หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม

รายละเอียดหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565

ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
  • ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Development of Justice System

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนากระบวนการยุติธรรม)
  • ชื่อย่อ : ศศ.ม. (การพัฒนากระบวนการยุติธรรม)
  • ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Arts (Development of Justice System)
  • ชื่อย่อ : M.A. (Development of Justice System)

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • ปรัชญา
    • การผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ความสำคัญ
    • ปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ดั่งที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 กำหนดให้รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติและให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม จึงมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรม เพื่อเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม และประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยั่งยืน
  • วัตถุประสงค์ของหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนากระบวนการยุติธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
    • มีความรู้ความเข้าใจทางด้านการบริหารกระบวนการยุติธรรม
    • สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม
    • สามารถพัฒนาองค์ความรู้ในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนนำความรู้ไปใช้แก้ไขปัญหาของสังคม ท้องถิ่น และประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
    • มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำ แสดงออกถึงการเป็นผู้นำทางกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเหมาะสม

ระบบการจัดการศึกษา

  • ระบบ
    • การจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีภาคฤดูร้อนโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์และจัดเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาเรียนปกติ
  • การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
    • จัดให้มีการศึกษาภาคฤดูร้อน โดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ และจัดเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาเรียนปกติ ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
  • การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
    • เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางสังคมศาสตร์หรือสาขาอื่น ๆ ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สภามหาวิทยาลัยให้การรับรองและมีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  • มีคุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร

ระบบการศึกษา

แบบชั้นเรียนและแบบออนไลน์ ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และประกาศของมหาวิทยาลัย

การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันอุดมศึกษา

  • นักศึกษาที่เคยศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาก่อน เมื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถเทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิตได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างแผน ก แบบ ก2แผน ข
1)   หมวดวิชาสัมพันธ์  6 หน่วยกิต  6 หน่วยกิต
2)   หมวดเฉพาะด้าน18 หน่วยกิต24 หน่วยกิต
    2.1) วิชาบังคับ  9 หน่วยกิต  9 หน่วยกิต
    2.2) วิชาเลือก  9 หน่วยกิต15 หน่วยกิต
3)   วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ12 หน่วยกิต  6 หน่วยกิต
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า36 หน่วยกิต36 หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร ประกอบด้วย

  • หมวดวิชาสัมพันธ์ 6 หน่วยกิต
  • แผน ก แบบ ก 2 : 6 หน่วยกิต และแผน ข :6 หน่วยกิต ประกอบด้วย
    • MDJ0101 ทฤษฎีว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม Theories of Justice System and Law 3(3-0-6)
    • MDJ0102 ระเบียบวิธีวิจัยในกระบวนการยุติธรรม Research Methodology in Justice System 3(3-0-6)
  • หมวดวิชาเฉพาะด้าน 18 หน่วยกิต
  • 1) วิชาบังคับ แผน ก แบบ ก 2 9 หน่วยกิต และแผน ข 9 หน่วยกิต
    • MDJ0201 หลักการพัฒนากระบวนการยุติธรรมชั้นสูง Principle of Advanced Justice System 3(3-0-6)
    • MDJ0202 หลักการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและมหาชนชั้นสูง Principles of Advanced Civil and Public Justice System 3(3-0-6)
    • MDJ0203 หลักการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือกชั้นสูง 3(3-0-6) Principles of Advanced Alternative Justice Development
  • 2) วิชาเลือก แผน ก แบบ ก 2 9 หน่วยกิต และแผน ข 15 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้
    • MDJ0301 หลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 3(3-0-6) Principle of Mediation
    • MDJ0302 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมเชิงเปรียบเทียบ 3(3-0-6) Comparative Justice System Development
    • MDJ0303 นวัตกรรมทางสังคมกับกระบวนการยุติธรรม 3(3-0-6) Social Innovation and Justice System
    • MDJ0304 สัมมนาทฤษฎีอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาชั้นสูง 3(2-2-5) Seminar on Theories of Advanced Criminology and Penology
    • MDJ0305 สันติศึกษาและการขจัดความขัดแย้งในชุมชน 3(3-0-6) Peace Studies and Community Dispute Resolution
    • MDJ0306 การพัฒนาท้องถิ่นกับกระบวนการยุติธรรม 3(3-0-6) Local Development and Justice System
    • MDJ0307 นิติวิทยาศาสตร์กับความเป็นธรรมในสังคม 3(3-0-6) Forensic Science and Social Justice
    • MDJ0308 สัมมนาปัญหาในกระบวนการยุติธรรม 3(2-2-5) Seminar on Problems in Justice System
    • MDJ0309 กระบวนการยุติธรรมเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6) Justice System for Natural Resource and Environmental Management
    • MDJ0310 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมเพื่อการเกษตร 3(3-0-6) Development of Justice System for Agriculture
    • MDJ0311 การพัฒนากระบวนการยุติธรรมเพื่อการศึกษา 3(3-0-6) Development of Justice System for Education
    • MDJ0312 สิทธิมนุษยชนกับกระบวนการยุติธรรม 3(3-0-6) Human Rights and Justice System
    • MDJ0313 กระบวนการยุติธรรมทางปกครองเปรียบเทียบ 3(3-0-6) Comparative Administrative Justice System
    • MDJ0314 สัมมนาศึกษาดูงาน 3(2-2-5) Seminar
    • MDJ0315 สัมมนาปัญหากระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน 3(2-2-5) Problem Seminar on Juvenile Justice System
    • MDJ0316 สัมมนาการพัฒนากระบวนการยุติธรรมกลุ่มเปราะบาง 3(2-2-5) Problem Seminar on Development of Vulnerable Groups Justice System
    • MDJ0317 สัมมนาการพัฒนาสภาพบังคับทางอาญา 3(2-2-5) Problem Seminar on Criminal Sanction Development
  • วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
  • 1) แผน ก แบบ ก 2 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
  • 2) แผน ข การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
    • MDJ0401 วิทยานิพนธ์ 12 Thesis
    • MDJ0402 การค้นคว้าอิสระ 6 Independent Study

คณะกรรมการประจำหลักสูตร

รองศาสตราจารย์ ดร.อัคคกร ไชยพงษ์

รองศาสตราจารย์ ดร.อัคคกร ไชยพงษ์

ประธานกรรมการประจำหลักสูตรฯ

ปร.ด. (อาชญาวิทยาบริหารงานยุติธรรมและสังคม) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

รองศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง

รองศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง

กรรมการประจำหลักสูตร

น.ม. (กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูภณัช รัตนชัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูภณัช รัตนชัย

กรรมการประจำหลักสูตร

พธ.ด. (สันติศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย