หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

 

ชื่อหลักสูตรและสาขา

          ชื่อหลักสูตร      หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

          Master’s Degree Program of Arts in Social Sciences for Development

          ชื่อปริญญา

          ชื่อเต็ม            ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

                             Master’s of Arts (Social Sciences for  Development)

          ชื่อย่อ             ศศ.. (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

                             M.A. (Social Sciences for Development)

          ได้รับการรับรองคุณวุฒิ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

 

คุณสมบัติและการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

          คุณสมบัติผู้เข้าสมัคร

     ๑.  เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขาวิชา จากสถาบันที่ ก..รับรอง

     ๒.  มีคะแนนเฉลี่ยขั้นปริญญาตรีตลอดหลักสูตรตั้งแต่ ๒.๕๐ขึ้นไปหรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานการพัฒนาชุมชนสิ่งแวดล้อมการศึกษาการบริหารการปกครองตำรวจทหารและอื่นๆมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ปี

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะแจ้งการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกผู้เข้าศึกษาตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯว่าด้วยบัณฑิตศึกษาขั้นปริญญาโทเรื่องการรับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา

 

การจัดการศึกษา

ระบบการเปิดสอน

ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดยจัดการศึกษาเป็น ๒ภาคเรียนปกติและ ๑ภาคเรียนฤดูร้อนซึ่งระยะเวลาในการศึกษาแต่ละภาคเรียนเทียบได้ไม่น้อยกว่า ๑๖สัปดาห์ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

การลงทะเบียนเรียน

เป็นไปตามระเบียบสภาประจำสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

 

ระยะเวลาในการศึกษา

หลักสูตร ๒ปีการศึกษา และให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๕ปีการศึกษาทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบของสภามหาวิทยาลัยราชภัฎฯ ว่าด้วยบัณฑิตศึกษาขั้นปริญญาโท

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาและการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาให้เป็นไปตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

 

จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา

แผน  ก

แผน  ข

๑.  หมวดวิชาสัมพันธ์

๙ หน่วยกิต

๙ หน่วยกิต

     วิชาบังคับ

๙ หน่วยกิต

๙ หน่วยกิต

     วิชาเลือก

๒.  หมวดวิชาเฉพาะด้าน

๒๑ หน่วยกิต

๒๗ หน่วยกิต

     วิชาบังคับ

๑๕ หน่วยกิต

๑๕ หน่วยกิต

     วิชาเลือก

๖ หน่วยกิต

๑๒ หน่วยกิต

.  วิทยานิพนธ์

๑๒ หน่วยกิต

๔.  ภาคนิพนธ์

๖ หน่วยกิต

๕.  สอบประมวลความรู้

สอบ

สอบ

๖.  วิชาพื้นฐานเสริม

(๕ หน่วยกิต)

(๕ หน่วยกิต)

หน่วยกิตรวม

๔๒

๔๒

          การจัดการเรียนการสอน  รายวิชาตามหลักสูตรและข้อกำหนดตามหมวดวิชา

หมวดวิชาสัมพันธ์  ๙  หน่วยกิต

๒๕๓๕๒๐๑

๒๕๓๕๒๐๒

๒๕๓๕๒๐๓

องค์กรและภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนา

ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์

สถิติและการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการวิจัยทางสังคม

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

หมวดวิชาเฉพาะด้าน  ๒๑  หน่วยกิต

๒๕๓๕๓๐๑

๒๕๓๕๓๐๒

๒๕๓๕๓๐๓

๒๕๓๕๓๐๔

๒๕๓๕๓๐๕

ระบบสังคมในภาวะการเปลี่ยนแปลง

ทฤษฎีและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม

ทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนา

นิเวศน์วิทยาและการจัดการสิ่งแวดล้อม

ปฏิบัติการและสัมมนาปัญหาการพัฒนาท้องถิ่น

๓(๓-๐)

๓(๒-๒)

๓(๓-๐)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

วิชาเลือก  ๖ หน่วยกิต

ก. กลุ่มวิชาพัฒนาเฉพาะทรัพยากรมนุษย์

๒๕๓๕๔๐๑

๒๕๓๕๔๐๒

๒๕๓๕๔๐๓

๒๕๓๕๔๐๔

๒๕๓๕๔๐๕

๒๕๓๕๔๐๖

๒๕๓๕๔๐๗

๒๕๓๕๔๐๘

๒๕๓๕๔๐๙

ทรัพยากรมนุษย์กับคุณภาพชีวิต

ทัศนคติ ค่านิยม พฤติกรรมทางสังคมและการปลูกฝังจริยธรรม

การประเมินนโยบายและแผนการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีการพัฒนา

การสื่อสารเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

รัฐธรรมนูญเพื่อการพัฒนา

การศึกษาตามแนวแนะ

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

ข. กลุ่มวิชาพัฒนาสิ่งแวดล้อม


๒๕๓๕๕๐๑

๒๕๓๕๕๐๒

๒๕๓๕๕๐๓

๒๕๓๕๕๐๔

๒๕๓๕๕๐๕

๒๕๓๕๕๐๖

๒๕๓๕๕๐๗

๒๕๓๕๕๐๘

สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา

นโยบายและการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม

เศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อม

สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

กฎหมายและความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการสิ่งแวดล้อม

การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมศาสตร์

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๓-๐)

๓(๓-๐)

๓(๒-๒)

๒๕๓๕๕๐๙

๒๕๓๕๕๑๐

๒๕๓๕๕๑๑

ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

การเกษตรทางเลือกเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

การศึกษาตามแนวแนะ

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

ค.  กลุ่มวิชาพัฒนาศักยภาพองค์กรทางสังคม

๒๕๓๕๖๐๑

๒๕๓๕๖๐๒

๒๕๓๕๖๐๓

๒๕๓๕๖๐๔

๒๕๓๕๖๐๕

๒๕๓๕๖๐๖

๒๕๓๕๖๐๗

๒๕๓๕๖๐๘

๒๕๓๕๖๐๙

องค์กรสังคมกับการพัฒนา

การบริหารและพัฒนาองค์กรทางสังคม

การประเมินผลแผนงานและโครงการ

กฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคม

การสื่อสารและการสร้างเครือข่ายทางองค์กรสังคม

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาองค์กร

ความร่วมมือขององค์กรภายในประเทศและระหว่างประเทศ

การพัฒนาองค์กรท้องถิ่น

การศึกษาตามแนวแนะ

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๒-๒)

๓(๓-๐)

วิทยานิพนธ์/ภาคนิพนธ์

๒๕๓๕๗๐๑

วิทยานิพนธ์สำหรับการเรียนตามแผนก.    

๑๒ หน่วยกิต

๒๕๓๕๗๐๒

ภาคนิพนธ์สำหรับแผนข.

๖ หน่วยกิต

วิชาเสริม

          วิชาพื้นฐาน ๔ รายวิชา ไม่นับหน่วยกิต

๑๕๕๕๑๐๑

ภาษาต่างประเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า

()

๔๑๒๕๑๐๑

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

()

๒๕๓๕๑๐๑

สังคมศาสตร์เบื้องต้น     

()

๑๕๕๕๑๐๒

สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยสังคมศาสตร์   

()

 

คำอธิบายรายวิชา

 

หมวดวิชาสัมพันธ์

๒๕๓๕๒๐๑     องค์กรและภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนา                                               ๓(๒-๒)

                   Organization and Leadership for Development                 

                   ศึกษาปัญหา ความต้องการของบุคคลในองค์กร วิเคราะห์นโยบาย รูปแบบลักษณะองค์กรพฤติกรรมการบริหารและพัฒนาองค์กรทางสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำ คุณลักษณะ ประเภทและบทบาทของผู้นำ ปัจจัยส่งเสริมภาวะผู้นำ หลักจริยธรรม และอุดมการณ์เพื่อการพัฒนา โดยศึกษาจากผลงานวิจัยและการศึกษาดูงาน  

 

๒๕๓๕๒๐๒     ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์                                                    ๓(๒-๒)

Methodology of Social Research                

                   ศึกษาประเภทรูปแบบและหลักการวิจัย ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จรรยาบรรณของนักวิจัยการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาสังคม เน้นการศึกษาจากผลงานวิจัยและฝึกปฏิบัติให้สามารถเสนอเค้าโครงวิจัยต่อไปได้   

 

๒๕๓๕๒๐๓     สถิติและการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการวิจัยทางสังคม                            ๓(๒-๒)

Statistics and Computer for Social Research                     

                   ศึกษากระบวนการทางสถิติและการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรเดียวและหลายตัวแปรเช่น การวิเคราะห์ความปรวนแปร การวิเคราะห์ถดถอยและอื่นๆ โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 

 

 

หมวดวิชาเฉพาะด้าน

บังคับ

๒๕๓๕๓๐๑     ระบบสังคมในภาวะการเปลี่ยนแปลง                                               ๓(๓-๐)

Dynamics of Thai’s Social System                                           

ศึกษาความหมาย ขอบข่าย ทฤษฎีทางสังคมวิทยา และระเบียบวิธีการทางสังคมศาสตร์ ระบบสังคมและการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และแนวโน้มในอนาคต รวมทั้งผลกระทบต่อชุมชนภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงในระดับมหาภาคและจุลภาค

 

๒๕๓๕๓๐๒     ทฤษฎีและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม                                             ๓(๒-๒)

Theory and Strategies of Social Development                            

ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคม นโยบายสังคม องค์ประกอบและกระบวนการวิธีการพัฒนาสังคมในเชิงสหวิทยาการและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีวิเคราะห์กรณีตัวอย่างเพื่อแสวงหายุทธศาสตร์การพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น

         

๒๕๓๕๓๐๓     ทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนา                                                      ๓(๓-๐)

Human Resources and Development                             

ศึกษาแนวคิดทางทฤษฎีประชากรที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์โครงการพัฒนาในสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์หลักการแนวคิด ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดคุณภาพสำหรับการพัฒนา

 

๒๕๓๕๓๐๔     นิเวศน์วิทยาและการจัดการสิ่งแวดล้อม                                            ๓(๒-๒)

Ecology and Environmental Management                                 

ศึกษาทฤษฎีและปัจจัยพื้นฐานของระบบนิเวศการถ่ายทอดพลังงานและธาตุอาหาร  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศ วัฏจักรของธาตุสำคัญในการดำรงชีวิต ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง แนวทางในการฟื้นฟูระบบนิเวศให้เกิดความสมดุล เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และศึกษาดูงานนิเวศวิทยาและการจัดการสิ่งแวดล้อม 

 

๒๕๓๕๓๐๕     ปฏิบัติการและสัมมนาปัญหาการพัฒนาท้องถิ่น                                    ๓(๒-๒)

                   Local Development Practice and Seminar                                 

ศึกษาหรือจัดทำโครงการพัฒนา โดยเน้นการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนหรือท้องถิ่น และนำเสนอผลการศึกษาหรือทดลองในรูปแบบการจัดสัมมนาทางวิชาการ และร่วมกันแสวงหาแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ  

เลือก

ก.  กลุ่มวิชาพัฒนาเฉพาะทรัพยากรมนุษย์

๒๕๓๕๔๐๑     ทรัพยากรมนุษย์กับคุณภาพชีวิต                                                   ๓(๒-๒)

Human Resources and Quality of Life                             

ศึกษาพัฒนาการของทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพการเปลี่ยนแปลงรวมถึงผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะประชากรของไทยและของโลกแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี แนวทางและกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม การพัฒนาตัวชี้วัดระดับคุณภาพชีวิตและการประเมินผลสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

๒๕๓๕๔๐๒     ทัศนคติ ค่านิยมพฤติกรรมทางสังคมและการปลูกฝังจริยธรรม                   ๓()

                   Attitude, Value and Social Behaviors                                        

ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยเกี่ยวกับจิตลักษณะด้าน ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกลักษณะทางสังคม ศึกษาธรรมชาติและโครงสร้างของจริยธรรม วิเคราะห์ปัญหาจริยธรรมแนวทางแก้ไขปัญหาจริยธรรมและตัวแบบต่างๆ ในการปลูกฝังจริยธรรม

 

๒๕๓๕๔๐๓     การประเมินนโยบายและแผนการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ๓(๒-๒)

