หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ
ชื่อหลักสูตรและสาขา
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการ
และงานอาชีพ
ภาษาอังกฤษ Master of Education in Teaching English for Academic and
Occupational Purposes
ชื่อปริญญา
ชื่อภาษาไทย ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ)
ค.ม. (การสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ)
ชื่อภาษาอังกฤษ Master of Education (Teaching English for Academic and
Occupational Purposes)
M.Ed. (Teaching English for Academic and Occupational Purposes)
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
โดยความเชื่อพื้นฐานว่าภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารที่สามารถพัฒนาวิชาการและงานอาชีพควบคู่กันไป บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้พัฒนาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ ให้เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาและยกระดับการสอนภาษาอังกฤษ รวมทั้งทักษะการสอนและการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการประกอบวิชาชีพให้แก่บุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรในสถานประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ให้มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ตลอดจนให้มีความสามารถทางการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนให้เข้มแข็งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๑. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางการสอนภาษาอังกฤษฯ ในมิติใหม่ให้สามารถพัฒนาผู้เรียนโดยผสมผสาน ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเข้าด้วยกัน
๒. เพื่อพัฒนาคุณภาพ ศักยภาพและวิทยฐานะของครูและบุคลากรในสถานประกอบการให้เป็นผู้ที่มีความรู้ สามารถนำทักษะและความรู้ไปใช้จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
๓. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
๔. เพื่อสร้างจิตสำนึกของความเป็นครูในการสอนภาษาอังกฤษในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และขีดความสามารถในการประกอบอาชีพในระดับสากล
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา
๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาภาษาอังกฤษหรือการสอนภาษาอังกฤษหรือภาษาอังกฤษธุรกิจหรือสาขาอื่นๆ ที่ ก.พ. รับรองมาตรฐานการศึกษาและตามที่คณะกรรมการหลักสูตรพิจารณาคุณสมบัติให้ความเห็นชอบ
๒. ผ่านการทดสอบตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
๑. การวัดพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ
๒. การสัมภาษณ์
๓. การพิจารณาคุณสมบัติ
ระบบการศึกษา
๑. จัดการเรียนการสอนแบบทวิภาค ๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ภาคการศึกษาปกติ และ ๑ ภาคฤดูร้อน ซึ่งแต่ละภาคการศึกษาใช้เวลาศึกษาประมาณ ๑๖ สัปดาห์
๒. ใช้เวลาการศึกษาหลักสูตรนี้เป็นระยะเวลา ๒ ปีการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาระยะเวลาการศึกษา ๒ ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน ๕ ปีการศึกษา
การลงทะเบียน
ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างของหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพหน่วยกิตรวม ๓๙ หน่วยกิต แบ่งเป็น ๒ แผน
แผนก (๒) |
แผนข |
||
หน่วยกิตบังคับ |
๒๑ หน่วยกิต |
หน่วยกิตบังคับ |
๒๑ หน่วยกิต |
วิชาเลือก |
๖ หน่วยกิต |
วิชาเลือก |
๑๒ หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ |
๑๒ หน่วยกิต |
ภาคนิพนธ์ |
๖ หน่วยกิต |
การจัดการศึกษาของแผนก (๒)
จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต
๑. หมวดวิชาเฉพาะด้าน
๑.๑ บังคับ ๒๑ หน่วยกิต
๑๑๐๑๑๐๑ สารัตถะทางการศึกษา ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๐๒ แนวโน้มและนวัตกรรมทางการศึกษา ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๐๓ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๐๔ หลักการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๐๕ การพัฒนาและออกแบบหลักสูตรภาษาอังกฤษในบริบทของท้องถิ่น ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๐๖ ระเบียบวิธีวิจัยในการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๐๗ สัมมนาการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๑.๒ เลือก ๖ หน่วยกิต
๑๑๐๑๑๐๘ การทดสอบและการประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๐๙ ลักษณะของภาษาอังกฤษ ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๑๐ การจัดการการเรียนรู้ภาษาที่สอง ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๑๒ การออกแบบใช้สื่อการสอนและการประยุกต์ดัดแปลง ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๑๓ ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเฉพาะ ๑ ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๑๔ ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเฉพาะ ๒ ๓(๓-๐-๖)
