ITA : การรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมวิพากษ์โครงร่างองค์กร (OP) และแผนพัฒนาคุณภาพ (PR) ตามเกณฑ์ EdPEx ฉบับปี 2567-2570 การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566

รายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

หน่วยงาน : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี


ประเด็น/เรื่อง :   รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566 กิจกรรมวิพากษ์ โครงร่างองค์กร (OP) และแผนพัฒนาคุณภาพ (PR) ตามเกณฑ์ EdPEx ฉบับปี 2567-2570 การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2566

ข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญดาว แจ่มแจ้ง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถาวร จันทโชติ รวมจำนวนผู้มีส่วนร่วมจากบุคคลภายนอกจำนวน 2 คน

กิจกรรมการมีส่วนร่วม :

          คณะกรรมการประเมินจากภายนอกตรวจสอบความสอดคล้อง OP กับบริบทจริงของบัณฑิตวิทยาลัยวิเคราะห์การกำหนดทิศทางองค์กร การใช้ข้อมูลหลักฐาน (Data-Driven Decision Making) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความสอดคล้องของกลยุทธ์องค์กรของบัณฑิตวิทยาลัย กับพันธกิจและวิสัยทัศน์ ตั้งคำถามสำคัญ “อะไรเป็นความท้าทายหลักขององค์กร” หรือ “องค์กรมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างไร”มีการตรวจสอบว่าแผนพัฒนา มีเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้ (SMART Goals) หรือไม่ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของแผนกับข้อมูลพื้นฐานขององค์กร (จาก OP) คณะกรรมการประเมินพิจารณาว่าองค์กรมีกระบวนการติดตามและปรับปรุงคุณภาพอย่างไร และให้ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์วิธีการในการพัฒนาเป้าหมาย

ผลจากการมีส่วนร่วม

       บัณฑิตวิทยาลัยดำเนินการสังเคราะห์ประเด็นจากการมีส่วนร่วมในการรับการประเมินคุณภาพ ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ช่วยให้บัณฑิตวิทยาลัยทราบจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนา ได้ทราบแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และระบบบริหารจัดการ ส่งเสริมวัฒนธรรมการประกันคุณภาพภายในบัณฑิตวิทยาลัย ผู้ประเมินได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ได้มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ และให้ข้อเสนอแนะการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ประเมินและบัณฑิตวิทยาลัย และบัณฑิตวิทยาลัยต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเกณฑ์และแนวทางการประเมิน

การนำผลการมีส่วนร่วมไปพัฒนา/ปรับปรุงการดำเนินงาน :

       1. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ประเมินพบว่า บัณฑิตวิทยาลัยได้มีสำรวจความพึงพอใจในส่วนตลาด มีการเปรียบเทียบความพึงพอใจกับองค์กรอื่น ๆ เปรียบเทียบความพึงพอใจกับคู่แข่งและคู่เทียบ มีการดำเนินการจัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า ผู้รับบริการทุกกลุ่มลูกค้าและคู่ความร่วมมือของบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อนำผลการประเมินที่ได้จากการสำรวจความพึงพอใจมาดำเนินการเปรียบเทียบระหว่างองค์กร รวมถึง จัดทำแนวการปรับปรุงการดำเนินงานและการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัยให้เป็นเลิศด้านการบริการ

       2. ผู้ประเมินได้กำหนดแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยอิงจากข้อมูลที่ได้รับพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นำเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่เหมาะสมมาช่วยเสริมประสิทธิภาพ บูรณาการผลการมีส่วนร่วมกับแผนพัฒนาองค์กรนำข้อเสนอแนะที่สำคัญไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับกำหนดนโยบาย จัดทำแผนพัฒนาและปรับปรุงงานให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะที่ได้รับ บัณฑิตวิยาลัยจัดอบรมหรือให้ความรู้กับบุคลากรเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานใหม่ การทำ OP PR ให้กับบุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย

เอกสารประกอบการดำเนินงาน :

ผู้รายงาน : …นางสุวัฒน์ ศรีขวัญช่วย………….. ตำแหน่ง : …นักวิชาการศึกษา………………………

วัน/เดือน/ปี : …8 เมษายน 2568………………………