หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น
  • ภาษาอังกฤษ : Master of Art Program in Local Community Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ภาษาไทย
    • ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการชุมชนท้องถิ่น)
    • ชื่อย่อ : ศศ.ม. (การจัดการชุมชนท้องถิ่น)
  • ภาษาอังกฤษ
    • ชื่อเต็ม : Master of Art Programs in Local Community Management)
    • ชื่อย่อ : M.A.(Local Community Management))

ปรัชญา

จัดการชุมชนท้องถิ่นให้เป็นสังคมธรรมาภิบาล บนฐานของวิถีความพอเพียง

ความสำคัญ

สังคมไทยในปัจจุบันปรับเปลี่ยนตัวเองจากสังคมอยู่แบบพอเพียง มาเป็นสังคมที่มุ่งมั่น อยากอยู่แบบมั่งคั่งและร่ำรวย มีการสะสมส่วนเกินในการผลิตเพื่อขาย มุ่งแสวงหากำไรมากที่สุด และส่งเสริมการบริโภคในนามของ “การพัฒนา” รวมถึงการทำให้ทันสมัย (Modernization) ซึ่งในความเป็นจริงคุณภาพชีวิตของคนไทยมิได้ดีขึ้นจริงตามดัชนีการบริโภคและกำไรหรือตามวัตถุสิ่งของเครื่องอำนวยความสะดวกที่ล้นเหลือแต่อย่างใด การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจะดีขึ้นได้นั้น ชุมชนท้องถิ่นเองจะต้องมีแนวคิดโดยเฉพาะความเชื่อพื้นฐานในปรัชญาการพัฒนาชุมชนว่า มนุษย์ มีความสามารถ และมีพลังอันซ่อนเร้น (Potential Ability) แฝงอยู่ทั้งพลังความคิด ทักษะ แรงงาน ที่มีความสามารถพัฒนาตนเองได้ตามขีดความสามารถทางคุณภาพและคุณธรรม หากโอกาสอำนวยและผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งการอยู่กันในชุมชนสังคมมนุษย์ต้องการอยู่ด้วยความสุขกาย สบายใจและ มีความเป็นธรรม โดยชุมชนมีความสมดุลในการพัฒนา ดังนั้น การที่ชุมชนท้องถิ่นจะสามารถจัดการตนเองได้นั้น ชุมชนต้องมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของคน และชุมชนว่าสามารถจัดการตนเองได้ ด้วยการยึดหลักการพึ่งตนเองโดยให้ความสำคัญแก่สุขภาพ สวัสดิการชุมชน วัฒนธรรมพื้นเมือง การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างเมืองที่มีสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิต ให้ปลอดภัย และประชาชนสามารถอาศัยอยู่ได้อย่างสงบสุข จากสภาพและความต้องการดังกล่าวหลักสูตรการศึกษาก็มีความจำเป็นจะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาโดยปรับเปลี่ยนหลักสูตรยุทธศาสตร์การพัฒนามาเป็นหลักสูตรการจัดการชุมชนท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่เริ่มต้นจากทุนของชุมชนที่ชุมชนร่วมกันพัฒนาขึ้น โดยกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เข้าใจศักยภาพที่เป็น “ทุน” ที่แท้จริงและพบแนวทางการจัดการชุมชนท้องถิ่นบนฐานทุนทางสังคมของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ให้คนมีความสุข โดยต้องคำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อ เชื้อชาติ วัฒนธรรม ภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีภารกิจให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาตนเองและสังคมมีความพร้อมที่จะสร้างมหาบัณฑิตให้เป็นนักพัฒนาการจัดการชุมชนท้องถิ่นภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นฐานรองรับการปฏิรูปประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองต่อไป

วัตถุประสงค์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

  1. เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ มีวิสัยทัศน์ ระบบคิดและกระบวนทัศน์ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ สร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่นบนวิถีความพอเพียง
  2. มีเจตคติที่ถูกต้องต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสามารถ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ สร้างยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการจัดการชุมชนท้องถิ่นให้เป็นประชาสังคมที่เป็นรากฐานบรรลุความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนในระดับประเทศได้
  3. มีทักษะวิชาชีพที่มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกสาธารณะและธรรมาภิบาล รับใช้ชุมชนท้องถิ่นอย่างองค์รวมและบูรณาการ

