การสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

รายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

หน่วยงาน : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ประเด็น/เรื่อง : การสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาในการสอบวิทยานิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจะมีบทบาทในการประเมินคุณภาพและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประกันคุณภาพทางวิชาการ

กิจกรรมการมีส่วนร่วม :

       การมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกช่วยให้การประเมินมีความเป็นอิสระ ลดอคติที่อาจเกิดจากอาจารย์ภายใน ยกระดับคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเชี่ยวชาญและสามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัย เชื่อมโยงกับมาตรฐานภายนอก ทำให้วิทยานิพนธ์มีคุณภาพที่สอดคล้องกับแนวทางหรือมาตรฐานระดับประเทศและนานาชาติ เป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ช่วยเปิดโอกาสให้นักศึกษาและคณาจารย์ได้สร้างเครือข่ายกับนักวิชาการจากสถาบันอื่น โดยมีการจัดสอบดังนี้

  1. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 สอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก
  2. วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568 สอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ โดยมี ศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก
  3. วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 สอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา แช่มช้อย  จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก
  4. วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2568 สอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

ผลจากการมีส่วนร่วม

          การมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกในการสอบวิทยานิพนธ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การประเมินคุณภาพของงานวิจัยเป็นไปอย่างมีมาตรฐานและเที่ยงตรง การประเมินคุณภาพงานวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสามารถให้ความคิดเห็นเชิงลึกเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ความถูกต้องของข้อมูล และการตีความผลลัพธ์ ช่วยตรวจสอบความเป็นต้นฉบับ และความสำคัญของงานวิจัยในสาขาวิชานั้น ๆ การให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัยให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น เสนอแนวทางการปรับปรุงการเขียนวิทยานิพนธ์ให้มีความชัดเจนและเป็นวิชาการ เพิ่มมุมมองที่หลากหลาย เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมักมาจากหน่วยงานหรือสถาบันที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถให้มุมมอง
ที่เป็นกลางและกว้างขวางมากขึ้น ช่วยให้นักวิจัยเข้าใจแนวโน้มการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ เพิ่มความน่าเชื่อถือของกระบวนการสอบวิทยานิพนธ์ ทำให้กระบวนการสอบมีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น
ลดอคติที่อาจเกิดขึ้นจากคณะกรรมการสอบภายในสถาบันเดียวกัน

การนำผลการมีส่วนร่วมไปพัฒนา/ปรับปรุงการดำเนินงาน :

          บัณฑิตวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายวิชาการ การมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกช่วยเปิดโอกาสให้นักศึกษา ได้สร้างเครือข่ายทางวิชาการ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคต ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กรวิจัยต่าง ๆ

เอกสารประกอบการดำเนินงาน :


ผู้รายงาน : …นางสุวัฒนา ศรีขวัญช่วย………….. ตำแหน่ง : …นักวิชาการศึกษา………………………

วัน/เดือน/ปี : …8 เมษายน 2568………………………