Human Resources Policy, Planning and Implementation               

ศึกษาแนวคิด เหตุผลและวิวัฒนาการของนโยบายและแผนที่เกี่ยว ข้องกับการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ศึกษากิจกรรมในการฝึกอบรม การให้การศึกษา การพัฒนาแรงงาน ตลอดจนบทบาท หน้าที่ในการบริหารจัดการของรัฐ องค์กรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศึกษาเหตุผลและความจำเป็นในการประเมินนโยบาย แผนกลยุทธ์และแผนโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะและนโยบายองค์กรที่มีต่อการกำหนดแผนกลยุทธ์และแผนโครงการ การนำนโยบายและแผนสู่การปฏิบัติ การวัดและประเมินงานระหว่างดำเนินการ เพื่อติดตามและบริหารโครงการให้เป็นไปตามนโยบายและแผน การประเมินผลการนำนโยบายและแผนสู่การปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบการบรรลุประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐ ขององค์กรและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์         

 

๒๕๓๕๔๐๔     การพัฒนาผู้ด้อยโอกาสในสังคม                                          ๓(๒-๒)

                   The Disadvantaged Group Development                                   

ศึกษาความหมายความสำคัญ ประเภทของผู้ด้อยโอกาสในสังคม แนวคิดและเทคนิควิธีการในการพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาสหรือไม่สามารถช่วยตัวเองได้ในสังคม อันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในสังคม เช่น กลุ่มเด็ก สตรี คนชรา คนยากจน คนพิการ ฯลฯ การวิเคราะห์นโยบาย แผนงาน โครงการและศึกษาดูงานการดำเนินการพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาสในท้องถิ่น และสามารถเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสม

๒๕๓๕๔๐๕     เศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์           ๓(๒-๒)

                   Socio-Economic for Human Resources Development          

ศึกษาแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การใช้แนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยามาวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์และแนวทางแก้ไขทั้งด้านการผลิต การตลาด การบริโภค พฤติกรรมของผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมทั้งนโยบาย แผนงานโครงการต่างๆ ศึกษากรณีตัวอย่าง ใช้เศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

         

๒๕๓๕๔๐๖     ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีการพัฒนา                                                ๓(๒-๒)

Wisdom and Technology for Development                                

ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักการใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีกับการพัฒนาสังคม ความหมายและวิวัฒนาการของระดับปัญญาและเทคโนโลยี ความสำคัญและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประยุกต์ภูมิปัญญา ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนานโยบายของรัฐในการใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผลกระทบของการใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีต่อสังคมเศรษฐกิจ การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศึกษากรณีตัวอย่าง เพื่อนำผลการศึกษามาอภิปรายในชั้นเรียน

         

๒๕๓๕๔๐๗     การสื่อสารเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์                              ๓(๒-๒)

                   Communication for Human Resources Development         

ศึกษาความหมายของการสื่อสาร ทฤษฎี แนวคิด รูปแบบ และกระบวนการของการสื่อสาร อิทธิพลของการสื่อสารที่มีต่อความเชื่อ ทัศนคติ และการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของคนในสังคม เทคนิควิธีการสื่อสารเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

         

๒๕๓๕๔๐๘     รัฐธรรมนูญเพื่อการพัฒนา                                                         ๓(๒-๒)

Constitution and Development                                              

ศึกษารัฐธรรมนูญไทยในฐานะเป็นแม่บทในการกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาและเป็นสัญญาประชาคมในอันที่จะประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเพื่อที่จะศึกษาความสอดคล้องของการใช้กฎหมายที่ออกตามรัฐธรรมนูญ

 

๒๕๓๕๔๐๙     การศึกษาตามแนวแนะ                                                              ๓(๓-๐)

                   Directed Studies                                                                 

ศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนสนใจอย่างลึกซึ้งในวิชาเอกของตนเอง โดยความเห็นชอบ คำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา

 

ข.  กลุ่มวิชาพัฒนาสิ่งแวดล้อม

๒๕๓๕๕๐๑     สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา                                                 ๓(๒-๒)

Environment and Development                                              

ศึกษาแนวคิดวิวัฒนาการของการศึกษาสิ่งแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในการพัฒนาผลกระทบของการพัฒนาที่มีต่อสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ขององค์กรพัฒนากับองค์กรที่เกี่ยวข้องทางสภาพแวดล้อมทั้งภาครัฐและเอกชน ความร่วมมือเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ แนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

 

๒๕๓๕๕๐๒     นโยบายและการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม                                           ๓(๒-๒)

Environmental Policy and Decision Making                                

ศึกษาทฤษฎีหลักการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อมวิเคราะห์นโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กรระดับชาติ องค์กรนานาชาติ การตัดสินใจขององค์กรรัฐเอกชนที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่อิทธิพลต่อนโยบายและการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์กรณีตัวอย่างนโยบายและการตัดสินใจพัฒนาสิ่งแวดล้อม ศึกษาดูงานปัญหามลภาวะ วิเคราะห์สาเหตุ การควบคุมป้องกันและดำเนินการแก้ไขปัญหามลภาวะ

 

๒๕๓๕๕๐๓     เศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อม                           ๓(๓-๐)

                   Socio-Economic for Environmental Development                        

ศึกษาผลกระทบของกระบวนการผลิตทั้งทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม

 

๒๕๓๕๕๐๔     สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม                                   ๓(๒-๒)

                   Geographic Information for Environmental Development              

ศึกษาความสำคัญ บทบาท และความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ศึกษาผลการวิเคราะห์พื้นที่โดยที่ RemoteSensing การใช้ประโยชน์ที่ดิน และแผนที่ทรัพยากรธรรมชาติจากภาพถ่ายดาวเทียม การจำแนกพื้นที่โดยใช้ GIS เพื่อการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศึกษาดูงานการใช้สารสนเทศ ภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

 

๒๕๓๕๕๐๕     การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน                                                      ๓(๒-๒)

                   Management for Community Environment                                

ศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมชุมชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ แนวคิด รูปแบบ วิธีการในการจัดการ โดยเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิทธิชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน การวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของชุมชน โดยไม่ทำลายระบบสมดุลของระบบนิเวศ และไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม การร่วมมือขององค์กรชุมชนและองค์กรภายนอก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนศึกษา กรณีตัวอย่างการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน  

 

๒๕๓๕๕๐๖     กฎหมายและความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการสิ่งแวดล้อม  ๓(๓-๐)

                   Laws and International Collaboration for Environment Management

ศึกษาวิเคราะห์กฎหมายข้อตกลงและความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับนานาชาติ ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น วิวัฒนาการของกฎหมายและความร่วมมือเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างประเทศและของประเทศไทย แนวทางในการพัฒนากฎหมายไทยเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ และฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศและคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

 

๒๕๓๕๕๐๗     การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม                                             ๓(๓-๐)

Communication for Environment Development                          

ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี รูปแบบและกระบวนการของการสื่อสาร ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารเพื่อการพัฒนา อิทธิพลของการสื่อสารเพื่อการพัฒนา ความเชื่อ ทัศนคติค่านิยมของบุคคลและการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมด้านการใช้และการจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์เทคนิควิธีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งระดับบุคคล องค์กร ระดับชาติและระดับนานาชาติ     

 

๒๕๓๕๕๐๘     การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมศาสตร์                     ๓(๒-๒)

Environment Social Sciences Impact Assessment                        

ศึกษาแนวคิด หลักการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมศาสตร์ ศึกษาวิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การประเมิลผลและการติดตามผลด้านสิ่งแวดล้อมเน้นทางสังคมศาสตร์ ให้สามารถวิเคราะห์ความต้องการและความคิดเห็นของคนในสังคมต่อโครงการที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจของรัฐ หรือองค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ หรือป้องกันความขัดแย้งในการจัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ฝึกการสร้างเครื่องมือและดำเนินการประเมินผลกระทบในภาคปฏิบัติ

 

๒๕๓๕๕๐๙     ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม                           ๓(๒-๒)