ระบบการจัดการศึกษา

ระบบ

  • การจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีภาคฤดูร้อนโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์และจัดเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาเรียนปกติ

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

  • มีภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

  • เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสังคมและการพัฒนา จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สภามหาวิทยาลัยให้การรับรอง และมีคุณสมบัติ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์การทำงานในศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
  3. มีคุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการ จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 2

  1. หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
  2. หมวดเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
    • วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
  3. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
  4. วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต และเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตร

แผน ข

  1. หมวดวิชาสัมพันธ์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
  2. หมวดเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
    • วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  3. การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
  4. วิชาเสริมทักษะ ไม่นับหน่วยกิต และเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตร

รายวิชาในหลักสูตร

หมวดวิชาเสริมทักษะ วิชาเสริม ไม่นับหน่วยกิต

  • ENG1001 ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา 3(2-2-5) English for Graduate Students
  • COM1001 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา 3(2-2-5) Information Technology for Graduate Students

หมวดวิชาสัมพันธ์ 9 หน่วยกิต

  • MCM0101 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 3(2-2-5) Social Sciences Research Methodology for Development
  • MCM0102 แนวคิดและทฤษฎีการจัดการชุมชนท้องถิ่น 3(2-2-5) Concepts and Theories of Local Community Management
  • MCM0103 การวิเคราะห์เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง 3(3-0-6) Analysis of Economies, Society and Politics

หมวดวิชาเฉพาะด้าน

1) วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต

  • MCM0201 การวิจัยการจัดการชุมชนท้องถิ่น 3(2-2-5) Local Community Management Research
  • MCM0202 เศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา 3(3-0-6) Sufficiency Economy and The King’s Philosophy
  • MCM0203 ทฤษฎีองค์การเพื่อการจัดการทางสังคม 3(3-0-6) Organization Theories for Social Management
  • MCM0204 สัมมนาวางแผนการจัดการชุมชนท้องถิ่น 3(2-2-5) Seminar on Local Community Management Planning

2) วิชาเลือก

แผน ก แบบ ก 2 6 หน่วยกิต และ แผน ข 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้

  • MCM0301 กระบวนทัศน์เพื่อบูรณาการทางสังคม 3(3-0-6) Social Integration Paradigm
  • MCM0302 ความอยู่ดีมีสุขและความสุขมวลรวมประชาชาติ 3(3-0-6) Well-being and Gross National Happiness
  • MCM0303 การพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น 3(3-0-6) Self-Reliance of Local Communities
  • MCM0304 การบริหารจัดการสังคมตามกลุ่มช่วงอายุ 3(3-0-6) Aging Society Management
  • MCM0305 ยุทธศาสตร์และกระบวนการจัดการชุมชนท้องถิ่น 3(2-2-5) Strategy and Local Community Management Process
  • MCM0306 ประชาสังคมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น 3(3-0-6) Civil Society and Local Good Governance
  • MCM0307 ทุนทางสังคมและพหุวัฒนธรรมกับการพัฒนา 3(3-0-6) Social Capital and Multicultural Development
  • MCM0308 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6) Natural Resource and Environment Management
  • MCM0309 ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนาแบบยั่งยืน 3(3-0-6) Local Wisdom and Sustainable Development

วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ

  1. แผน ก แบบ ก 2 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
  2. แผน ข การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
    • MCM0401 วิทยานิพนธ์ 12 Thesis
    • MCM0501 การค้นคว้าอิสระ 6 Independent Study

คณะกรรมการประจำหลักสูตร

ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช

ผศ.ดร.นรา พงษ์พานิช

ประธานกรรมการประจำหลักสูตรฯ

Doctor of Philosophy (Ph. D.) Urban-Rural Planning National Pingtung and Landscape University of Science and Architecture Technology, Taiwan

ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด

ผศ.ดร.เสน่ห์ บุญกำเนิด

กรรมการประจำหลักสูตรฯ

ปร.ด. (การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น)

อาจารย์ ดร.ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ

อาจารย์ ดร.ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ

กรรมการประจำหลักสูตรฯ

ศศ.ด. (พัฒนศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น