ขั้นตอนการให้บริการต่างๆ (Services)

    • วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
    • วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 08.30 – 16.30 น. *เปิดให้บริการเฉพาะสัปดาห์ที่มีการจัดการเรียนการสอนตามปฏิทินวิชาการ
    • ปิดทำการในวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • เปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ และวันเสาร์ – อาทิตย์ (ตามปฏิทินวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา)

    เวลา 08.30 – 16.00 น.

    1. นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนตามที่ทางบัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
    2. นักศึกษาต้องตรวจสอบการลงทะเบียนรายวิชากับโครงสร้างหลักสูตรที่ศึกษาด้วยตนเองอย่างรอบคอบ หากพบปัญหาต้องรีบแจ้งฝ่ายทะเบียนและวัดผลบัณฑิตวิทยาลัยทันที
    1. นักศึกษารับปฏิทินวิชาการและใบแจ้งการชำระเงินแล้วนำไปชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน หรือชำระเงินผ่านธนาคารแล้วแต่กรณี หลังจากนักศึกษาชำระเงินเรียบร้อยแล้วให้เก็บใบเสร็จและหลักฐานใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีรายวิชาการลงทะเบียนให้เก็บจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา เพื่อจะได้ตรวจสอบ ในกรณีที่มีปัญหาหรือเกิดข้อผิดพลาดในเรื่องของการลงทะเบียน
    2. นักศึกษาที่ขอผ่อนผันการลงทะเบียนให้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันการลงทะเบียน โดยชำระค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนล่าช้า วันละ 50.- บาท แต่ไม่เกิน 1,500.- บาท (เริ่มตั้งแต่วันสิ้นสุดวันกำหนดการชำระเงินลงทะเบียนตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด)
  • การขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ

    1. นักศึกษาเข้าใหม่ นักศึกษาจะต้องส่งรูปถ่ายสวมชุดสุภาพ ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ไม่มีค่าธรรมเนียม)
    2. กรณีบัตรประจำตัวนักศึกษาหาย ให้ดำเนินการขอบัตรใหม่ โดยยื่นคำร้องเพื่อขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษา และชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงิน 100.- บาท ที่ฝ่ายการเงิน สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย

    Download แบบฟอร์มขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่

    • การโอนผลการเรียน หมายความว่า การนำหน่วยกิตและค่าระดับคะแนนของทุกรายวิชาที่เคยศึกษาจากหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏมาใช้ โดยไม่ต้องศึกษารายวิชานั้นอีก
    • การยกเว้นการเรียน หมายความว่า การนำหน่วยกิตของรายวิชาในหลักสูตรมหาวิทยาลัย ราชภัฏ และให้หมายความรวมถึงการนำเนื้อหาของรายวิชาจากหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่ได้ศึกษาแล้ว และ/หรือการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์ การทำงาน ซึ่งมีเนื้อหาสาระความยากง่ายเทียบได้ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของเนื้อหาในรายวิชาของหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏและอยู่ในระดับเดียวกันมาใช้ โดยไม่ต้องศึกษารายวิชานั้นอีก
    • รายวิชาที่จะนำมาโอนผลการเรียนหรือยกเว้นการเรียน ต้องสอบได้หรือเคยศึกษาฝึกอบรม มีประสบการณ์มาแล้วไม่เกิน 10 ปี นับถึงวันที่เข้าศึกษา โดยเริ่มนับจากวันสำเร็จการศึกษาหรือภาคเรียนสุดท้ายที่มีผลการเรียนหรือวันสุดท้ายที่ศึกษา อบรม หรือมีประสบการณ์

