หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • ภาษาอังกฤษ : Master of Education Program in Educational Administration

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
  • ชื่อย่อ : ค.ม. (การบริหารการศึกษา)
  • ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Education (Educational Administration)
  • ชื่อย่อ : M.Ed. (Educational Administration)

ปรัชญาของหลักสูตร

การบริหารการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาสถานศึกษาและองค์กรทางการศึกษาอื่น อันจะนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ ตอบสนองแนวทางในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้

  • มีความรู้และเข้าใจอย่างลุ่มลึก ในหลักการ ทฤษฎี และกระบวนการบริหาร สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ไปใช้ในการพัฒนางานและสังคมได้อย่างต่อเนื่อง
  • มีทักษะ ในการนำแนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารพร้อมด้วยหลักการและระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบททางด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
  • มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาทางการศึกษาหรือสาขาอื่น ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  2. มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังจากสำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรีนับถึงวันเปิดเรียน โดยเป็นผู้บริหารการศึกษาหรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับการ บริหารการศึกษาหรือการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษา หรือการฝึกอบรมบุคลากรทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน ทั้งนี้จะต้องมีหนังสือรับรองประสบการณ์จากผู้บังคับบัญชามาแสดงในวันสมัคร
  3. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  4. นักศึกษาเทียบโอนจากหลักสูตรอื่น ให้เป็นไปตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเรื่อง แนวปฏิบัติในการขอโอนผลการเรียนและยกเว้นการเรียนรายวิชา
  5. กรณีไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 2 และ 4 ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ระบบการจัดการศึกษา

  • จัดเป็นระบบทวิภาค โดยปีการศึกษาหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ ภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 มีระยะเวลาเรียนแต่ละภาคเรียนไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการศึกษาภาคฤดูร้อนต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยให้จัดเนื้อหาวิชา ในสัดส่วนที่สัมพันธ์กันและมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องจัดเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาเรียนในภาคเรียนปกติ และจํานวนหน่วยกิตไม่เกิน 9 หน่วยกิต
  • มีภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และคณะกรรมการบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

  • จํานวนหน่วยกิต จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรรวมไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต
  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาจัดหลักสูตรเป็น 2 แผน คือ แผน ก แบบ ก 2 และแผน ข มีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรแต่ละแผนการเรียนไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต โดยมีโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
    • แผน ก แบบ ก 2
      • 1. หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
      • 2. หมวดเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
        • 1) วิชาบังคับ 18 หน่วยกิต (รวมวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการศึกษา)
        • 2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
      • 3. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
      • 4. วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต และเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตร
    • แผน ข
      • 1. หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
      • 2. หมวดเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
        • 1) วิชาบังคับ 18 หน่วยกิต (รวมวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการศึกษา)
        • 2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
      • 3. การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
      • 4. วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต และเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตร

รายวิชาในหมวดต่าง ๆ

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต

  • รายวิชาเสริม
    • 1) นักศึกษาทั้ง แผน ก แบบ ก 2 และแผน ข จะต้องสอบผ่านความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ และการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในเกณฑ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยกําหนด กรณีความรู้ความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกําหนด จะต้องเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยไม่นับหน่วยกิต
      • ENG0101 ภาษาอังกฤษสําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา English for Graduate Students 3(2-2-5)
      • COM0102 คอมพิวเตอร์สําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา Computers for Graduate Students 3(2-2-5)
    • 2) นักศึกษาทั้งแผน ก แบบ ก 2 และแผน ข ที่ไม่เคยเรียนวิชาการศึกษามาก่อน จะต้องสอบผ่านความรู้พื้นฐานทางการศึกษาให้ได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษากําหนด กรณีสอบไม่ผ่านเกณฑ์ จะต้องเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยไม่นับหน่วยกิต
      • EDP0103 ปรัชญาการศึกษาและหลักการจัดการเรียนรู้ Educational Philosophy and Principles of Learning Management 3(3-0-6)
      • EDP0104 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา Innovation and Information Technology in Education 3(3-0-6)

หมวดวิชาสัมพันธ์ สําหรับแผน ก แบบ ก 2 และแผน ข ให้เรียน 6 หน่วยกิต ตามรายวิชาต่อไปนี้

  • ADM0201 วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา Educational Research Methodology 3(2-2-5)
  • ADM0202 บริบทและแนวโน้มทางการศึกษา Contexts and Trends in Education 3(2-2-5)

หมวดวิชาเฉพาะด้าน

  • 1) วิชาบังคับ ให้แผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข เรียน 18 หน่วยกิต ตามรายวิชาต่อไปนี้
    • ADM0301 ภาวะผู้นำและความเป็นมืออาชีพในการบริหารการศึกษา Leadership and Professionalism in Education Management 3(3-0-6)
    • ADM0302 การบริหารจัดการการศึกษาไทยในปัจจุบัน Contemporary Educational Administration in Thailand 3(3-0-6)
    • ADM0303 หลักและเทคนิคการบริหารจัดการศึกษา Primeiple and Techniques for Educational Administration and Management 3(2-2-5)
    • ADM0304 การบริหารจัดการสถานศึกษา School Management 3(2-2-5)
    • ADM0305 สัมมนาเพื่อการวิจัยทางการบริหารการศึกษา Seminar for Educational Administration Research 3(2-2-5)
    • ADM0306 การฝึกปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา Practicum in Educational Administration 3(150)
  • 2) วิชาเลือก ให้แผน ก แบบ ก 2 เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ส่วนแผน ข เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้
    • ADM0401 การจัดการและพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษา Educational Resources Management and Development 3 (2-2-5)
    • ADM0402 การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Education for National Development Based on Principle of Sufficient Economy 3(2-2-5)
    • ADM0403 การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น Education for Local Development 3(2-2-5)
    • ADM0404 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา Change and Risk Management in Education 3(2-2-5)
    • ADM0405 นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษา Educational Policy and Planning for Development 3(2-2-5)
    • ADM0406 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา Information Technology Management for Educational Administration 3(2-2-5)
    • ADM0407 การพัฒนาองค์กรทางการศึกษาแนวใหม่ The New ApproachIn Educational Organization Development 3(2-2-5)
    • ADM0408 การวิจัยและพัฒนาเพื่อการบริหารการศึกษา Research and Development for Educational Administration 3(2-2-5)
    • ADM0409 สัมมนาการบริหารการศึกษา Seminar in Educational Administration 3(2-2-5)
    • ADM0410 หลักและเทคนิคการบริหารงานวิชาการ Principle and Techniques for Academic Affairs Administration 3(2-2-5)

หมวดวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ

  • แผน ก แบบ ก 2 หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
  • ADM0501 วิทยานิพนธ์ Thesis 12

คณะกรรมการประจำหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ญาณิศา บุญจิตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ญาณิศา บุญจิตร์

ประธานกรรมการประจำหลักสูตรฯ

ค.ด. การบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.นันทพงศ์ หมิแหละหมัน

ดร.นันทพงศ์ หมิแหละหมัน

กรรมการประจำหลักสูตร

ปร.ด. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

รองศาสตราจารย์ ดร.อนุ เจริญวงศ์ระยับ

รองศาสตราจารย์ ดร.อนุ เจริญวงศ์ระยับ

กรรมการประจำหลักสูตร

วท.ด. การวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