๑.๓ วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
๑๑๐๑๑๑๙ วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
การจัดการศึกษาของแผน ข
จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต
๑. หมวดวิชาเฉพาะด้าน
๑.๑ บังคับ ๒๑ หน่วยกิต
๑๑๐๑๑๐๑ สารัตถะทางการศึกษา ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๐๒ แนวโน้มและนวัตกรรมทางการศึกษา ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๐๓ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๐๔ หลักการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๐๕ การพัฒนาและออกแบบหลักสูตรภาษาอังกฤษในบริบทของท้องถิ่น ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๐๖ ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษาภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๐๗ สัมมนาการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๑.๒ เลือก ๑๒ หน่วยกิต
๑๑๐๑๑๐๘ การทดสอบและการประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๐๙ ลักษณะของภาษาอังกฤษ ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๑๐ การจัดการการเรียนรู้ภาษาที่สอง ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๑๑ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๑๒ การออกแบบใช้สื่อการสอนและการประยุกต์ดัดแปลง ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๑๑๓ ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเฉพาะ ๑ ๓(๓-๐-๖)
๑๑๐๑๑๑๔ ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเฉพาะ ๒ ๓(๓-๐-๖)
๑.๓ ภาคนิพนธ์ ๖ หน่วยกิต
๑๑๐๑๑๒๐ ภาคนิพนธ์ ๖ หน่วยกิต
หมวดวิชาเสริมไม่นับหน่วยกิต (ใช้เรียนทุกแผน)
๑๑๐๑๑๑๘ การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อสมรรถนะทางวิชาการและงานอาชีพ ๓(๒-๒-๕)
๑๑๐๑๒๐๒ สถิติและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยด้านภาษา ๓(๒-๒-๕)
คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
๑๐๑๑๑๐๑ สารัตถะทางการศึกษา ๓(๓-๐-๖)
Educational Foundations
ศึกษาและอภิปรายสารัตถะทางการศึกษารูปแบบต่างๆ ตามแนวปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีในการสอน ยุทธวิธีการสอน การศึกษาเชิงมนุษยนิยม รูปแบบการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งเนื้อหาที่สำคัญและเกี่ยวข้องอื่นๆ ด้านสารัตถะทางการศึกษา นักศึกษาจะต้องสามารถสะท้อนความคิดความเข้าใจ ของตนออกมาในรูปของโครงการเชิงหลักการ และการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าได้ดี
This course explores in depth and discusses a variety of educational foundations in termsofthephilosophyof education, educational psychology, learning theories, instructional technologies, teaching strategies, humanistic education, learner-centered approaches, and relevant topics of significance to educational foundations. The evidence of the students’ strong knowledge on educational foundations is expected to reflect in the students’ concept papers and their presentations.
๑๐๑๑๑๐๒ แนวโน้มและนวัตกรรมทางการศึกษา ๓(๓-๐-๖)
Trends and Innovations in Education
ศึกษาแนวโน้มและนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างกว้างขวางจากแหล่งต่างๆ หลักการศึกษาปัจจุบัน ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ ระเบียบวิธีและเทคนิคที่สามารถปรับใช้กับวิธี การเรียนการสอนภาษาอังกฤษปัจจุบัน และกระแสแนวโน้มที่มีอิทธิพลในการสอนภาษาอังกฤษ สำรวจและวิเคราะห์เชิงลึกแนวโน้มใหม่ๆ ของทั่วโลก ในด้านวิธีการสอน ยุทธวิธีและวิธีการ การใช้หลักภาษาศาสตร์ จิตวิทยาการศึกษาและหลักวิธีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นักศึกษาจะได้รับการประเมินความคิดเชิงนวัตกรรมและจินตนาการ ในการอภิปรายและนำเสนอผลงาน
This course explores widely through various sources: current educational principles, linguistic theories, methodology and techniques applicable to the existing educational endeavor, and the emerging influential trends in English Language Teaching (ELT). Students examine and analyze in depth new trends in global education in terms of teaching methods, strategies and approaches, utilizing linguistics, educational psychology and other relevant disciplines. Innovative ideas and imagination will be expected in students’ discussions and presentations.
