  24. การเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางด้านการเกษตร
  25. การพัฒนาหรือปรับปรุงกฎหมายและธรรมาภิบาล
  26. การศึกษาการพัฒนาเชิงพื้นที่และความเป็นเมือง
  27. ภูมิปัญญาของชาติ ทุนทางสังคม และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  28. การบริการ ท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์

DOWNLOAD : แบบฟอร์มข้อเสนอการสนับสนุนทุนของนักศึกษาผู้วิจัย