ITA : โครงการเสวนาบัณฑิตศึกษากับการบูรณาการองค์ความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

รายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

หน่วยงาน : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี


ประเด็น/เรื่อง : โครงการเสวนาบัณฑิตศึกษากับการบูรณาการองค์ความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม :  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม กำนันตำบลท่าข้าม สารวัตกำนันตำบลท่าข้าม ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม หัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม หัวหน้างานพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ผู้แทนประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าข้าม รวมจำนวนผู้มีส่วนร่วมจากบุคคลภายนอกจำนวน 15 คน

กิจกรรมการมีส่วนร่วม :

       การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบท สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นในพื้นที่ตำบลท่าข้าม ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพัฒนาระบบการบูรณาการงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาผ่านการค้นหาโจทย์วิจัยในการพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระของนักศึกษาร่วมกับผู้บริหาร บุคลากร ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าข้ามให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ผลจากการมีส่วนร่วม

       บัณฑิตวิทยาลัยดำเนินการสังเคราะห์ประเด็นที่ได้จากการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลท่าข้ามออกมาเป็นโจทย์วิจัยสำหรับการพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระของนักศึกษา เช่น ความต้องการองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการจัดการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขยายโอกาสในการศึกษาของกลุ่มเด็กปฐมวัย ความต้องการองค์ความรู้และนวัตกรรม ในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ความต้องการองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาระบบบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนความต้องการองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาการบริหารและขยายตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักบ้านบางท่าข้าม นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามยังมีแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาพื้นที่และการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชน ที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาเพี่อถอดบทเรียนความสำเร็จด้านนวัตกรรมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยได้ดำเนินการขยายผลจากองค์ความรู้ดังกล่าวไปยังหลักสูตรและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการพัฒนาโจทย์วิจัยที่สอดคล้องกับประเด็นข้างต้นต่อไป

การนำผลการมีส่วนร่วมไปพัฒนา/ปรับปรุงการดำเนินงาน :

       1. บัณฑิตวิทยาลัยขยายผลให้หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษามีการบูรณาการองค์ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบท สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นของชุมชนท้องถิ่น

       2. บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดประเด็นเป็นโจทย์การวิจัยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการจัดทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

       3. บัณฑิตวิทยาลัยดำเนินการพัฒนาหลักสูตร Upskills Reskills และ Newskills ที่ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เอกสารประกอบการดำเนินงาน :


ผู้รายงาน : …อาจารย์..ดร.อมร  หวังอัครางกูร………… ตำแหน่ง : ..รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย…………

วัน/เดือน/ปี : ..8 เมษายน 2568………