๑๑๐๑๑๐๓ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ ๓(๓-๐-๖)
Applied Linguistics
ศึกษาทฤษฎี หลักการ และแนวคิดทางภาษาศาสตร์ การศึกษาเสียง ระบบเสียงคำ หน่วยคำ โครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ รวมทั้งการวิเคราะห์ภาษาในระดับปริเฉท นำหลักการต่างๆ ทางภาษาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยเน้นศึกษาเจาะลึกประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ศึกษา การใช้ภาษาในบริบทจริงของสังคม โดยเชื่อมโยงโครงสร้าง และจุดประสงค์ของภาษาในรูปแบบต่างๆ
This course examines theories, principles and concepts about linguistics, phonetics and phonology, morphology, syntax and discourse analysis, and applies the principles of linguistics to the study and teaching of English by emphasizing each individual issue. It also investigates how language is used in real life’s socio-cultural contexts by looking, in particular, at the structures and purposes of the different text types and genres.
๑๑๐๑๑๐๔ หลักการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
Principles of English Language Teaching
ศึกษาหลักการสอนทักษะการเรียนรู้ภาษาด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน นำหลักการสอนดังกล่าวไปปฏิบัติจริง โดยเน้นฝึกปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร วางแผน การสอน และนำแผนการสอนไปใช้ เทคนิคยุทธวิธีการสอน และการประเมินผล
This course highlights the principles and practice of English Language Teaching pertinent to the teaching of listening, pronunciation and speaking, reading, and writing. The course deals with both theory and practice with emphasis on practical matters such as curriculum development, teaching planning and implementation, strategic teaching techniques and evaluation.
๑๑๐๑๑๐๕ การพัฒนาและออกแบบหลักสูตรภาษาอังกฤษในบริบทของท้องถิ่น ๓(๒-๒-๕)
Language Curriculum Designs and Development in Local Context
ศึกษาการสอนภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียนในหลักสูตรหลากหลาย ทั้งหลักสูตรเกี่ยวกับการท่องเที่ยว พลศึกษา ศิลปศึกษา สังคมศึกษาและอื่นๆ โดยศึกษาทฤษฎีหลักสูตรภาษาอังกฤษ การออกแบบและการประเมินผลหลักสูตรภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาและความต้องการของผู้เรียน ศึกษาหลักสูตรประเภทต่างๆ และเครื่องมือประเมินผล การเรียนรู้ เพื่อออกแบบหลักสูตรที่มีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ตั้งเป้าหมาย จุดประสงค์ ขอบข่ายและลำดับขั้นตอน พัฒนาเอกสารการสอนและการประเมินหลักสูตรภาษาอังกฤษในบริบทของท้องถิ่น
This course deals with the teaching of English to students majoring in the various curriculum areas such as Tourism, Physical Education, Arts, Social Studies and others stipulated by the Ministry of Education, local authority and schools. Students examine theories and methods of curriculum design and evaluation by taking educational reform and students’ needs into considerations. They explore a variety forms of curriculum and assessment tools appropriate for English language learning contexts to design the curriculum plans aimed at local community development. Students also articulate goals and objectives, develop a scope and sequence, and develop materials and assessment activities for the local curricular unit.
๑๑๐๑๑๐๖ ระเบียบวิธีวิจัยในการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
Research Methodology in English Language Teaching
ศึกษาทฤษฎีหลัก และการปฏิบัติทางการวิจัย เน้นประเภทของการวิจัยทั้ง เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ รวมทั้งการทำวิจัยชั้นเรียน ฝึกออกแบบการวิจัย การตั้งคำถามการวิจัย การเขียนสมมติฐาน การสร้างเครื่องมือ ฝึกปฏิบัติการเขียนโครงร่างการวิจัย เก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ ศึกษารูปแบบและวิธีการเขียนรายงานการวิจัย เน้นให้ผู้เรียนศึกษางานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษ และนำหัวข้อที่สนใจไปปรึกษากับผู้สอน
This course familiarizes students with major theoretical issues and practical concerns in quantitative and qualitative research studies and focus on types of research typically conducted in English Language Learning and Teaching. The course also examines research activities such as drawing research design, writing research questions, forming hypothesis, developing data collection instruments, writing a research proposal, analyzing and describing data using basic statistics, and reporting in the form and style of research reports. Students are required to extensively read research related to current development in theory and practice in English Language Teaching (ELT) and hold discussions with instructors on issues relating to their research studies.
๑๑๐๑๑๐๗ สัมมนาการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
Seminar in English Language Teaching
ศึกษาและอภิปรายประเด็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เช่น การฝึกสอน ระบบโรงเรียน การจัดการการเรียนภาษาอังกฤษ ประสิทธิภาพของครูสอนภาษาอังกฤษ และการสอนโดยครูสอนภาษาอังกฤษเจ้าของภาษากับครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นคนไทย ทั้งนี้ เน้นการนำสัมมนาโดยนักศึกษาเอง เพื่อสะท้อนประสบการณ์วิชาชีพทั้งทั่วไปและ ลงลึกเฉพาะด้าน ให้ทุกฝ่ายที่เข้าร่วมสัมมนา ทั้งนักศึกษาและผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้มีส่วนคัดสรรหัวข้อหรือประเด็นการสัมมนา สนับสนุนให้นักศึกษากลุ่มย่อยเลือกสรรประเด็น นำมาพูดคุย สัมมนากัน ก่อนนำเสนอในกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นเรียน และให้มีการสัมมนา ๑ วัน ในหัวข้อที่เหมาะสมและหลากหลายด้านการสอนภาษาอังกฤษ
This seminar is an avenue for students to discuss issues of importance to them and the profession of English Language Teaching (ELT). The discussions focuses on areas important and related to the ELT practitioners, e.g. teacher training, types of school systems, management of ELT, English teachers’ language proficiency, and native vs. non-native teachers of English. The students-led seminar is to allow students to reflect their professional experiences in general as well as any particular and in-depth aspect of experiences. Students, with the view of the audience, perform in a group deciding relevant topics in the seminar for discussion of their own. Students form an informal group working on issues of English Language Teaching and present them in a student organized conference at least for a day to the whole group.
๑๑๐๑๑๐๘ การทดสอบและการประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๓-๐-๖)
Testing and Assessments in English Language Teaching
ศึกษาทฤษฎีการวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้ทางภาษาอังกฤษ แนวโน้มปัจจุบันในการวัดและประเมินผลทางด้านภาษาตามสภาพจริงที่เน้นกระบวนการวัดผลและทดสอบที่มีความเที่ยงตรงสัมพันธ์กับทักษะเป้าหมาย การหาคุณภาพเครื่องมือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการทดสอบทางภาษา ผลกระทบของการประเมินผลทางภาษาที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จรรยาบรรณของการใช้แบบทดสอบทางภาษา จุดมุ่งหมายของการประเมินผลทางภาษา ศึกษาหลักการทดสอบทางภาษา กรอบมาตรฐาน และนโยบาย ตลอดจนการปฏิบัติการประเมินผลอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาทักษะการออกแบบมีการวางแผนให้สอดคล้องกับโครงการสอนในรายวิชาและตำราเรียน รวมทั้งได้ทดลองใช้และวิเคราะห์เครื่องมือประเมินผลในบริบทวิชาชีพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
This course explores current theories in language testing and authentic learning assessment with an emphasis on its validation, advances in language testing technology, the impact of various language assessment practices on language teaching and learning, and the ethics of language test use. Students are introduced to the various purposes of language assessment and to the essential principles required for critically evaluating language tests, standard-based frameworks and a range of other assessment policies and practices. They are also given opportunities to develop skills in designing, trialing and analyzing assessment instruments for use in professional contexts.
๑๑๐๑๑๐๙ ลักษณะของภาษาอังกฤษ ๓(๓-๐-๖)
Structure of the English Language
ศึกษารูปแบบของเสียง คำและการสร้างคำ ไวยากรณ์ ระบบการแสดงความคิดสื่อสารและความหลากหลายเชิงภาษา สำรวจธรรมชาติและนำความรู้ความเข้าใจด้านระเบียบวิธี เชิงวิชาชีพ ลักษณะสำคัญและจำเป็นในภาษาอังกฤษมาใช้ในการเรียนการสอนได้
This course focuses on the regular patterns and systems of the sounds, words and word formation process, grammar, discourse of English and language variations and variability. It examines the nature as well as the pedagogical and professional applications of the important features of the English Language in language teaching and learning.
๑๑๐๑๑๑๐ การจัดการการเรียนรู้ภาษาที่สอง ๓(๒-๒-๕)
Second Language Acquisition
ศึกษางานวิจัยปัจจุบันด้านการเรียนรู้ภาษาที่สอง และทำความเข้าใจกับแนวโน้มในการทำวิจัยเรื่องการเรียนของผู้เรียนภาษา กระบวนการเรียนรู้ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ภาษา และบริบทในการใช้ภาษา ทฤษฎีและขั้นตอนในการเรียนรู้ภาษาที่สอง ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้และการรับรู้ภาษาที่สอง รวมถึงอิทธิพลของการเรียนรู้ที่มีต่อการรับรู้ภาษาที่สอง อภิปรายผลกระทบในด้านการสอน
This course introduces students to current research in Second Language Acquisition (SLA), and familiarizes them with the prominent research trends in the study of the language learner, the process of acquisition, and the interaction among the learner, language and context. This course examines the theories and stages of second language acquisition. It also explores the relationship between acquisition and learning as well as the influence of the latter on the former or vice versa. Pedagogical implications are discussed.
๑๑๐๑๑๑๑ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
Technology in English Language Teaching
ศึกษาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิผล ออกแบบและพัฒนาสื่อสำหรับใช้กับการสอนภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป เทคโนโลยีระบบเครือข่าย แบบเรียนด้วยตนเองแบบออนไลน์ และอินเตอร์เน็ท ศึกษาปัญหา แนวโน้ม และการประเมินการใช้โปรแกรมสร้างบทเรียนช่วยสอน
This course focuses on the applications of Information Computer Technology (ICT) to support English Language Teaching and Learning. Students design and develop instructional materials for teaching English using computers, ready-made programs, multimedia software, online tutorial lessons, and the Internet. They will also study problems, trends and evaluations of Computer Assisted Instruction (CAI).
๑๑๐๑๑๑๒ การออกแบบใช้สื่อการสอนและการประยุกต์ดัดแปลง ๓(๒-๒-๕)
Material Design, Selection and Adaptation
ศึกษาทฤษฎีและการปฏิบัติในการสร้าง และพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การเลือกและประยุกต์สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ศึกษาแนวคิดสำคัญ และเกณฑ์ในการประเมิน การเลือก และการประยุกต์ใช้สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
This course deals with the theoretical and practical aspects related to English Language Teaching (ELT) materials’ development, selection and adaptation. Students study major issues and criteria used in analyzing, evaluating, selecting and adapting of English Language Teaching (ELT) materials for use in the language classroom.
๑๑๐๑๑๑๓ ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเฉพาะ ๑ ๓(๓-๐-๖)
English for Specific Purpose 1
ศึกษาและพัฒนารายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับวิชาชีพเฉพาะของผู้เรียน ศึกษาพัฒนาการของภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเฉพาะ อภิปรายหลักการและเทคนิคพื้นฐานที่ใช้ในการออกแบบรายวิชา และนำไปใช้ในรูปแบบของแผนการสอน เอกสารประกอบการสอน วิธีการสอน และการประเมินเพื่อการเฉพาะ รวมทั้งการตรวจสอบบทบาทของครูผู้สอน
This course describes ways to develop courses to fit the needs of learners with specific goals. It traces the development of English for Specific Purposes (ESP), discusses the basic principles and techniques in course design, and elaborates on the practical applications of the course in the form of syllabus, materials, methodology and assessment for specific purposes. The course also examines the roles of the teachers and their teaching of the English for Specific Purposes (ESP).