Bio-diversity and Environmental Development                           

ศึกษาความหมาย ประเภท ความสำคัญ และบทบาทของความหลากหลายทางชีวภาพต่อชีวิตและสังคมรวมทั้งความจำเป็นที่ต้องอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พัฒนาการและความร่วมมือในการอนุรักษ์ และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก และศึกษาดูงานแนวทางการอนุรักษ์ระดับท้องถิ่น

 

๒๕๓๕๕๑๐     การเกษตรทางเลือกเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม                                   ๓(๒-๒)

Agricultural Alternation for Environmental Development               

ศึกษาแนวทาง ปรัชญา ความหมาย ความสำคัญของการเกษตร พัฒนาการเกษตรกรรมของโลกและประเทศไทย เกษตรกับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รูปแบบเทคนิควิธีและการตัดสินใจเลือกการทำการเกษตรที่เหมาะสมหรือเกษตรที่ไม่ทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้มั่นคงยั่งยืน รูปแบบการเกษตรทางเลือก ศึกษากรณีตัวอย่าง เกษตรทางเลือกเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               

๒๕๓๕๕๑๑      การศึกษาตามแนวแนะ                                                              ๓(๓-๐)

Directed Studies                                                                 

ศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนสนใจอย่างลึกซึ้งในวิชาเอกของตนเอง โดยความเห็นชอบคำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา     

                               

ค.  กลุ่มวิชาพัฒนาศักยภาพองค์กรทางสังคม

๒๕๓๕๖๐๑     องค์กรสังคมกับการพัฒนา                                                         ๓(๒-๒)

Social Organization and Development                                      

ศึกษาแนวคิดทฤษฎี รูปแบบ ประเภทและวิวัฒนาการขององค์กรสังคม วิเคราะห์ความแตกต่างขององค์กรทางสังคมภาครัฐและเอกชนในกระบวนการพัฒนา บทบาทความสำคัญขององค์กรสังคมต่อการพัฒนาระบบข้อมูลและการจัดการเครือข่ายองค์กรสังคมกับการพัฒนาเครือข่ายองค์กรในระดับท้องถิ่นชาติและระหว่างประเทศ

 

๒๕๓๕๖๐๒     การบริหารและพัฒนาองค์กรทางสังคม                                            ๓(๒-๒)

Social Organization Management and Development                    

ศึกษานโยบาย แผนพัฒนา การวิเคราะห์ระบบในองค์กร การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรและสนับสนุนการพัฒนาสังคม เทคนิคการบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากรในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย ศึกษาดูงานการบริหารและการพัฒนาองค์กรสังคม

 

๒๕๓๕๖๐๓     การประเมินผล แผนงานและโครงการ                                             ๓(๒-๒)

Evaluation Research : Plan, Program and Project                         

ศึกษาการนำเอากระบวนการวิจัยมาใช้ในการประเมินผลแผนงาน และโครงการเพื่อการพัฒนา รวมทั้งการประเมินผลและประสิทธิผล ประสิทธิภาพและผลกระทบ

๒๕๓๕๖๐๔     กฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคม                                              ๓(๓-๐)

Labor and Social Welfare Laws                                               

ศึกษาวิเคราะห์กฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคม ความสำคัญและบทบาทของกฎหมายต่อบุคคลและองค์กร พัฒนาการกฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคมไทย เปรียบเทียบสาระสำคัญกฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคมไทยกับนานาชาติ สาระสำคัญและการบังคับใช้กฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคมในประเทศไทย และแนวทางการพัฒนากฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคมเพื่ออนาคต

 

๒๕๓๕๖๐๕     การสื่อสารและการสร้างเครือข่ายทางองค์กรสังคม                               ๓(๒-๒)

Social Organization Communication and Network                       

ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ประเภท รูปแบบของการสื่อสาร เทคนิควิธีการสื่อสารในองค์กร วิเคราะห์ปัญหา ปัจจัยสนับสนุนการสื่อสารในองค์กรและระหว่างองค์กร ตัวแบบการสื่อสารในองค์กร การพัฒนา การสื่อสารในองค์กรและระหว่างองค์กร การสร้างเครือข่ายองค์กร การร่วมมือระหว่างองค์กร การพัฒนาเครือข่ายและบทบาทหน้าที่เครือข่ายองค์กรสังคม ศึกษาดูงานการสื่อสารและการสร้างเครือข่ายองค์กรสังคม

