การประชุมวิชาการนานาชาติและนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 57

การประชุมวิชาการนานาชาติและนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 57

จากการสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการสนับสนุนการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ Yunnan Normal University เพื่อก่อให้เกิดการขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการในระดับบัณฑิตศึกษาระหว่างสองมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาและอาจารย์ ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวิจัย และการพัฒนาหลักสูตร การมุ่งยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก โดยเฉพาะความร่วมมือหลายภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตลอดจนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อสนับสนุนประเทศในการดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ตามความต้องการ จนสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ รวมไปถึงความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น การร่วมกันจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

ซึ่งนำไปสู่การสร้างความร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท) และที่ประชุมคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทคบร) ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการนานาชาติและนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 57 (The International and 57th National Graduate Research Conference) ภายใต้หัวข้อ CO-TOPIA and Research for Sustainable Development in Digital Transformation Era “COTOPIA กับการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล) ระหว่างวันที่ 14 – 15 กันยายน 2566 ณ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นเวทีสำหรับ คณาจารย์ นักวิจัย วิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้นำเสนอผลการวิจัยสู่สาธารณะ ตลอดจนเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายด้านการวิจัย และนำไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับ คณาจารย์ นักวิจัย วิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้นำเสนอผลการวิจัยสู่สาธารณะ และเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายด้านการวิจัย และนำไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล สอดคล้องตามเป้าหมายในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดหุ้นส่วนความร่วมมือหลายภาคส่วนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีที่ไม่เพียงแต่จะเกิดประโยชน์ในด้านวิชาการเท่านั้น หากแต่ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง