หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ชื่อหลักสูตรและสาขา

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ภาษาอังกฤษ : Master of Public Administration Program in Public Administration

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)

(ชื่อย่อ) : รป.. (รัฐประศาสนศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Master of Public Administration (Public Administration)

(ชื่อย่อ) : M.P.A.(Public Administration)

ได้รับการรับรองคุณวุฒิ : ๒๕๕๖

ปรัชญาและวัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร

มหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์มีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำทางสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิต ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

๑. มีความรู้ ความสามารถ และวิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์การบริหารรัฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

๒. มีความสามารถในด้านวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสภาพสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม

๓. มีจิตสำนึกที่จะดำเนินการบริหารรัฐกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และมีความเข้าใจในปัญหาสังคมอย่างแท้จริง

๔. มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารรัฐกิจได้อย่างเหมาะสม

๕. มีคุณธรรม จริยธรรม ในการทำงานและการประกอบวิชาชีพ

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันที่ สกอ. หรือ ก.พ. รับรอง

๒. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ หรือคณะกรรมการประจำหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา

๓. มีประสบการณ์การทำงานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๒ ปี หรือคณะกรรมการประจำหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา

 

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

ให้ดำเนินการตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งอาจกระทำโดยการสอบคัดเลือกการคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือโดยวิธีอื่นที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร

ระบบการศึกษา

๑. การจัดการศึกษา

ระบบทวิภาค โดย ๑ ภาคการศึกษาเรียนไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์

๒. ระยะเวลาศึกษา

การศึกษามีระยะเวลา ๒ ปีการศึกษาแบบเข้าชั้นเรียนต่อเนื่อง สามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายใน ๒ ปีการศึกษา แต่ต้องไม่เกิน ๕ ปีการศึกษา โดยให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

. การลงทะเบียนเรียน

เพื่อให้สอดคล้องตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔.๒ ซึ่งเน้นกระบวนการวิจัยเพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างอิสระ รวมทั้งสามารถสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ จึงกำหนดหน่วยกิตและแผนการเรียน ซึ่งมีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต แยกเป็นแผน ก(๒) เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย แบ่งเป็นหมวดวิชาเฉพาะด้าน ๑๕หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต หมวดวิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต และแผน ข แบ่งเป็นหมวดวิชาเฉพาะด้าน ๑๕ หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า ๑๘ หน่วยกิต หมวดภาคนิพนธ์๖ หน่วยกิตโดยทั้งสองแผนการเรียนจะต้องเรียนหมวดวิชาเสริม (ไม่นับหน่วยกิต๒ วิชา)

 

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

๑. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการศึกษา

การวัดผลการศึกษาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการประเมินผลการเรียนโดยใช้ระบบการให้คะแนนการเรียนรายวิชา

 

 

๒. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

แผน ก เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กําหนดในหลักสูตรจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการปกป้องจากการสอบปากเปล่า ขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดําเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่ได้มาตรฐาน

แผน ข เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กําหนดในหลักสูตรจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ด้วยข้อเขียนหรือสอบปากเปล่า เสนอผลการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก

 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร กลุ่มวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration)

หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต แบ่งเป็น ๒ แผน

แผน ก(๒) เป็นการศึกษาเชิงลึกทั้งทางด้านวิชาการ และการแสวงหาความรู้ด้านการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาภาคทฤษฎีและประสบการณ์จากการทำงาน แล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามหลักวิธีวิจัย

วิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต

วิชาเลือก หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต

แผน ข เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อแสวงหาความรู้ด้านการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชน จากกรณีศึกษาในงานที่ปฏิบัติ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการศึกษาตามหลักวิธีวิจัย

วิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต

วิชาเลือก ๑๕ หน่วยกิต

การค้นคว้าอิสระ หน่วยกิต

การจัดการศึกษาของแผน ก (๒) จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต

แผน ก

วิชาบังคับ บังคับเรียนไม่น้อยกว่า ๑๘ หน่วยกิต

รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต

PAM๐๑๐๑ ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ ๓(๓๖)

Public Administration Theory

PAM๐๑๐๒ พฤติกรรมองค์การและการจัดการสมัยใหม่ ๓(๓-๐-๖)

Organizational Behavior and Modern Management

รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต

PAM๐๑๐๓ การจัดการทุนมนุษย์ ๓(๓-๐-๖)

Human Capital Management

PAM๐๑๐๔ การคลังและงบประมาณสมัยใหม่ ()

Modern Fiscal and Budgeting

PAM๐๑๐๕ ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ๓(๓๖)

Research Methodology in Public Administration

PAM๐๑๐๖ การสัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ๓(๒-๒-๕)

Seminarin Public Administration

 

วิชาเลือก เลือกเรียนไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต

PAM๐๒๐๑ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ๓(๓-๐-๖)

Public Policy Analysis

PAM๐๒๐๒ การบริหารการพัฒนา ๓()

Development Administration

PAM๐๒๐๓ กฎหมายมหาชนเพื่อการบริหารงานภาครัฐ๓(๓-๐-๖)

Public Law for Public Administration

PAM๐๒๐๔ การจัดการโครงการ ๓(๓-๐-๖)

Project Management

PAM๐๒๐๕ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ๓(๓-๐-๖)

Environmental Management

PAM๐๒๐๖ การจัดการระบบสารสนเทศ ๓(๓-๐-๖)

Management of Information System

PAM๐๒๐๗ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย ๓(๓-๐-๖)

Thai Political Economy and Society

PAM๐๒๐๘ ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ๓(๓-๐-๖)

Leadership and Changing Innovation in Globalization

PAM๐๒๐๙ แรงงานสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖)

labour Relations

PAM๐๒๑๐ ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประชาคมอาเซียน ๓(๓-๐-๖)

Political Economy and Society System in ASEAN Community

 

 

รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต

PAM๐๒๑๑ การบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ ๓(๓-๐-๖)

Crisis Management

PAM๐๒๑๒ ธรรมาภิบาลในการบริหารภาครัฐ ๓()

Good Governance in Public Administration

วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต

PAM๐๔๐๑ วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต

Thesis

 

แผน ข

วิชาบังคับ บังคับเรียนไม่น้อยกว่า ๑๘ หน่วยกิต

รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต

PAM๐๑๐๑ ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ ๓(๓๖)

Public Administration Theory

PAM๐๑๐๒ พฤติกรรมองค์การและการจัดการสมัยใหม่ ๓(๓-๐-๖)

Organizational Behavior and Modern Management

PAM๐๑๐๓ การจัดการทุนมนุษย์ ๓(๓-๐-๖)

Human Capital Management

PAM๐๑๐๔ การคลังและงบประมาณสมัยใหม่ ()

Modern Fiscal and Budgeting

PAM๐๑๐๕ ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ๓(๓๖)

Research Methodology in Public Administration

PAM๐๑๐๖ การสัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ๓(๒-๒-๕)

Seminarin Public Administration

 

วิชาเลือก เลือกเรียนไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต

PAM๐๒๐๑ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ๓(๓-๐-๖)

Public Policy Analysis

PAM๐๒๐๒ การบริหารการพัฒนา ๓()

Development Administration

PAM๐๒๐๓ กฎหมายมหาชนเพื่อการบริหารงานภาครัฐ๓(๓-๐-๖)

Public Law for Public Administration

 

รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต

PAM๐๒๐๔ การจัดการโครงการ ๓(๓-๐-๖)

Project Management

PAM๐๒๐๕ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ๓(๓-๐-๖)

Environmental Management

PAM๐๒๐๖ การจัดการระบบสารสนเทศ ๓(๓-๐-๖)

Management of Information System

PAM๐๒๐๗ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย ๓(๓-๐-๖)

Thai Political Economy and Society

PAM๐๒๐๘ ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ๓(๓-๐-๖)

Leadership and Changing Innovation in Globalization

PAM๐๒๐๙ แรงงานสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖)

labour Relations

PAM๐๒๑๐ ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประชาคมอาเซียน ๓(๓-๐-๖)

Political Economy and Society System in ASEAN Community

PAM๐๒๑๑ การบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ ๓(๓-๐-๖)

Crisis Management

PAM๐๒๑๒ ธรรมาภิบาลในการบริหารภาครัฐ ๓()

Good Governance in Public Administration

การค้นคว้าอิสระ ๖ หน่วยกิต

PAM๐๔๐๒ การค้นคว้าอิสระ ๖ หน่วยกิต

Independent Studies

 

หมวดวิชาเสริมไม่นับหน่วยกิต (ใช้เรียนทุกแผน)

รหัส ชื่อวิชา หน่วยกิต

ENG๑๐๐๑ ภาษาอังกฤษสําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ๓(๒-๒-๕)

English for Graduate Students

COM๑๐๐๑ คอมพิวเตอร์สําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ๓(๒-๒-๕)

Computer for Graduate Students

 

คำอธิบายรายวิชา

 

กลุ่มวิชาบังคับ

รหัส คำอธิบายรายวิชา ()

PAM๐๑๐๑ ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ ๓()

Public Administration Theory

ความหมาย ความสำคัญ ขอบข่าย วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ในแต่ละยุคสมัย พฤติกรรมองค์การ นโยบายสาธารณะ การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย และแนวโน้มกระบวนการทางรัฐประศาสนศาสตร์ในอนาคต

 

PAM๐๑๐๒ พฤติกรรมองค์การและการจัดการสมัยใหม่ ๓(๓-๐-๖)

Organizational Behavior and Modern Management

แนวคิด ความหมาย ความสำคัญ บทบาทและหน้าที่ ประเภทและรูปแบบขององค์การ วัฏจักรและชีวิตขององค์การ การศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมองค์การและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เทคนิคและวิธีการจัดการสมัยใหม่

 

PAM๐๑๐๓ การจัดการทุนมนุษย์ ๓(๓-๐-๖)

Human Capital Management

<spanแนวคิด และหลักการในการจัดการทุนมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ขององค์การและกลยุทธ์การจัดการทุนมนุษย์ ภารกิจและกระบวนการทุนมนุษย์ การจัดหา การให้รางวัล การพัฒนา การรักษาและป้องกัน การเพิ่มมูลค่าทุนมนุษย์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพองค์การสมัยใหม่

 

PAM๐๑๐๔ การคลังและงบประมาณสมัยใหม่ ๓(๓-๐-๖)

Modern Fiscal and Budgeting

แนวคิด หลักการ การจัดการการคลังสาธารณะ กระบวนการงบประมาณ การจัดทำงบประมาณสมัยใหม่ เทคนิคการวิเคราะห์ การประเมินผลงบประมาณ ความสัมพันธ์ระหว่างระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองกับการคลังและงบประมาณ

 

PAM๐๑๐๕ ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ๓(๒-๒-๕)

Research Methodology in Public Administration

หลักการและกระบวนการวิจัย จริยธรรมของนักวิจัย รูปแบบและประเภทของการวิจัย การกำหนดหัวข้อวิจัย ปัญหาการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ การทบทวนวรรณกรรม การกำหนด ตัวแปร การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการวิจัย การสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ ที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผลการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย

 

PAM๐๑๐๖ การสัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ๓(๒-๒-๕)

Seminarin Public Administration

สัมมนาการบริหารองค์กร การวิเคราะห์ การบูรณาการระหว่าง การบริหารภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม

 

กลุ่มวิชาเลือก

PAM๐๒๐๑ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ๓(๓-๐-๖)

Public Policy Analysis

แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ตัวแบบที่ใช้ในการศึกษานโยบายสาธารณะ กระบวนการและขั้นตอนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ตัวแบบในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

 

PAM๐๒๐๒ การบริหารการพัฒนา ๓(๓-๐-๖)

Development Administration

วิเคราะห์นโยบายและแผนการบริหารการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

PAM๐๒๐๓ กฎหมายมหาชนเพื่อการบริหารงานภาครัฐ ()

Public Law for Public Administration

หลักการ แนวคิด และทฤษฎีทางกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภาครัฐ โครงสร้างและระบบของกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภาครัฐ ความรับผิดชอบของรัฐในการบริหาร ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะกฎหมายปกครองของประเทศต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนในระดับต่าง ๆ

 

PAM๐๒๐๔ การจัดการโครงการ ()

Project Management

แนวคิด หลักการเกี่ยวกับการจัดการ การจัดทำโครงการ ลักษณะทั่วไปของโครงการรูปแบบของโครงการ การจัดการโครงการ การนำสู่การปฏิบัติ และการวิจัยประเมินผลโครงการ

PAM๐๒๐๕ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ๓(๓-๐-๖)

Environmental Management

แนวคิด เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์และกระบวนการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน กลไกในการป้องกัน การควบคุม และการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม โดยใช้กรณีศึกษาปัญหาความขัดแย้งในการจัดการสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เป็นตัวอย่างในการศึกษาวิเคราะห์

 

PAM๐๒๐๖ การจัดการระบบสารสนเทศ ๓(๓-๐-๖)

Management of Information System

หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ กระบวนการและเทคโนโลยีสารสนเทศ การปรับแต่งข้อมูลให้เป็นข่าวสาร ระบบข้อมูลข่าวสารสำหรับการบริหาร การจัดเก็บข้อมูล การสร้างฐานข้อมูล การนำสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร ระบบเครือข่าย ใช้ความรู้ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องสำหรับการบริหาร สารสนเทศเพื่อการจัดการภายในองค์การและการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์การภาครัฐ

 

PAM๐๒๐๗ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย ๓(๓-๐-๖)

Thai Political Economy and Society

ความหมาย ขอบข่ายของระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมไทย ระเบียบวิธีการศึกษาางสังคม การเมือง การปกครองของไทย วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจ สังคมการเมืองในยุคปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต และผลกระทบต่อสังคมไทย

 

PAM๐๒๐๘ ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ๓(๓-๐-๖)

Leadership and Changing Innovation in Globalization

แนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ ทฤษฎีภาวะผู้นำ บทบาทของผู้นำที่มีต่อความสำเร็จในการบริหารองค์กร การใช้ภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสมาชิก การสร้างผู้นำทางการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

 

PAM๐๒๐๙ แรงงานสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖)

labour Relations

วิวัฒนาการและความเป็นมาของแรงงานไทยและนานาชาติ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน องค์การลูกจ้าง องค์การนายจ้าง และบทบาทของรัฐ แรงงานสัมพันธ์พื้นฐาน ข้อพิพาทแรงงาน การเจรจาต่อรอง การบริหารแรงงานสัมพันธ์ และสิทธิมนุษยชน ปัญหาแรงงานไทย การปรับตัวและพัฒนาแรงงานไทยเพื่อรองรับเขตการค้าเสรีอาเซียน

 

PAM๐๒๐๑๐ ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประชาคมอาเซียน ๓(๓-๐-๖)

Political Economy and Society System in ASEAN Community

วิวัฒนาการ และความเป็นมาของประชาคมอาเซียน ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประชาคมอาเซียน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประชาคมอาเซียน ความร่วมมือในการรักษาสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค รวมทั้งศึกษาความร่วมมือกับประเทศนอกกลุ่มประชาคมอาเซียน

 

PAM๐๒๑๑ การบริหารจัดการในภาวะวิกฤต ๓(๓-๐-๖)

Crisis Management

แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับภาวะวิกฤต การบริหารจัดการภาวะวิกฤต การจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งการป้องกันและการฟื้นฟูภัยพิบัติด้านทรัพยากรธรรมชาติ

 

PAM๐๒๑๒ ธรรมาภิบาลในการบริหารภาครัฐ ๓(๓-๐-๖)

Good Governance in Public Administration

แนวคิดหลักการเกี่ยวกับ การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี การประยุกต์ใช้หลักนิติธรรม มาใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม โปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อผู้ที่ มีส่วนเกี่ยวข้อง และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหาร ความรับผิดชอบทางสังคม และคุณธรรม จริยธรรมของนักบริหาร

 

วิชาเสริมไม่นับหน่วยกิต

ENG๑๐๐๑ ภาษาอังกฤษสําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ๓(๒-๒-๕)

English for Graduate Students

ฝึกทักษะ พื้นฐานในการพูด การฟัง การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ เน้นการอ่านและสรุปใจความสําคัญของบทคัดย่อ และเอกสารทางวิชาการจากการฝึกการเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษโดยสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

COM๑๐๐๑ คอมพิวเตอร์สําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ๓(๒-๒-๕)

Computer for Graduate Students

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการใช้คอมพิวเตอร์ เน้นทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศการใช้และการสืบค้นข้อมูลอินเตอร์เน็ท ความรู้เบื้องต้นในการใช้โปรแกรมประยุกต์ในการบริหารงาน การออกแบบการใช้สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลสําหรับการวิจัย

 

 

PAM๐๔๐๑ วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต

Thesis

การทำวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างลุ่มลึก และถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย ในขอบข่ายทางรัฐประศาสนศาสตร์ ครอบคลุมในภารกิจของภาครัฐ หรือขอบข่ายที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ผลการศึกษาสามารถนำมา เป็นข้อเสนอแนะทางนโยบายในการบริหารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และเพิ่มพูนองค์ความรู้ ทางรัฐประศาสนศาสตร์

 

PAM๐๔๐๒ การค้นคว้าอิสระ ๖ หน่วยกิต

Independent Studies

เป็นการศึกษาลุ่มลึกในศาสตร์ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ หรือกรณีศึกษาทางด้านการบริหารภาครัฐ และเอกชน เช่น การศึกษาจากงานวิจัยของผู้อื่นแล้วนำมารวบรวม เรียบเรียง เป็นรายงาน โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์

 


 

การจัดแผนการศึกษา

แผน ก เรียนไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต

 

ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

บังคับ

PAM๐๑๐๑

ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์

๓(๓๖)

บังคับ

PAM๐๑๐๕

ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

๓(๓๖)

บังคับ

PAM๐๑๐๓

การจัดการทุนมนุษย์

๓(๓๖)

วิชาเสริม

ENG๑๐๐๑

ภาษาอังกฤษสําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

๓(๒๕)

รวม

หมายเหตุ : * เรียนไม่นับหน่วยกิต

 

ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

บังคับ

PAM๐๑๐๔

การคลังและงบประมาณสมัยใหม่

๓(๓๖)

บังคับ

PAM๐๑๐๒

พฤติกรรมองค์การและการจัดการสมัยใหม่

๓(๓๖)

บังคับ

PAM๐๑๐๖

การสัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์

๓(๒๕)

วิชาเสริม

COM๑๐๐๑

คอมพิวเตอร์สําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

๓(๒๕)

รวม

หมายเหตุ : * เรียนไม่นับหน่วยกิต

 

ชั้นปีที่ ๑ ภาคฤดูร้อน

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

เลือก

PAMXXXX

XXXXXXXXXXXXXX

๓(๓๖)

เลือก

PAMXXXX

XXXXXXXXXXXXXX

๓(๓๖)

รวม

 

ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

เลือก

PAMXXXX

XXXXXXXXXXXXXX

๓(๓๖)

วิทยานิพนธ์

PAM๐๔๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

 

ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์

PAM๐๔๐๑

วิทยานิพนธ์

รวม

แผน ข เรียนไม่น้อยกว่า ๓๙ หน่วยกิต

 

ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

บังคับ

PAM๐๑๐๑

ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์

๓(๓๖)

บังคับ

PAM๐๑๐๕

ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

๓(๓๖)

บังคับ

PAM๐๑๐๓

การจัดการทุนมนุษย์

๓(๓๖)

วิชาเสริม

ENG๑๐๐๑

ภาษาอังกฤษสําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

๓(๒๕)

รวม

หมายเหตุ : * เรียนไม่นับหน่วยกิต

 

ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

บังคับ

PAM๐๑๐๔

การคลังและงบประมาณสมัยใหม่

๓(๓๖)

บังคับ

PAM๐๑๐๒

พฤติกรรมองค์การและการจัดการสมัยใหม่

๓(๓๖)

บังคับ

PAM๐๑๐๖

การสัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์

๓(๒๕)

วิชาเสริม

COM๑๐๐๑

คอมพิวเตอร์สําหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา*

๓(๒๕)

รวม

หมายเหตุ : * เรียนไม่นับหน่วยกิต

 

ชั้นปีที่ ๑ ภาคฤดูร้อน

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

เลือก

PAMXXXX

XXXXXXXXXXXXXX

๓(๓๖)

เลือก

PAMXXXX

XXXXXXXXXXXXXX

๓(๓๖)

รวม

 

ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๑

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

เลือก

PAMXXXX

XXXXXXXXXXXXXXX

๓(๓๖)

เลือก

PAMXXXX

XXXXXXXXXXXXXXX

๓(๓๖)

เลือก

PAMXXXX

XXXXXXXXXXXXXXX

๓(๓๖)

รวม

 

ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๒

กลุ่มวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

การค้นคว้าอิสระ

PAM๐๔๐๒

การค้นคว้าอิสระ

รวม