๑๑๐๑๑๑๔ ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเฉพาะ ๒ ๓(๓-๐-๖)
English for Specific Purpose 2
ศึกษาและพัฒนารายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับวิชาชีพเฉพาะของผู้เรียน ศึกษาพัฒนาการของภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเฉพาะ ในระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้นกว่าภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพเฉพาะ ๑ อภิปรายหลักการและเทคนิคขั้นสูงที่ใช้ในการออกแบบรายวิชา และนำไปใช้ในรูปแบบของแผนการสอน เอกสารประกอบการสอน วิธีการสอนและการประเมินเพื่อการเฉพาะ
This course describes educational theories, principles and ways to develop courses to fit the needs of learners with more specific goals in higher level of study. It discusses the more complex principles and techniques in course design, and emphasizes the practical applications of the course in the form of syllabus, materials, methodology and assessment for specific purposes.
๑๑๐๑๑๑๘ การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ๓(๒-๒-๕)
Thesis Proposal Writing
ศึกษาและพัฒนาการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือภาคนิพนธ์ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการตรวจสอบแง่มุมต่างๆ ของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยผ่านการเห็นชอบภายใต้การพิจารณาควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
This course encourages students to develop knowledge and skills to write a proposal on an approved topic which examines an aspect of the English language instruction, and the students perform their writing tasks under the supervision of faculty advisors
๑๑๐๑๑๑๙ วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
Thesis
ศึกษาวิจัยด้านการสอนภาษาอังกฤษในหัวข้อเรื่องที่นักศึกษามีความสนใจและมีความรอบรู้ โดยผ่านการเห็นชอบภายใต้การพิจารณาควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
This research study is conducted by each student based on his/her interest and knowledge under the supervision of faculty advisors.
๑๑๐๑๑๒๐ ภาคนิพนธ์ ๖ หน่วยกิต
Master Study Paper
ศึกษาวิจัยในทำนองเดียวกับการทำวิทยานิพนธ์ เพียงแต่กำหนดกรอบและขอบเขตการศึกษา ให้แคบหรือเล็กลงมีความเฉพาะกว่า เช่น ศึกษาในกลุ่มเล็กกว่าหรือเฉพาะกรณี ทั้งนี้จะต้องคงไว้ซึ่งระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยตามปกติทั่วไป
This Master study paper is conducted with the particularly narrowed scope, carried out in a smaller group using case study or set up a small topic to study. The required study procedure must remain as scientifically reliable and valid as specified procedure of conducting thesis.
๑๑๐๑๒๐๑ ภาษาอังกฤษเพื่อสมรรถนะทางวิชาการและงานอาชีพ ๓(๒-๒-๓)
English for Academic and Occupational Proficiency
ศึกษาและพัฒนาทักษะภาษาทุกด้าน ทั้งการฝึกฝนและการนำมาใช้ทั้งทางวิชาการและการงานอาชีพ โดยการสนับสนุนให้นักศึกษาค้นคว้า ตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของสื่อต่างๆ ทั้งสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการนำมาฝึกและใช้ภาษาให้สามารถใช้งานในทางปฏิบัติได้ในระดับสากล
This course is specially designed for twinning of language ability training and practical application, academically and occupationally, in all skills. Students are encouraged to assess all possible resources available in prints and/or electronics, and make use of these resource supplies to suit each individual need to be fluent in English at the international communication level.