 

๒๕๓๕๖๐๖     เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาองค์กร                                         ๓(๒-๒)

Information Technology and Organization Development               

ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ประเภทและรูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสานสนเทศ วิเคราะห์ความสำคัญและความสัมพันธ์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาองค์กร เทคนิคการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ ศึกษาดูงานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารในองค์กรและระหว่างองค์กร

 

๒๕๓๕๖๐๗     ความร่วมมือขององค์กรภายในประเทศและระหว่างประเทศ           ๓(๓-๐)

National and International Organization Collaboration                  

ศึกษาความสำคัญของการร่วมมือระหว่างองค์กรภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาในยุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภายในประเทศ และระหว่างประเทศของไทยกับต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญและบทบาทต่อสังคมไทย ปัญหาและการพัฒนาความร่วมมือขององค์กรระหว่างประเทศ

               

๒๕๓๕๖๐๘     การพัฒนาองค์กรท้องถิ่น                                                            ๓(๒-๒)

Local Organization Development                

ศึกษาวิเคราะห์ ความหมาย ความสำคัญ รูปแบบ องค์ประกอบและประเภทขององค์กรท้องถิ่น พัฒนาการองค์กรท้องถิ่น บทบาทขององค์กรท้องถิ่นกับการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ขององค์กรท้องถิ่นกับวัฒนธรรมและการกระจายอำนาจ ปัญหาและการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาประเทศ ศึกษากรณีตัวอย่างการพัฒนาองค์กรท้องถิ่น

๒๕๓๕๖๐๙     การศึกษาตามแนวแนะ                                                             ๓(๓-๐)

Directed Studies

ศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนสนใจอย่างลึกซึ้งในวิชาเอกของตนเอง โดยความเห็นชอบ คำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา

 

วิทยานิพนธ์และภาคนิพนธ์

๒๕๓๕๗๐๑     วิทยานิพนธ์                                                                          ๑๒ หน่วยกิต

                   Thesis

ทำวิทยานิพนธ์ทางสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาโดยการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างลุ่มลึก และถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย โดยมุ่งในเรื่องที่สามารถนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมด้านทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และองค์กรสังคม และเรื่องที่เพิ่มพูนองค์ความรู้ทางวิชาการสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และอยู่ในความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา

 

๒๕๓๕๗๐๒     ภาคนิพนธ์                                                                           ๖ หน่วยกิต

                   Term Paper

ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในเรื่องเกี่ยวกับสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา โดยการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดลึกซึ้ง และมีขั้นตอนศึกษาถูกต้องตามหลักวิชาการพร้อมทั้งเสนอผลการศึกษาอย่างมีระบบระเบียบทางวิชาการ โดยมุ่งในเรื่องที่สามารถนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมด้านทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและองค์กรสังคม และเรื่องที่เพิ่มพูนองค์ความรู้ทางวิชาการสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และอยู่ในความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา

 

วิชาพื้นฐานเสริม  ๒  รายวิชา  ไม่นับหน่วยกิต

๑๕๕๕๑๐๑      ภาษาต่างประเทศเพื่อการค้นคว้า                                                  ๒(๑-๒)

Reading in Foreign Language for Study Skill and Research             

ฝึกทักษะการอ่านภาษาต่างประเทศภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น จากเนื้อหาที่อ่านได้ รวมทั้งเข้าใจถึงวิธีการพัฒนาและเชื่อมโยงความคิดของข้อเขียนในรูปแบบต่างๆ เช่น การเล่าเรื่อง การบรรยาย การเปรียบเทียบ การอธิบาย การอภิปราย เป็นต้น

               

๑๕๕๕๑๐๒      สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยสังคมศาสตร์                                           ๓(๓-๐)

Introduction to Statistics for Social Research                              

 

ศึกษาสถิติพื้นฐานซึ่งครอบคลุม การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การสุ่มตัวอย่าง การแจกแจงปกติ การประมาณค่าทดสอบสมมติฐาน สหสัมพันธ์อย่างง่าย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และความเข้าใจเกี่ยวกับสถิติ Non-Parametric