     Download แบบฟอร์มขอโอนผลการเรียนและยกเว้นรายวิชา

    1. ต้องเป็นรายวิชาที่ได้ระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า B หรือเทียบเท่า
    2. การขอยกเว้นการเรียนจากผู้ศึกษาจากการศึกษานอกระบบ และ/หรือการศึกษาตามอัธยาศัยการฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏกำหนดวิธีการประเมินเพื่อยกเว้นการเรียน โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย
    3. จำนวนหน่วยกิตที่ยกเว้นรวมแล้วต้องไม่เกินหนึ่งในสามสำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของหน่วยกิตขั้นต่ำ ซึ่งกำหนดไว้ในสาขาวิชาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และเมื่อได้รับการยกเว้นแล้วต้องมีเวลาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา
    4. รายวิชาที่ได้รับการยกเว้นให้บันทึกไว้ในระเบียนการเรียนของนักศึกษา โดยใช้อักษรย่อ P ในช่องระดับคะแนน

    * การยกเว้นจะสมบูรณ์เมื่อนักศึกษาได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมการยกเว้น หน่วยกิตละ 300 บาท

    1. การขอถอน เพิ่มและยกเลิกรายวิชา ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา และบัณฑิตวิทยาลัยอนุมัติ
    2. การขอถอน เพิ่มรายวิชาต้องกระทำภายใน 15 วันนับจากวันเปิดภาคเรียน
    3. การขอยกเลิกรายวิชาต้องกระทำภายใน 60 วันนับจากวันเปิดภาคเรียน และนักศึกษา ไม่มีสิทธิ์ขอรับคืนเงินค่าลงทะเบียน
    1. กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชาครบตามข้อกำหนดของหลักสูตร แต่ยังไม่สำเร็จการศึกษาหรือที่ได้รับอนุญาตให้ลาพักการเรียนหรือถูกพักการเรียน ต้องชำระเงินเพื่อรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา โดยชำระค่าบำรุงมหาวิทยาลัยฯ และค่าธรรมเนียมอื่นให้ครบถ้วนตามที่ระเบียบมหาวิทยาลัยฯ กำหนด ทั้งนี้ ภายใน 30 วันนับจากวันเปิดภาคเรียนที่ประสงค์จะรักษาสภาพ
    2. นักศึกษาที่ไม่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียน และไม่ชำระเงินเพื่อรักษาสภาพนักศึกษาตามข้อ 1 ให้ถือว่านักศึกษาผู้นั้นพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
    • นักศึกษาที่ประสงค์จะเปลี่ยนคำนำหน้านาม/ยศ/ชื่อ/นามสกุล ให้ยื่นหลักฐานต่างๆ ดังนี้
      • – คำร้องขอเปลี่ยนชื่อคำนำหน้านาม/ยศ/ชื่อ/นามสกุล ตามแบบของมหาวิทยาลัย
      • – ใบสำคัญการเปลี่ยนคำนำหน้านาม/ยศ/ชื่อ/นามสกุล พร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
      • – ใบสำคัญการสมรส พร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ (กรณีสมรส)
      • – สำเนาทะเบียนบ้านที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว พร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
    • การขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิดที่ผิดพลาด จะต้องนำหลักฐาน เช่น สำเนาทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมสำเนาหรือสูติบัตร ยื่นพร้อมบันทึกข้อความขอแก้วัน เดือน ปีเกิด ที่ฝ่ายทะเบียนและวัดผล บัณฑิตวิทยาลัย

     Download แบบฟอร์มขอเปลี่ยนชื่อสกุล

    1. ขอรับคำร้องและบัตรแก้เกรด I จากฝ่ายทะเบียนและวัดผล บัณฑิตวิทยาลัย
    2. นำคำร้องและบัตรแก้ I ติดต่ออาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่ติด I ด้วยตนเอง
    3. ติดตามรับบัตรเปลี่ยนเกรด I จากอาจารย์ผู้สอนเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน

     Download แบบฟอร์มขอแก้เกรด I

    1. อนุญาตให้นักศึกษาลาพักการเรียนได้ครั้งละ 1 ภาคเรียน โดยนักศึกษาจะต้องยื่นคำร้องภายใน 20 วัน นับจากวันเปิดภาคเรียนนั้น
    2. เวลาของการพักการเรียนให้นับอยู่ในระยะเวลาของการศึกษาตามหลักสูตร