๑๑๐๑๒๐๒ สถิติและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยด้านภาษา ๓(๒-๒-๕)
Statistics and Software Application for Language Research
ศึกษาหลักการและกระบวนการสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง (สถิติเชิงอนุมาน) ที่ใช้กับงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การใช้สถิติเพื่อความเหมาะสมแก่งานวิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรต่างๆ เช่น เทคนิคตารางไขว้ (Cross-tab) ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ไคสแควร์** (Chi-square) การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และ การวิเคราะห์จำแนกประเภท ฯลฯ รวมทั้งเทคนิคอื่นๆ ที่เหมาะสมแก่งานวิจัยทางภาษา
This course surveys the principles and process of descriptive statistics and inference statistics used in quantitative and qualitative research studies. Also, the course examines and appraises any appropriate and practical applications of statistics to analyze variable data such as Cross-tab, Correlation, Chi-square, ANOVA, ANCOVA, MANOVA, etc and other statistical techniques suitably used in language research.
แผนการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร
แผน ก (2)
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1011101 |
สารัตถะทางการศึกษา |
3(3-0-6) |
1101103 |
ภาษาศาสตร์ประยุกต์ |
3(3-0-6) |
1101104 |
หลักการสอนภาษาอังกฤษ |
3(2-2-5) |
1101201 |
ภาษาอังกฤษเพื่อสมรรถนะทางวิชาการและงานอาชีพ* |
3(2-2-5) |
หมายเหตุ : * เรียนเสริมโดยไม่นับหน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1021102 |
แนวโน้มและนวัตกรรมทางการศึกษา |
3(3-0-6) |
1101106 |
ระเบียบวิธีวิจัยในการสอนภาษาอังกฤษ |
3(2-2-5) |
1101105 |
การพัฒนาและออกแบบหลักสูตรภาษาอังกฤษในบริบทของท้องถิ่น |
3(2-2-5) |
1101202 |
สถิติและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยด้านภาษา * |
3(2-2-5) |
หมายเหตุ : * เรียนเสริมโดยไม่นับหน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1101108 |
สัมมนาการสอนภาษาอังกฤษ |
3(2-2-5) |
1101118 |
การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์* |
3(2-2-5) |
หมายเหตุ : * เรียนเสริมโดยไม่นับหน่วยกิต
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1101109 |
ลักษณะของภาษาอังกฤษ |
3(3-0-6) |
1101110 |
การจัดการการเรียนรู้ภาษาที่สอง |
3(2-2-5) |
1101120 |
วิทยานิพนธ์ |
6 |
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1101120 |
วิทยานิพนธ์ |
6 |
แผน ข
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1011101 |
สารัตถะทางการศึกษา |
3(3-0-6) |
1101103 |
ภาษาศาสตร์ประยุกต์ |
3(3-0-6) |
1101104 |
หลักการสอนภาษาอังกฤษ |
3(2-2-5) |
1101201 |
ภาษาอังกฤษเพื่อสมรรถนะทางวิชาการและงานอาชีพ* |
3(2-2-5) |
หมายเหตุ : * เรียนเสริมโดยไม่นับหน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1021102 |
แนวโน้มและนวัตกรรมทางการศึกษา |
3(3-0-6) |
1101106 |
ระเบียบวิธีวิจัยในการสอนภาษาอังกฤษ |
3(2-2-5) |
1101105 |
การพัฒนาและออกแบบหลักสูตรภาษาอังกฤษในบริบทของท้องถิ่น |
3(2-2-5) |
1101109 |
ลักษณะของภาษาอังกฤษ |
3(3-0-6) |
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1101107 |
สัมมนาการสอนภาษาอังกฤษ |
3(2-2-5) |
1101202 |
สถิติและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยด้านภาษา* |
3(2-2-5) |
หมายเหตุ : * เรียนเสริมโดยไม่นับหน่วยกิต
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1101111 |
เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ |
3(2-2-5) |
1101110 |
การจัดการเรียนรู้ภาษาที่สอง |
3(2-2-5) |
1101112 |
การออกแบบใช้สื่อการสอนและการประยุกต์ดัดแปลง |
3(2-2-5) |
1101118 |
การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์* |
3(2-2-5) |
หมายเหตุ : * เรียนเสริมโดยไม่นับหน่วยกิต
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
1101120 |
ภาคนิพนธ์ |
6 |