     Download แบบฟอร์มขอลาพักการเรียน

    • การลาออกนักศึกษาที่ประสงค์จะลาออก ให้ยื่นคำร้องผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการประจำหลักสูตรตามลำดับ  การลาออกจะมีผลสมบูรณ์ เมื่อบัณฑิตวิทยาลัยอนุมัติ

     Download แบบฟอร์มขอลาออก

  • นักศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ต้องสอบประมวลความรู้ก่อนสำเร็จการศึกษา

    1. บัณฑิตวิทยาลัยจัดทำประกาศให้มีการสอบ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
    2. ผู้มีสิทธิ์สอบจะต้องเป็นผู้ที่เรียนรายวิชาในภาคเรียนสุดท้าย หรือเรียนครบรายวิชาเนื้อหาแล้ว
    3. นักศึกษาจะต้องสอบผ่านทั้ง 2 หมวดวิชา คือ หมวดวิชาเฉพาะด้าน และหมวดวิชาสัมพันธ์ จึงถือว่าสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ ในกรณีที่ไม่ผ่านหมวดวิชาใด นักศึกษามีสิทธิ์สอบแก้ตัวใหม่ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
  • เมื่อนักศึกษาเรียนครบตามหลักสูตร และสอบวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ/ดุษฎีนิพนธ์แล้ว ในภาคเรียนสุดท้ายที่นักศึกษาจะจบการศึกษา ให้ปฏิบัติดังนี้

    1. นักศึกษายื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษาตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยกำหนด
    2. นักศึกษาเขียนรายละเอียดคําร้องตามแบบฟอร์ม พร้อมกับรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป และขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป (สวมชุดครุยวิทยฐานะตามคุณวุฒิที่ได้รับ)
    3. ชำระเงินค่าลงทะเบียนบัณฑิต (1,000.- บาท)
    4. นักศึกษานําแบบฟอร์มคําร้องขอสําเร็จการศึกษาและใบเสร็จชําระเงิน มายื่นที่ฝ่ายะเบียนและวัดผลของบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อดําเนินการต่อไป

    นักศึกษาจะเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาอย่างสมบูรณ์เมื่อสภาวิชาการอนุมัติผลการศึกษา และ สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้ปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตรแล้วเท่านั้น

    1. เมื่อสภาวิชาการอนุมัติผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจะออกใบรายงานผลการศึกษา และเมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแล้ว บัณฑิตวิทยาลัยจะออกใบรับรองคุณวุฒิให้
    2. สำหรับใบประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยจะจ่ายให้ได้หลังจากที่สภาประจำมหาวิทยาลัย อนุมัติแล้วประมาณ 60 วัน ส่วนปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยจะจัดพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตรให้ต่อไป

     Download แบบฟอร์มขอสำเร็จการศึกษา

    • ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต่อบัณฑิตวิทยาลัยล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน
    • บัณฑิตวิทยาลัยตรวจสอบการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อเสนอคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาอนุมัติผลการศึกษา ดังนี้
      1. การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
        • มีเวลาศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏไม่น้อยกว่า 2 ภาคเรียน
        • สอบได้ในรายวิชาต่างๆ ครบตามหลักสูตร
        • ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
      2. การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต
        • มีคุณสมบัติตามข้อ (1)
        • สอบรายวิชาเสริม “ผ่าน”
        • สอบประมวลความรู้ “ผ่าน”
        • สำหรับหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สอบภาษาอังกฤษ “ผ่าน”
        • ผู้ศึกษาปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ต้องสอบผ่านการประเมินดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ และส่งเล่มฉบับสมบูรณ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
    • ส่งเล่มงานนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์พร้อมไฟล์ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติการศึกษา
    • นำเสนอรายชื่อผู้ได้รับการอนุมัติผลการศึกษาต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติปริญญาบัตร
  • 12 ขั้นตอนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นลำดับการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อการบริหารจัดการศึกษาให้เป็นตามกำหนดเวลาที่ทำการศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนดภายระยะที่ทำการศึกษา ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้